คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จำลอง สุขศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 525 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนลงทุนค้าขายเช็คชำระหนี้: เช็คเป็นประกันคืนทุน ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์จำเลยตกลง เข้า หุ้นส่วนกันประกอบกิจการค้าขายโทรศัพท์โจทก์เป็นผู้ลงทุนด้วย เงิน จำเลยลงทุนด้วย แรง จำเลยได้ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินเท่ากับจำนวนค่าหุ้นทั้งหมดมอบให้แก่โจทก์ไว้ต่อมาจึงเปลี่ยนเช็ค พิพาทให้โจทก์แทน ถึง กำหนดชำระเงินตาม เช็คโจทก์ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปถึง 5-6 เดือน แสดงว่าโจทก์ทราบถึงฐานะ ของจำเลยดี ว่าไม่ สามารถใช้ เงินตาม เช็ค ได้ ประกอบกับโทรศัพท์ที่ลงทุนซื้อ มาก็ยังขายไม่ได้ ดังนี้เช็ค พิพาทจึงเป็นเพียงเช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้เป็นหุ้นส่วนด้วย กันโดย มุ่งหมายให้เป็นประกันในการคืนทุนเมื่อเสร็จการของห้างหุ้นส่วนและเมื่อมีผลกำไรปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนยังไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จการตาม กำหนดและยังไม่มีผลกำไรเช่นนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินตาม เช็ค พิพาทการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค มาตรา 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความระหว่างพิจารณาคดีอาญา: ผลผูกพันโจทก์และสิทธิในการฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้วโจทก์จะคืนเช็คอีก 2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลยและโจทก์จะถอนฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้องดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอม ย่อมผูกพันโจทก์ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาดับไป
ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลง กันได้ และต่าง แถลงต่อ ศาลร่วมกันว่าจำเลยได้ ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลง กันโดย จำเลยจะออกเช็ค เงินสดให้โจทก์ไว้ ทนายโจทก์แถลงว่าเมื่อได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แล้วโจทก์จะคืนเช็ค เดิม ที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึง วันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค แล้วทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่ โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสอง และมีผลผูกพันโจทก์การที่ทนายโจทก์แถลงต่อหน้าศาลว่าจะถอนฟ้องไม่ ดำเนินคดีแก่จำเลยและเมื่อโจทก์ได้ รับเงินตาม เช็ค ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ ต่อมาทนายโจทก์ได้ ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ ชำระหนี้ตาม เช็ค นั้นแล้ว โจทก์มีหน้าที่ถอนฟ้อง และมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความโดยทนายจำเลยมีอำนาจ ทำให้สิทธิฟ้องอาญาของโจทก์ระงับ
โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯระหว่างพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยตกลงกันได้และต่างแถลงร่วมกันว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่โจทก์เกือบหมดแล้วส่วนที่เหลือจำเลยจะนำเงินมาชำระให้โจทก์ในวันรุ่งขึ้นจากวันที่ตกลงกันโดยจำเลยจะออกเช็คเงินสดให้โจทก์ไว้ โจทก์รับว่าเมื่อได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แล้ว โจทก์จะคืนเช็คอีก2 ฉบับที่จำเลยที่ 3 ออกให้ไว้ล่วงหน้าแก่จำเลย และโจทก์จะถอนฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นจึงเลื่อนการอ่านคำพิพากษาไป เมื่อถึงวันนัดฟังคำพิพากษา ทนายโจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามเช็คแล้ว ทนายโจทก์เห็นควรให้ถอนฟ้อง แต่โจทก์ไม่ยอมถอนฟ้อง ดังนี้เมื่อคดีเป็นความผิดต่อส่วนตัว และใบแต่งทนายความปรากฏว่าทนายโจทก์มีอำนาจประนีประนอมยอมความแทนโจทก์ได้ทนายโจทก์ย่อมจะขอยอมความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 35 วรรคสองและมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามเช็คที่จำเลยออกให้แก่โจทก์แล้ว จึงมีผลเป็นการยอมความ ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งริบของกลางในคดีอาญา: ดุลพินิจและการใช้ข้อเท็จจริงประกอบการพิจารณา
