พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6429/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขายเมื่อรถยนต์ถูกยักยอก ผู้ขายต้องพิสูจน์ความผิดผู้ซื้อจึงไม่ต้องรับผิด
กรณีที่ผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 482(1) นั้น จะต้องได้ความว่าผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของผู้ซื้อได้สูญไปโดยความผิดของผู้ซื้อเอง รถยนต์พิพาทถูกยักยอกมาและได้ถูกเจ้าพนักงานตำรวจศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ติดตามยึดรถไปจากโจทก์ผู้ซื้อด้วยอำนาจของกฎหมาย โดยจำเลยผู้ขายมิได้นำสืบให้เห็นว่าการที่รถยนต์พิพาทถูกยึดไปนั้นเป็นความผิดของโจทก์แต่อย่างใดจำเลยจึงไม่อาจอ้างเอาข้อยกเว้นการรับผิดในการรอนสิทธิตามข้อกฎหมายที่อ้างมานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6125/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์คดี หากผู้ร้องแสดงเหตุสมควรและประสงค์ดำเนินคดีต่อ
การทิ้งฟ้องที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามป.วิ.พ. มาตรา 132(1) นั้น มิได้บังคับโดยเด็ดขาดว่าจะต้องจำหน่ายคดีเสมอไป บทบัญญัติดังกล่าวให้ศาลใช้ดุลพินิจตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป ได้ความว่าเหตุที่ผู้ร้องมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในกำหนด เพราะมีเหตุอันสมควร ซึ่งต่อมาผู้ร้องได้แถลงขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ให้ผู้คัดค้านจนผู้คัดค้านได้รับและยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว แสดงว่าผู้ร้องประสงค์ให้ดำเนินคดีต่อไป จึงไม่สมควรที่จะจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา ทำให้สิทธิในการฟ้องของโจทก์ระงับ และการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชอบ
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 จึงไม่ชอบ ต้องจำหน่ายคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดตามฟ้องพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6067/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีดุลพินิจไม่จำต้องไต่สวนเสมอไป หากข้ออ้างไม่สมเหตุผล
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปแล้ว จำเลยมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขาย โดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง แต่อย่างใดเพียงแต่อ้างว่าราคาที่ขายทอดตลาดต่ำกว่าความเป็นจริง ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ต้องไต่สวนก่อนได้ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคท้าย มิได้บังคับให้ศาลต้องไต่สวนเสียก่อนมีคำสั่งทุกเรื่องไป การจะไต่สวนคำร้องหรือไม่ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาล เมื่อผู้ซื้อทรัพย์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อทอดตลาดไปแล้ว โดยที่จำเลยมิได้ขอให้ศาลงดการบังคับไว้ก่อนตามป.วิ.พ. มาตรา 292 จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือที่อนุญาตให้ผู้ซื้อทรัพย์รับโอน หรือทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์ที่ประมูลซื้อทอดตลาดไว้ระหว่างอุทธรณ์ได้ ซึ่งแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดในภายหลัง ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย เพราะผู้ซื้อทรัพย์และผู้รับโอนทรัพย์ต่อมาก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์อยู่ดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังแก้ป.วิ.อ.มาตรา 119 กรณีผิดสัญญาประกันตัว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลเป็นที่สุด เมื่อผู้ประกันยื่นฎีกาหลังจากกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้ว กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกันฆ่า, พยายามฆ่า, ทำร้ายร่างกาย และความผิดฐานพาอาวุธปืน
