คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุระ หวังอ้อมกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5219/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้าย vs. พยายามฆ่า: การพิจารณาจากอาวุธบาดแผลและสถานการณ์
จำเลยมีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้เสียหายมาก่อนแต่ไม่รุนแรงมากถึงกับคิดจะฆ่าผู้เสียหายแม้มีดที่จำเลยใช้แทงผู้เสียหายเป็นมีดปลายแหลมคมมีดยาวประมาณ7นิ้วแต่จำเลยแทงไม่แรงและบริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่มืดจำเลยไม่สามารถเลือกแทงได้จำเลยจึงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และการพิจารณาความรับผิดชอบของลูกจ้างในการลาหยุด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปีในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงโจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่1อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่1ไม่อนุมัติการลาจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงานและโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างหากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่1ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันแต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยพฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน3วันและเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานละทิ้งหน้าที่ และขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปี ในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูง โจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่ และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่ 1 อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่ 1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่อนุมัติการลา จึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงาน และโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้าง หากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้าง โจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลย พฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน 3 วัน และเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (5) และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177-5188/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประทานบัตรและการครอบครองที่ดิน: สิทธิสิ้นสุดเมื่อประทานบัตรหมดอายุ ผู้ถือประทานบัตรไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
พระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510มาตรา73(3)มีความหมายว่าการได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่นั้นไม่ทำให้ผู้นั้นได้สิทธิครอบครองที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรด้วยแต่หากมีผู้เข้าไปขัดขวางการทำแร่ในเขตประทานบัตรโดยไม่มีอำนาจโดยชอบแล้วผู้ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้นั้นได้และเมื่อสิ้นอายุประทานบัตรแล้วมิให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองผู้ถือประทานบัตรจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ใดให้ออกจากที่ดินในเขตประทานบัตรได้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่7ถึงที่12หลังจากที่ประทานบัตรสิ้นอายุอันมีผลทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิใดๆในที่พิพาทแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่7ถึงที่12ส่วนจำเลยที่1ถึงที่6ซึ่งโจทก์ยื่นฟ้องก่อนที่จะสิ้นอายุประทานบัตร3วันในระหว่างพิจารณาประทานบัตรของโจทก์สิ้นอายุแล้วและโจทก์มิได้ดำเนินการขอต่ออายุประทานบัตรหรือขอประทานบัตรใหม่จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีสิทธิใด ๆในที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรอีกต่อไปการโต้แย้งสิทธิของโจทก์จึงสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่1ถึงที่6ได้เช่นกัน พระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510มาตรา72มีความหมายว่าแม้ประทานบัตรสิ้นอายุแล้วผู้ถือประทานบัตรก็ต้องมีหน้าที่กลบถมขุมเหมืองหรือทำที่ดินให้เป็นตามสภาพเดิมแต่ถ้าหากประทานบัตรได้กำหนดไว้เป็นประการอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้วหรือทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ในเขตประทานบัตรตั้งอยู่ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามนั้นเมื่อตามประทานบัตรที่พิพาทข้อ6ข้อกำหนดเกี่ยวกับการถมขุมหลุมหรือปล่องที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองไว้ว่าให้ปฏิบัติตามคำสั่งของทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ตามความในมาตรา72และไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้มีคำสั่งให้โจทก์ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการเป็นประการใดแล้วโจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการกลบถมขุมเหมือง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5177-5188/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประทานบัตรหมดอายุ สิทธิครอบครองที่ดินไม่เกิด ผู้ถือประทานบัตรไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