การริบของกลางเป็นการริบโดย อาศัยอำนาจตาม ป.อ. มาตรา 33(1)ซึ่ง เป็นบทบัญญัติทั่วไปนำมาใช้ กับความผิดตาม ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ด้วย ตาม มาตรา 17 แห่ง ป.อ. ซึ่ง อยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะสั่งริบของกลางหรือไม่ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกพฤติการณ์ต่าง ๆ แห่งคดีเพื่อประกอบการใช้ ดุลพินิจ ในการสั่งริบของกลาง โดย อาศัยข้อเท็จจริงซึ่ง เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปประกอบคำฟ้องและคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนหรือต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีอาญาที่มิชอบ ศาลต้องดำเนินการพิจารณาหลักฐานอย่างครบถ้วนก่อนพิพากษา
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณาคดีไว้และเมื่อโจทก์ทราบกำหนดนัดนั้นแล้วไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเสียได้ ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้น ซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้ เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 166,181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาโดยไม่แจ้งนัดพิจารณาและสืบพยาน ถือเป็นกระบวนการไม่ชอบ ศาลมิอาจยกฟ้องได้
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตาม กำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 จะต้อง เป็นกรณีที่มีการ ไต่สวนมูลฟ้องหรือการพิจารณาคดีและศาลได้ กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดพิจารณาคดีไว้ ต่อเมื่อโจทก์ได้ ทราบกำหนดนัดนั้นแล้ว ไม่มาศาล ศาลจึงพิพากษายกฟ้องเสียได้ โจทก์ฟ้องจำเลยตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 66 ศาลชั้นต้นเบิกตัว จำเลยซึ่ง ถูก คุมขังมาพิจารณาในวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อหาดังกล่าวมีอัตราโทษอย่างต่ำ จำคุกตั้งแต่ ห้าปีขึ้นไป ซึ่ง ศาลจะต้อง ฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้ กระทำผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176แต่ ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดย ที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้น ซึ่ง แม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจสืบพยานได้ เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่ โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย กระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยป.วิ.อ. มาตรา 166,181 และแม้จะถือ ว่าโจทก์ทราบกำหนดนัดแล้วเพราะในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุว่า รอฟังคำสั่งอยู่ถ้า ไม่รอให้ถือ ว่าทราบแล้วก็ยังไม่เป็นเหตุให้พิพากษายกฟ้องทันที.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาต้องดำเนินตามขั้นตอน หากยังมิได้ไต่สวนมูลฟ้องหรือสืบพยาน โจทก์ทราบกำหนดนัดแล้วแต่ยังไม่พอพิพากษาได้
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณาคดีไว้ และเมื่อโจทก์ทราบกำหนดนัดนั้นแล้วไม่มาศาล ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้นซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาและการยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาล: ต้องมีการกำหนดนัดพิจารณาคดีที่ชัดเจนเสียก่อน
กรณีที่ศาลจะยกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้กำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือนัดพิจารณาคดีไว้ และเมื่อโจทก์ทราบกำหนดนัดนั้นแล้วไม่มาศาล
ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้น จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นหาได้กำหนดนัดเพื่อพิจารณาคดีและแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป ทั้งที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 นั้น มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ซึ่งศาลจะต้องฟังพยานโจทก์ต่อไปจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 176 แต่ศาลชั้นต้นกลับจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าคู่ความไม่สืบพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้อยู่ในศาลขณะนั้นซึ่งถึงแม้โจทก์จะมาศาลในวันนั้นคดีก็ไม่อาจจะสืบพยานได้เพราะไม่ใช่วันนัดสืบพยาน กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการพิจารณาคดีไปแล้วนัดสืบพยานโจทก์ในภายหลัง การที่ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาไปในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องเสียทีเดียว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 181 ที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
of 53