คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำลอง สุขศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานออกเช็ค – ตัวการร่วม, ผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ผู้กระทำความผิดแต่เพียงผู้เดียว
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้ การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 3 เพื่อนำไปแลกเงินสดต่อมาจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาท และร่วมกับจำเลยที่ 2 นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือยอมรับใช้หนี้ตามเช็คให้โจทก์ไว้ เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการออกเช็คร่วมกันอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมออกเช็ค – ผู้สลักหลังมีส่วนร่วมผิดได้ – พ.ร.บ.เช็ค มาตรา 3
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะ ผู้ออกเช็คในฐานะ ผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดย เป็น ตัวการร่วมกันตาม ป. อาญามาตรา 83 ได้ ดังนั้นผู้สลักหลังเช็ค จึงอาจเป็น ตัวการร่วมกระทำผิดกับผู้ออกเช็คได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมออกเช็ค: ผู้ไม่ได้เป็นผู้สั่งจ่ายก็มีความผิดได้
คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 นั้นมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ได้
การที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คมอบให้จำเลยที่ 3 เพื่อนำไปแลกเงินสดต่อมาจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาท และร่วมกับจำเลยที่ 2 นำไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 3 ทำหนังสือยอมรับใช้หนี้ตามเช็คให้โจทก์ไว้ เมื่อเช็คพิพาทถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามเป็นตัวการออกเช็คร่วมกันอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งเพิกถอนการแก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามอุทธรณ์ก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่ามีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีอาญาที่เพิกถอนการแก้ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ได้จนกว่าจะมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นจนกว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญ และมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย ตามป.วิ.อ. มาตรา 196 อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์ในระหว่างพิจารณาจึงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง กรณีศาลล่างพิจารณาพยานหลักฐานอื่นประกอบคำรับสารภาพ
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการปลอมเลขหมายประจำเครื่องยนต์ และเลขหมายประจำตัวถัง ของรถจักรยานยนต์ของกลางโจทก์มีแต่ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยมาแสดงต่อ ศาลเท่านั้น จะนำมาฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หาได้ หยิบยกเอาเฉพาะแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยมาวินิจฉัยเท่านั้น แต่ ยังนำพยานหลักฐานอื่นมาประกอบคำวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยได้ กระทำความผิดดังฟ้องจริง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่โต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ศาลล่างพิจารณาพยานหลักฐานอื่นนอกเหนือจากคำรับสารภาพ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการปลอมเลขหมายประจำเครื่องยนต์ และเลขหมายประจำตัวถังของรถจักรยานยนต์ของกลางโจทก์มีแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยมาแสดงต่อศาลเท่านั้น จะนำมาฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หาได้หยิบยกเอาเฉพาะแต่คำรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยมาวินิจฉัยเท่านั้น แต่ยังนำพยานหลักฐานอื่นมาประกอบคำวินิจฉัยด้วยว่าจำเลยได้กระทำความผิดดังฟ้องจริง ฎีกาของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยอายุ 18 ปี นักศึกษา ทำร้ายร่างกาย ศาลพิจารณาเหตุบรรเทาโทษและรอการลงโทษ
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 18 ปีเศษ และยังเป็นนักศึกษาไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดมาก่อน จึงมีเหตุอันควรปราณีรอการลงโทษเพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตัว เป็นพลเมืองดี ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถยนต์: ทะเบียนรถไม่ใช่หลักฐานเด็ดขาด ต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของที่แท้จริง
ทะเบียนรถยนต์เป็นเพียงบันทึกแสดงการจดทะเบียนของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับรายละเอียดของรถเท่านั้น หาใช่หลักฐานแสดงว่าผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถนั้นไม่ เมื่อผู้ร้องขอคืนของกลางนำสืบฟังไม่ได้ว่าเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกของกลางที่แท้จริง ประเด็นข้ออื่นจึงไม่จำต้องวินิจฉัย ศาลต้อง ยก คำร้องของผู้ร้อง.
of 53