ตามพระราชบัญญัติแร่พ.ศ.2510มาตรา73(3)กำหนดถึงการได้รับประทานบัตรให้ทำเหมืองแร่นั้นไม่ทำให้ผู้นั้นได้สิทธิครอบครองที่ดินที่อยู่ในเขตประทานบัตรด้วยแต่หากมีผู้เข้าไปขัดขวางการทำแร่ในเขตประทานบัตรโดยไม่มีอำนาจโดยชอบแล้วผู้ได้รับประทานบัตรก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้นั้นได้แต่เมื่อสิ้นอายุประทานบัตรแล้วมิให้ถือว่าเป็นการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองผู้ถือประทานบัตรจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ใดให้ออกจากที่ดินในเขตประทานบัตรได้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่7ถึงที่12หลังจากที่ประทานบัตรสิ้นอายุอันมีผลทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิใดๆในที่พิพาทแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่7ถึงที่12ส่วนจำเลยที่1ถึงที่6โจทก์ยื่นฟ้องก่อนที่จะสิ้นอายุประทานบัตร3วันแต่เมื่อได้ความว่าในระหว่างพิจารณาประทานบัตรของโจทก์สิ้นอายุแล้วและโจทก์มิได้ดำเนินการขอต่ออายุประทานบัตรหรือขอประทานบัตรใหม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิใดๆในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรอีกต่อไปการโต้แย้งสิทธิของโจทก์จึงสิ้นสุดลงโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยที่1ถึงที่6 พระราชบัญญัติแร่ฯมาตรา72กำหนดว่าแม้ประทานบัตรสิ้นอายุแล้วผู้ถือประทานบัตรก็ต้องมีหน้าที่กลบถมขุมเหมืองหรือทำที่ดินให้เป็นตามสภาพเดิมแต่ถ้าหากประทานบัตรได้กำหนดไว้เป็นประการอื่นนอกจากที่กล่าวมาแล้วหรือทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ในเขตประทานบัตรตั้งอยู่ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วก็ต้องดำเนินการไปตามนั้นเมื่อตามประทานบัตรที่พิพาทมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการถมขุมหลุมหรือปล่องที่ไม่ได้ใช้ในการทำเหมืองไว้ว่าให้ปฏิบัติตามคำสั่งของทรัพยากรธรณีประจำท้องที่และไม่ปรากฎตามคำฟ้องว่าทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ได้มีคำสั่งให้โจทก์ผู้ถือประทานบัตรดำเนินการเป็นประการใดแล้วโจทก์จึงยังไม่มีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการกลบถมขุมเหมืองแต่อย่างใดทั้งตามคำฟ้องก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสิบสองได้เข้าทำการขัดขวางโจทก์อันจะถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์ยังไม่เคยเข้าไปทำประโยชน์ในที่พิพาทและยังไม่ได้เตรียมการเพื่อเข้าไปทำเหมืองแร่ตามที่ประทานบัตรอนุญาตและกำหนดเงื่อนไขไว้ ทั้งไม่ปรากฎว่ามีคำสั่งจากทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ให้โจทก์จัดการถมหรือทำที่ดินซึ่งอยู่ในเขตประทานบัตรให้เป็นตามเดิมความเสียหายของโจทก์จึงยังไม่เกิดขึ้นถือว่าโจทก์ไม่เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่ใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรของนายบ. กับนางน. โดยนายบ.อยู่กินฉันสามีภริยากับนางจ.และนางน. ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5หลังจากนางน. มารดาผู้ร้องถึงแก่ความตายนายบ. และนางจ. ร่วมกันยึดถือทำกินที่ดินมือเปล่า4แปลงเมื่อนายบ. ถึงแก่ความตายก็ยังไม่มีการแบ่งที่ดินกันแต่ก่อนที่นางจ. จะถึงแก่ความตายได้ขอออกโฉนดในที่ดิน4แปลงดังกล่าวเป็นชื่อของนางจ. เองดังนี้ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งในที่ดินทั้ง4แปลงอันเป็นทรัพย์มรดกของนายบ. และนางจ. ผู้ตายถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713แล้วผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของนางจ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพที่ไม่ชัดเจน การพิสูจน์ความผิดฐานนำเข้าของผิด และความผิดต่างกรรมกันในการแปรรูปไม้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานลักลอบนำเครื่องเลื่อยยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรหรือรับของดังกล่าวจากคนร้ายไว้ในครอบครองโดยช่วยกันซ่อนเร้นซื้อและช่วยพาเอาไปเสียซึ่งสิ่งของดังกล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรแสดงว่าโจทก์ประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาเดียวเพราะความผิดฐานลักลอบนำเข้ามาเองกับความผิดฐานรับเอาไว้จากที่ผู้อื่นลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นความผิดคนละฐานกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองฐานความผิดดังกล่าวย่อมไม่ได้คำให้การของจำเลยที่ว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ตลอดข้อกล่าวหาทุกประการไม่ชัดเจนพอว่าจำเลยได้กระทำผิดฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำผิดของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่นำสืบพยานจึงลงโทษจำเลยในฐานความผิดดังกล่าวไม่ได้และไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยใหม่ การแปรรูปไม้หวงห้ามและการมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองแม้จำเลยกระทำผิดในวันเวลาเดียวกันและไม้แปรรูปที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นไม้ที่จำเลยแปรรูปเองและกระทำต่อไม้จำนวนเดียวกันก็ตามการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดต่างกรรมกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันและรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ ไม่ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาไม่มีกำหนดอายุความชัดเจนใช้ 10 ปี
