คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุระ หวังอ้อมกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายในอนาคตจากการทำงานของลูกจ้าง และการผูกพันสัญญาค้ำประกันก่อนเริ่มงาน
ตามสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดร่วมกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ให้แก่บริษัทในการที่บริษัทจะได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดอันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติตามหน้าที่การงานทั้งปวงนั้นเห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่จำเลยที่2ผู้ค้ำประกันที่เข้าทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคตหาใช้ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่ส่วนสัญญาค้ำประกันข้อที่ว่าการที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไปแม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่าถ้าจำเลยที่1ผู้เป็นลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่2ค้ำประกันอยู่แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่1ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหายจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ยังไม่พ้นจากความรับผิดหาได้มีความหมายว่าจำเลยที่2จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้ทรัพย์สินบางส่วนถูกโอน – สิทธิผู้รับพินัยกรรมยังคงมีในส่วนที่เหลือ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้โจทก์30ไร่และให้จำเลย9ไร่เศษแต่ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไปโดยสมบูรณ์คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพียง8ไร่เศษนั้นเป็นกรณีที่ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้นพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่หาได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่2แต่อย่างใดไม่และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัยอันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมโจทก์ยังคงมีสิทธิตามพินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมและทรัพย์มรดก: ผลกระทบจากการโอนทรัพย์สินก่อนมรณะและการบังคับใช้พินัยกรรมตามส่วนที่เหลือ
ส. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่โจทก์ 30 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 1จำนวน 9 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไป คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 8 ไร่ 2 งาน 40.5 ตารางวา กรณีเป็นเรื่องที่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจของผู้ทำพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696ส่วนพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ไม่ได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย อันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ ของผู้ทำพินัยกรรมตามมาตรา 1684 โจทก์ยังคงมีสิทธิตาม พินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่จำนวน 8 ไร่ 2 งาน40.5 ตารางวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญาบริการ: ไม่ใช่ดอกเบี้ยและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ข้อกำหนดข้อ 5 ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน 300 บาท ที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน 500 บาท เมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา 3 เดือน สำหรับข้อกำหนดข้อ 6 ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไป ซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อน โดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน 2.5 เปอร์เซ็นต์ เห็นได้ว่า กิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิก ไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงิน ค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ย สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 และมาตรา 654 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการสมาชิก ค่าปรับไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ถือเป็นดอกเบี้ย
ข้อกำหนดข้อ5ระบุถึงการชำระเงินในกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามปกติโจทก์อาจจะคิดเงินจากจำเลยทั้งสามจำนวน300บาทที่จะทดแทนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของโจทก์หรือจำนวน500บาทเมื่อเช็คหรือดราฟท์แต่ละฉบับไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ภายในเวลา3เดือนสำหรับข้อกำหนด6ระบุถึงค่าปรับในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ทั้งนี้โจทก์จะเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสามได้ต่อเมื่อโจทก์ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าและค่าบริการครบจำนวนตามที่แสดงไว้ในใบเก็บเงินในวันปิดบัญชีรายเดือนในเดือนถัดไปซึ่งเป็นจำนวนยอดเงินค้างชำระจากงวดก่อนโดยค่าปรับประกอบด้วยค่าทดแทนการออกเงินทุนเพิ่ม1เปอร์เซ็นต์และค่าปรับเพื่อทดแทนค่าใช้จ่ายจากการเรียกเก็บเงิน2.5เปอร์เซนต์เห็นได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นการให้บริการแก่สมาชิกไม่มีลักษณะเป็นการให้กู้ยืมเงินค่าปรับตามข้อกำหนดดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทหนึ่งไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224และมาตรา654และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาททั้งสองฝ่าย-อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนกระทำผิด ไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย บิดาไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็ว และต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นการขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วย ผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา 5(2) ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4461/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการขับรถประมาท และอำนาจโจทก์ร่วมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้ตายและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วและต่างขับรถเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งฟังได้ว่าขับรถโดยประมาททั้งสองฝ่ายเมื่อผู้ตายมีส่วนกระทำผิดด้วยผู้ตายจึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา2(4)โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบิดาผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตามมาตรา5(2)ไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับระยะเวลาตามคำสั่งศาลสำคัญกว่าการตีความเองของผู้ฟ้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์3ครั้งครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา20วันนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก15วันโดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรกจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2ครั้งรวม35วันซึ่งเมื่อนับจากวันที่8มกราคม2538อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรกโจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่12กุมภาพันธ์2538เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่3ในวันที่15กุมภาพันธ์2538จึงเป็นการยื่นคำขอขึ้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเป็นการมิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23 ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่28มกราคม2538เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่30มกราคม2538และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15วันวันที่ครบกำหนดระยะเวลา>อุทธรณ์จึงเป็นวันที่14กุมภาพันธ์2538ซึ่งเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่15กุมภาพันธ์2538ได้นั้นการนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4459/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: การนับวันตามคำสั่งศาล และผลของการยื่นคำร้องหลังหมดเวลา
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 3 ครั้ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลา 20 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ และครั้งที่สองศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก จึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้2 ครั้ง รวม 35 วัน ซึ่งเมื่อนับจากวันที่ 8 มกราคม 2538 อันเป็นวันครบกำหนดอุทธรณ์ตามคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาครั้งแรก โจทก์จึงต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2538 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 จึงเป็นการยื่นคำขอขื้นมาภายหลังสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 23
ที่โจทก์ฎีกาว่าวันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องของโจทก์ครั้งแรกคือวันที่ 28 มกราคม 2538 เป็นวันเสาร์โจทก์จึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 30 มกราคม 2538 และเมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก15 วัน วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2538 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2538 ได้ นั้น การนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างมาในฎีกาไม่ตรงตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้นับแต่วันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายอำนาจฟ้อง: ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงได้ชอบธรรม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้ จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะถามค้านโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา117 นั้น เป็นข้อที่นอกเหนือไปจากคำท้าไม่อาจดำเนินการให้ได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกรอบที่คู่ความตกลงท้ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
of 90