คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สัญชัย สิงหลกะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 170 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน, การผิดสัญญา, ความเสียหายที่เกิดขึ้น, และอำนาจฟ้องของโจทก์
โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาใด ๆ กับจำเลย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน และแม้ว่าจะเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ที่ 1 แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ที่ 2 ในกิจการค้าขาย ดังนี้โจทก์ที่ 2 ถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ซื้อที่ดินเฉพาะส่วนของที่ดินจำเลย เมื่อจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าของรวมแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ตามสัญญาจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ การที่จำเลยนำสืบต่อสู้คดีว่าในการซื้อขายที่ดินโจทก์ตกลงกับจำเลยว่าจะจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยให้แก่ที่ดินของจำเลยในส่วนที่เหลือ โดยจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายแต่ในวันทำสัญญากลับไม่มีข้อตกลงดังกล่าว โจทก์บอกว่าจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ในภายหลัง แต่แล้วกลับไม่ยอมจดทะเบียนภาระจำยอมให้ตามข้อตกลงนั้น เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาจะซื้อจะขายว่ายังมีข้อตกลงดังกล่าวอยู่อีกนอกเหนือไปจากสัญญา เป็นการต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) ไม่อาจรับฟังได้ ดังนั้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เงินกู้และดอกเบี้ยรวมทั้งค่าธรรมเนียมออกตั๋วแลกเงินในการที่โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการตามโครงการตลอดจนค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้ และค่าเสียหายจากการเสียชื่อเสียง มิใช่ความเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทเพราะจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์เป็นเจ้าของรวมตามส่วนที่ได้ซื้อจากจำเลยตามสัญญาแล้ว
ความเสียหายในส่วนของกำไรที่คาดว่าจะได้จากการปลูกบ้านจัดสรรขาย ซึ่งเป็นเพียงความหวังของโจทก์ ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะได้กำไรดังที่คาดหมายหรือไม่ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ
การที่โจทก์ไม่สามารถนำที่ดินที่ซื้อจากจำเลยไปใช้ประโยชน์ได้ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมเสียหายขาดประโยชน์ที่จะพึงได้ ความเสียหายในส่วนนี้จึงเป็นความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นจากการผิดสัญญาของจำเลยแม้ว่าจะยังฟังไม่ได้ว่าเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความยังคงมีผลผูกพัน แม้มีการตกลงเพิ่มเติม หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตกลงเดิมยังใช้ได้
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันและผลของการผิดสัญญาตกลงเพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความยังคงมีผลผูกพัน แม้มีการตกลงเพิ่มเติม หากฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา การตกลงใหม่ไม่ตัดสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกลงกันให้นำที่ดินโฉนดที่ดินที่พิพาทพร้อมบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวออกขาย โดยโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ซื้อเองหรือนำบุคคลอื่นมาซื้อก็ได้ ฝ่ายใดให้ราคาสูงสุดให้ขายให้แก่ฝ่ายที่ให้ราคาสูงสุดไป และให้ขายให้เสร็จสิ้นภายในปี 2536 หากขายไม่ได้ภายในปี 2536 ให้โจทก์กับจำเลยที่ 2 นำที่ดินและบ้านดังกล่าวมาประมูลกันเองก่อน หากประมูลกันเองไม่ได้ ขอให้ศาลนำที่ดินและบ้านดังกล่าวออกขายทอดตลาด การที่โจทก์และจำเลยที่ 2 แถลงต่อศาลว่าไม่สามารถหาผู้ซื้อบ้านและที่ดินได้ จึงตกลงกันใหม่ว่าจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้โจทก์จำนวน 3,500,000 บาท โดยโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินและบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงวิธีการชำระหนี้ต่อกันเท่านั้น และการตกลงกันครั้งหลังนี้ไม่มีข้อความตอนใดให้ยกเลิกสัญญาประนีประนอมยอมความเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายผิดข้อตกลง ไม่สามารถชำระเงินให้โจทก์ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ได้โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใหม่นี้อีก และโจทก์จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาตามยอมต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6708/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ผู้รับประเมินต้องใช้สิทธิคัดค้านตามขั้นตอนกฎหมายก่อนจึงจะโต้แย้งความถูกต้องได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครโจทก์แจ้งรายการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยชอบที่ จะยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ. 