คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุระ หวังอ้อมกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาและการบังคับคดี: โจทก์ไม่อาจฟ้องคดีใหม่เพื่อขัดขวางการบังคับคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก บัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี เมื่อโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้อง ก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อไป สำหรับการบังคับคดีนั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล จำเลยซึ่งเป็นฝ่ายชนะชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หากโจทก์ประสงค์จะขอให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิม โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาหรือขอให้งดการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ ก็ไม่อาจนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254มาใช้บังคับแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเพิกถอนคำพิพากษา: การฟ้องคดีใหม่เพื่อขอเพิกถอนคำพิพากษาเดิมทำไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่งนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งจนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียถ้าหากมีเมื่อโจทก์ทั้งสองเห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องโจทก์ทั้งสองก็ชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาเพื่อให้ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกามีคำพิพากษาหรือคำสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขต่อไปสำหรับการ บังคับคดีนั้นเมื่อโจทก์ที่1ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลจำเลยที่2ซึ่งเป็นฝ่ายชนะชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271หากโจทก์ทั้งสองประสงค์จะขอให้งดการบังคับคดีไว้ก็ต้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิมโจทก์ทั้งสองไม่อาจฟ้องขอให้ เพิกถอนคำพิพากษาหรือขอให้สั่ง งดการบังคับคดีเป็นคดีใหม่ได้เมื่อโจทก์ทั้งสองฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้ก็ไม่อาจนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสี่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดและที่งอกติดกับที่ดิน การซื้อขายต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด
เมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดที่งอกย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. โดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมายไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนเป็นหลักฐานว่าเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วที่งอกจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดให้โจทก์ถือว่าได้แบ่งที่ดินมีโฉนดขายแก่โจทก์หาใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่าแต่อย่างใดไม่การซื้อขายที่ดินมีกรรมสิทธิ์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์กับ ส. เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองไม่ได้ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคแรกโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยทั้งสามออกไปจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1860/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินงอกริมตลิ่ง: การซื้อขายที่ดินโฉนด vs. ที่ดินมือเปล่า, สัญญาซื้อขายที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1308 กำหนดให้ทึ่งอกริมตลิ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ตั้งอยู่ริมตลิ่งเมื่อที่งอกอยู่ติดกับที่ดินมีโฉนดย่อมเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงดังกล่าวและเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. เจ้าของที่ดินโดยหลักส่วนควบด้วยผลของกฎหมาย ไม่จำต้องรังวัดขึ้นทะเบียนว่าเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามโฉนดเดิมเสียก่อนแล้วจึงจะเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การที่ ส. ขายที่งอกให้โจทก์ ถือว่าได้แบ่งที่ดินตามโฉนดนั้นขายแก่โจทก์ไม่ใช่เป็นการขายที่ดินมือเปล่า โจทก์กับ ส.เพียงแต่ทำสัญญาซื้อขายกันเองจะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่งอก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยออกไปจากที่งอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วขอเป็นโจทก์ร่วม: เจตนาถอนฟ้องเด็ดขาดทำให้สิทธิฟ้องระงับ
พนักงานอัยการและผู้ร้องต่างฟ้องจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา300และพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯแต่ผู้ร้องได้ขอถอนฟ้องคดีของตนและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตามแต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิมไปแล้วเป็นเวลานานกว่า10เดือนแสดงว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องจำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา36สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้ร้องจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ภายหลัง: ผลกระทบต่อสิทธิการฟ้องคดี
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม2536 ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43,157ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยในข้อหาเดียวกันนี้เป็นคดีต่างหากและถอนฟ้องจำเลยไปเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2536โดยไม่ปรากฎในคำร้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาวันที่ 30 สิงหาคม 2537 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วม เป็นโจทก์ได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ก็ตามแต่การที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องไปแล้วเป็นเวลากว่า 10 เดือนแสดงว่า ผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไป ตามมาตรา 39(2) เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ เท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่อีกจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องแล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วม: เจตนาถอนฟ้องเด็ดขาด ทำให้ฟ้องใหม่ไม่ได้
ผู้ร้องฟ้องและถอนฟ้องจำเลยไปโดยไม่ปรากฏข้อความในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ แล้วต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้อีก แม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตามแต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิมไปแล้วเป็นระยะเวลานานกว่า 10 เดือน เห็นได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องจำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นตามความหมายใน ป.วิ.อ. มาตรา 36 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่จึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1765/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาแล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการภายหลัง มิอาจทำได้หากมีเจตนาถอนฟ้องเด็ดขาดตั้งแต่ต้น
ผู้ร้องฟ้องและถอนฟ้องจำเลยไปโดยไม่ปรากฎข้อความในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการแล้วต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้อีกแม้ว่าผู้ร้องอาจขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้โดยไม่จำต้องกล่าวหรือมีข้อแม้ในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนไปเพื่อขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการก็ตามแต่พฤติการณ์ที่ผู้ร้องเพิ่งจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์หลังจากที่ได้ถอนฟ้องคดีเดิมไปแล้วเป็นระยะเวลานานกว่า10เดือนเห็นได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาที่จะถอนฟ้องจำเลยเด็ดขาดแล้วตั้งแต่ต้นความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา36การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการเท่ากับนำคดีมาฟ้องจำเลยใหม่จึงต้องห้าม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: ศาลฎีกาพิพากษากลับ โจทก์ผิดสัญญา ต้องคืนค่าเช่าล่วงหน้าให้จำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลยจำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืนศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลยเงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมาแต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลชั้นต้นต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น: สิทธิในการเรียกค่าเช่าและคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลย เงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลขัดกัน ต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้
of 90