จำเลยที่ 3 มีเรื่องชกต่อยกับ ส. ก่อน แล้วจำเลยที่ 3 พาพวกคือจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มาดักรอผู้เสียหายกับผู้ตาย แล้วร่วมกันยิงและทำร้ายทันที โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยิงผู้ตาย และจำเลยที่ 1 ยิง ส.กับจำเลยที่4ใช้ไม้ตีห. แม้จำเลยที่ 3จะมิได้มีอาวุธติดตัวมาและลงมือกระทำผิดด้วยก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวเป็นการรวมกำลังให้แก่พวกจำเลยอื่น พร้อมที่จะช่วยเหลือกันได้ เมื่อเกิดเหตุแล้วก็หนีไปด้วยกัน ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่เป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิด ในการพิจารณาคดีอาญา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิด เมื่อโจทก์มิได้นำสืบข้อเท็จจริงให้เห็นว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ใช้ยิงผู้ตายกับผู้เสียหายไม่มีหมายเลขทะเบียน ทั้งโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลาง และไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอาวุธปืนนั้นไม่มีหมายเลขทะเบียน จึงลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นไม่ได้ แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้รับใบอนุญาตให้พาอาวุธปืนเป็นผู้ที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายกับผู้เสียหายแล้วพาอาวุธปืนนั้นไปจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องมีความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงเพื่อข่มขู่ ไม่ใช่ประสงค์ชีวิต โทษฐานพกพาอาวุธปืนและข่มขู่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนเป็นความผิดตามป.อ. มาตรา 371 และ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ แต่ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ ซึ่งเป็นบทหนัก ให้จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 371 ลงโทษปรับคนละ 100 บาท ดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยกับพวกถืออาวุธปืนไปขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้รื้อบ้าน แล้วใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงไปยังบันไดซีเมนต์ที่ผู้เสียหายหลบอยู่นับสิบนัด แต่เมื่อผู้เสียหายวิ่งไปหลบอยู่ใต้ถุนบ้านของ ม.ซึ่งเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งใต้ถุนสูง จำเลยกับพวกจะยิงผู้เสียหายอีกก็ได้แต่ไม่ยิง กลับถืออาวุธปืนเฝ้าผู้เสียหายมิให้รื้อบ้านอยู่ครึ่งชั่วโมงแล้วจากไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกแสดงว่ามิได้มีเจตนายิงผู้เสียหาย แต่เป็นการยิงเพื่อขู่ขวัญและแสดงอิทธิพลให้ผู้เสียหายและชาวบ้านเห็นเท่านั้น
จำเลยกับพวกถืออาวุธปืนไปขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้รื้อบ้าน แล้วใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงไปยังบันไดซีเมนต์ที่ผู้เสียหายหลบอยู่นับสิบนัด แต่เมื่อผู้เสียหายวิ่งไปหลบอยู่ใต้ถุนบ้านของ ม.ซึ่งเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งใต้ถุนสูง จำเลยกับพวกจะยิงผู้เสียหายอีกก็ได้แต่ไม่ยิง กลับถืออาวุธปืนเฝ้าผู้เสียหายมิให้รื้อบ้านอยู่ครึ่งชั่วโมงแล้วจากไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกแสดงว่ามิได้มีเจตนายิงผู้เสียหาย แต่เป็นการยิงเพื่อขู่ขวัญและแสดงอิทธิพลให้ผู้เสียหายและชาวบ้านเห็นเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพยายามฆ่าและการแก้ไขโทษฐานมีอาวุธปืน ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในข้อเท็จจริงและแก้โทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ แต่ให้ลงโทษตามพ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักให้จำคุกคนละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 371 ให้ปรับจำเลยทั้งสองคนละ 100 บาท ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายิงเพื่อฆ่าหรือไม่? คดีพกพาอาวุธยิงขู่เข็ญ ผู้เสียหายไม่ได้รับบาดเจ็บ ศาลพิจารณาพฤติการณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ แต่ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯซึ่งเป็นบทหนัก ให้จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ลงโทษปรับคนละ 100 บาทดังนี้ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยกับพวกถืออาวุธปืนไปขู่เข็ญผู้เสียหายมิให้รื้อบ้านแล้วใช้อาวุธปืนดังกล่าวยิงไปยังบันไดซีเมนต์ที่ผู้เสียหายหลบอยู่นับสิบนัด แต่เมื่อผู้เสียหายวิ่งไปหลบอยู่ใต้ถุนบ้านของ ม.ซึ่งเป็นบ้านอีกหลังหนึ่งใต้ถุนสูง จำเลยกับพวกจะยิงผู้เสียหายอีกก็ได้แต่ไม่ยิง กลับถืออาวุธปืนเฝ้าผู้เสียหายมิให้รื้อบ้านอยู่ครึ่งชั่วโมงแล้วจากไป ดังนี้ พฤติการณ์ของจำเลยกับพวกแสดงว่ามิได้มีเจตนายิงผู้เสียหาย แต่เป็นการยิงเพื่อขู่ขวัญและแสดงอิทธิพลให้ผู้เสียหายและชาวบ้านเห็นเท่านั้น