2475 มาตรา 25 ได้ และหากจำเลยยังไม่พอใจในคำชี้ขาดก็นำคดีไปสู่ศาลได้ตามมาตรา 31 แต่จำเลยจะต้องชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระเสียก่อนตามมาตรา 39 เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นคำร้องโต้แย้งคัดค้านการประเมินหรือขอให้พิจารณาการประเมินใหม่และมิได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นแก่โจทก์ตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดผลการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นอันยุติห้ามมิให้จำเลยนำคดีไปสู่ศาลซึ่งหมายความรวมถึงว่าจำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าการประเมินไม่ถูกต้อง ไม่ว่าผู้รับประเมินจะอยู่ในฐานะโจทก์หรือจำเลย ดังนั้น จำเลยจะต่อสู้ว่าการประเมินไม่ถูกต้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6630/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิอายุความจากหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ก็ตาม
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้มีข้อความระบุว่า"ถ้าหากนายพิลาไชยพร (จำเลยที่ 1) นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้ให้แก่นายวิจิตร (โจทก์) เสร็จสิ้นภายในวันที่25 มีนาคม 2536 นายวิจิตรจะไม่ขอคิดดอกเบี้ยแม้แต่บาทเดียวแต่ถ้าผิดนัด นายพิลาไชยพร จะต้องรับผิดตามสัญญาเดิมคือดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อถูกฟ้องศาลบังคับคดีตามฟ้องข้าพเจ้า นายพิลาไชยพร พอใจตามข้อตกลงนี้ จึงได้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยาน" ดังนี้ แม้สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยค้างชำระเกินกว่า 5 ปี จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 แต่กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้สละประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 193/24 จำเลยที่ 1ไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์จากการส่งมอบการครอบครองต่อเนื่อง
ป.ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ ช. ด.จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป.ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล.และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของ ป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่าง ป.กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ ป. แสดงว่า ด.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป.แล้ว การครอบครองของ ด.ย่อมสิ้นสุดลง ป.จึงมีสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377, 1378 ครั้น ป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป.ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385
ป.ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด.โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป.ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การโอนสิทธิไม่เป็นหนังสือ แต่มีเจตนาสละการครอบครอง
ป. ได้ออกเงินชำระหนี้เงินกู้ของ ด.ให้ช.ด. จึงยกที่พิพาทให้แก่ ป. ตั้งแต่ปี 2497 ต่อมา ป.ให้ ล. และจำเลยที่ 1 เช่าที่พิพาททำนาหลังจากนั้นป.ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้ส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองทำนาในที่พิพาทต่อจากการครอบครองของป.ตั้งแต่ปี 2525 ติดต่อมาจนปัจจุบันแม้การยกให้ที่พิพาทระหว่างป. กับ ด. กับการขายที่พิพาทระหว่าง ป.กับโจทก์ไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่การที่ด.ส่งมอบการครอบครองที่พิพาทให้ป. แสดงว่า ด. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่ ป. แล้ว การครอบครองของ ด. ย่อมสิ้นสุดลงป. จึงมีสิทธิครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1377,1378 ครั้ง ป. ขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และส่งมอบที่พิพาทให้โจทก์แสดงว่า ป. ได้เจตนาสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองเช่นกัน และในกรณีเช่นนี้โจทก์ย่อมนับระยะเวลาที่ ป.ครอบครองที่พิพาทรวมติดต่อกับระยะเวลาที่โจทก์ครอบครองที่พิพาทเข้าด้วยกันได้ตาม มาตรา 1385 ป. ได้ครอบครองที่พิพาทของ ด. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2497 และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของสืบต่อจาก ป. ตั้งแต่ปี 2525ตลอดมาเกินกว่าสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมาย การกำหนดรายรับขั้นต่ำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่โจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ครั้งแรก เมื่อวันที่1 มกราคม 2528 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2529 พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 25 ซึ่งให้เพิ่มมาตรา 86 เบญจ ที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ แห่ง ป.รัษฎากร ยังไม่ได้ใช้บังคับ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 87 (2) และมาตรา 87 ทวิ (7) บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือในเดือนภาษีที่ถึงกำหนดชำระไม่ถูกต้อง และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบในภายหลังเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ (7) เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า
