คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุระ หวังอ้อมกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6748/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้รับโอนที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างด้วย
ขณะทำสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์และม.ได้มีบ้านปลูกอยู่บนที่ดินเรียบร้อยแล้วการที่โจทก์และม.จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้แต่เฉพาะที่ดินเพราะตามสัญญาซื้อขายที่ดินฉบับเดิมที่ทำกันระหว่างพ.กับโจทก์และส.ได้ระบุว่ามีการซื้อขายเฉพาะที่ดินไม่รวมสิ่งปลูกสร้างด้วยแต่เมื่อบ้านเป็นส่วนควบของที่ดินเมื่อม.จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแล้วม.ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินนั้นด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา144วรรคสองมิใช่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทนมีอายุความ 10 ปี มิใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน6เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา671ดังนั้นคดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา671หรือไม่เท่านั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด1ปีคดีจึงขาดอายุความตามมาตรา601จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามสัญญาการเลี้ยงการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่อาหารยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้วจำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหารยาและวัคซีนซึ่งจำเลยได้ใช้ไปคงเหลือยอดสุทธิเท่าใดให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลยสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นหากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอนจึงมิใช่สัญญาจ้างทำของหากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาเลี้ยงไก่: สัญญาต่างตอบแทน 10 ปี ไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
จำเลยให้การโดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ภายใน 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสัญญา ตาม ป.พ.พ.มาตรา 671 ดังนั้น คดีจึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 671 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยผู้รับจ้างภายในกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความตามมาตรา 601 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามสัญญาการเลี้ยงไก่ระบุให้โจทก์มอบลูกไก่ อาหาร ยาและวัคซีนสำหรับไก่ให้จำเลยเลี้ยงเป็นไก่ใหญ่ เมื่อลูกไก่เจริญเติบโตเป็นไก่ใหญ่แล้ว จำเลยต้องส่งมอบคืนแก่โจทก์ โดยโจทก์จะคิดมูลค่าไก่ใหญ่ทั้งหมดแล้วหักด้วยมูลค่าลูกไก่ร่วมกับอาหาร ยา และวัคซีน ซึ่งจำเลยได้ใช้ไป คงเหลือยอดสุทธิเท่าใด ให้ถือเป็นประโยชน์ของจำเลย สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จและจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น หากแต่เป็นสัญญาร่วมกันประกอบการโดยแบ่งผลประโยชน์กันอันมีจำนวนไม่แน่นอน จึงมิใช่สัญญาจ้างทำของ หากแต่เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลใช้บังคับได้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติถึงอายุความไว้เฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6405/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพรากผู้เยาว์: เจตนาและความสำคัญของอายุผู้เสียหาย
จำเลยสำคัญผิดโดยเข้าใจว่าผู้เสียหายอายุ 17 ปี ย่อมมีผลให้จำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 59 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการบริษัท: เริ่มนับแต่วันกระทำละเมิด หรือวันที่พ้นตำแหน่ง
จำเลยซึ่งเป็นกรรมการบริษัทกระทำละเมิดต่อบริษัทบริษัทชอบที่จะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่บริษัทรู้ถึง การกระทำละเมิดและรู้ว่าจำเลยต้องใช้สินไหมทดแทนหรือภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำละเมิดโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทชอบที่จะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนเท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทเมื่อจำเลยกระทำละเมิดขณะที่เป็นกรรมการบริษัท คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 23กันยายน 2535 ซึ่งพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยกระทำผิดคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดจากกรรมการบริษัท: นับแต่วันกระทำละเมิด หรือ วันพ้นตำแหน่ง?
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัทบ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัทบ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัทบ.ไปโดยทุจริตบริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัทบ. ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทบ.ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยละเมิดต่อบริษัทบ.บริษัทบ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทบ.ชอบจะใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1169ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัทบ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทบ.อยู่การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัทบ.มีอายุความตามมาตรา448เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัทบ.อยู่คือก่อนวันที่17กันยายน2525ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัทบ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่23กันยายน2535พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดกรรมการ – สิทธิเรียกร้องแทนเจ้าหนี้
โจทก์ฟ้องขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัท บ. โดยอ้างว่าก่อนที่จำเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. จำเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท บ.ไปโดยทุจริต บริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัท บ.ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บ. ซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อบริษัท บ. บริษัท บ.ชอบจะฟ้องร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท บ.ชอบจะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 ฟ้องเรียกร้องบังคับเอาจากจำเลยแทนบริษัท บ.เท่าที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัท บ.อยู่ การเรียกร้องดังกล่าวเป็นการเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่กระทำละเมิดต่อบริษัท บ.มีอายุความตามมาตรา 448 เมื่อการกระทำละเมิดเกิดขณะจำเลยเป็นกรรมการบริษัท บ.อยู่ คือก่อนวันที่ 17 กันยายน 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยลาออกจากบริษัท บ. โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 23 กันยายน 2535 พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่จำเลยได้กระทำละเมิดแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีร้องสอด: การจำหน่ายคดีเฉพาะคู่ความฝ่ายหนึ่งยังไม่ถือว่าคดีสิ้นสุด
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ถือเป็นคำฟ้องผู้ร้องสอดอยู่ในฐานะเป็นโจทก์โจทก์เดิมและจำเลยอยู่ในฐานะเป็นจำเลยเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสองโดยมิได้จำหน่ายคดีเกี่ยวกับโจทก์ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ผู้ร้องสอดทั้งสองคงมีอำนาจยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอด: ผลกระทบทางกระบวนพิจารณาและการเป็นฟ้องซ้อน
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตาม ป.วิ.พ. มาตรา57 (1) นั้น ถือเป็นคำฟ้อง เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำร้องสอดแล้ว ผู้ร้องสอดต้องดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในฐานะเป็นโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์จำเลยครอบครองอยู่ ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างครอบครองที่ดินตามฟ้องบางส่วนจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีระหว่างผู้ร้องสอดทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง เพราะผู้ร้องสอดทั้งสองมิได้ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ต่อมาผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องสอดเข้ามาใหม่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยมีข้อความเช่นเดียวกับคำร้องสอดเดิม ดังนี้ ถือว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่จึงเป็นฟ้องซ้อนสำหรับโจทก์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)ส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีระหว่างผู้ร้องสอดกับจำเลยทั้งสองอยู่ระหว่างการพิจารณา คำร้องสอดที่ยื่นเข้ามาใหม่ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิในการยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่1และที่2เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518จำเลยที่1และที่2จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา123และจำเลยที่3ถึงที่14ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่1และที่2ได้
of 90