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่2ถึงที่4เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่1โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่1ทำไว้กับโจทก์กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่1ที่จำเลยที่2ถึงที่4ทำไว้ต่อโจทก์และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้องดังนี้คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งขัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้วส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้องก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้งครั้งละจำนวนเท่าใดและโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์และจำเลยที่2ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่1แต่จำเลยที่1และที่2ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้จำเลยที่1และที่2จึงไม่อาจโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อการสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1มิได้ตกเป็นโมฆะ สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศกำหนดให้จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเองมิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศจำเลยที่1เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่1ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าวเงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่1ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศและเงินค่าตอบแทน1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)และ(7)เดิมแต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ10ปีตามมาตรา164เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5004/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต: การฟ้องเรียกหนี้และอายุความ
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายถึงข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจึงทำบันทึกข้อความยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ส่วนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ กับบันทึกข้อตกลงยอมรับชำระหนี้แก่โจทก์ และสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทำไว้ต่อโจทก์ และคำขอบังคับคือโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระหนี้จำนวนตามฟ้อง ดังนี้ คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นข้อหาแล้ว ส่วนในช่องข้อหาแม้โจทก์จะระบุข้อหาไว้ไม่ละเอียดเท่าที่ปรากฏตามเนื้อความในคำฟ้อง ก็ไม่ใช่สาระสำคัญที่จะทำให้คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม ส่วนข้อที่ว่าจำเลยได้รับหรือใช้วงเงินสินเชื่อของโจทก์ไปกี่ครั้ง ครั้งละจำนวนเท่าใด และโจทก์ชำระเงินให้แก่ธนาคารไปก่อนแล้วเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อแสดงว่าได้รับเงินจากโจทก์หรือเป็นหนี้โจทก์จำนวนเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศไว้กับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าค้ำประกันจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชำระหนี้จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่อาจโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะโจทก์ดำเนินกิจการตามสัญญาดังกล่าวนอกขอบวัตถุประสงค์ได้ และสัญญาสัญญามิได้มีวัตถุ-ประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงมีผลใช้บังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ตกเป็นโมฆะ
สัญญาขอวงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ กำหนดให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเอง มิได้ตั้งโจทก์ให้เป็นตัวแทนในการสั่งสินค้าจากต่างประเทศ จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารและจำเลยที่ 1 ขอใช้วงเงินสินเชื่อในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตดังกล่าว เงินสินเชื่อนั้นจึงมิใช่เงินทดรองที่โจทก์ออกไปก่อนในการเป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ในการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ และเงินค่าตอบแทน 1เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าเลตเตอร์ออฟเครดิตก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเงินค่าบำเหน็จในการเป็นตัวแทนหรือเป็นสินจ้างในการงานที่โจทก์รับทำ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมิได้มีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (1)และ (7) เดิม แต่เป็นกรณีไม่มีบทบัญญัติกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความทั่วไปคือ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายในอนาคตจากการทำงานของลูกจ้าง และการผูกพันสัญญาค้ำประกันก่อนเริ่มงาน
ตามสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดร่วมกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ให้แก่บริษัทในการที่บริษัทจะได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติตามหน้าที่การงานทั้งปวงนั้นเห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันที่เข้าทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคตหาใช้ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่ส่วนสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าการที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไปแม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่าถ้าจำเลยที่1ผู้เป็นลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่2ค้ำประกันอยู่แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่1ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหายจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ยังไม่พ้นจากความรับผิดหาได้มีความหมายว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
of 90