ผ.แสดงรายรับและเสียภาษีการค้าต่ำกว่ารายรับและภาษีขั้นต่ำที่ฝ่ายสำรวจและกำหนดรายรับของโจทก์ได้กำหนดไว้ มิใช่ ผ.ไม่เคยแจ้งรายจ่ายตามแบบ ภ.ค.45 แก่เจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.โดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2บวกอีกร้อยละ 20 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มากำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 ตามข้อ 4(1) (ก) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่ง ป.รัษฎากร ทั้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ในครั้งที่ 3 ได้กำหนดโดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นฐานในการพิจารณา จึงต้องถือว่าการกำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3เป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน
การที่ ผ.ได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่า ผ.ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ.จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ผ.ผู้ตายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าโดยเจ้าพนักงานประเมิน ต้องมีอำนาจตามกฎหมายและชอบด้วยขั้นตอน
ในขณะที่โจทก์กำหนดรายรับขึ้นต่ำของ ผ.ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่1 มกราคม 2529 พระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 มาตรา 25 ซึ่งให้เพิ่มมาตรา 86 เบญจที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำของผู้ประกอบการค้าบางประเภทไว้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดี กรมสรรพากรกำหนด และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 38) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจแห่งประมวลรัษฎากร ยังไม่ได้ใช้บังคับ ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์กำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ทั้งสองครั้งดังกล่าวจึงเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประมวลรัษฎากร มาตรา 87(2) และมาตรา 87 ทวิ(7) บัญญัติให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ประกอบการค้าชำระภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ล่วงมาแล้วหรือในเดือนภาษีที่ถึงกำหนดชำระไม่ถูกต้อง และต่อมาเจ้าพนักงานประเมินได้ตรวจสอบพบในภายหลังเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจกำหนดรายรับขึ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 87 ทวิ(7)เพื่อใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีการค้ามิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษีการค้าในเดือนภาษีที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้า ผ.แสดงรายรับและเสียภาษีการค้าต่ำกว่ารายรับและภาษีขั้นต่ำที่ฝ่ายสำรวจและกำหนดรายรับของโจทก์ได้กำหนดไว้มิใช่ ผง ไม่เคยแจ้งรายจ่ายตามแบบ ภ.ค.45 แก่เจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะมีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.โดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 บวกอีกร้อยละ20 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มากำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 ตามข้อ 4(1)(ก) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีการค้า(ฉบับที่ 38) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดรายรับขั้นต่ำตามมาตรา 86 เบญจ แห่ง ประมวลรัษฎากร ทั้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำของ ผ.ในครั้งที่ 3 ได้กำหนดโดยนำเอารายรับขั้นต่ำที่เคยกำหนดไว้ในครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาเป็นฐานในการพิจารณาจึงต้องถือว่าการกำหนดรายรับขั้นต่ำในครั้งที่ 3 เป็นการกำหนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน การที่ผ.ได้รับแจ้งการกำหนดรายรับขั้นต่ำไว้ล่วงหน้าจากเจ้าพนักงานประเมินแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าผ. ยอมรับการกำหนดรายรับขั้นต่ำดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผ. จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรแก่โจทก์โดยไม่ต้องโต้แย้งคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของ ผ.ผู้ตายจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
of 17