พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางทรัพย์ชำระหนี้หลังถูกบังคับคดี: สิทธิจำเลยและผลต่อการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบให้โจทก์แล้ว แต่พนักงานของโจทก์ไม่ยอมรับ เมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อและเงินค่าเสียหายไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง แม้เป็นเวลาภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 2 แล้วก็ตาม ก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับคดีต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (1) อันเป็นผลให้หมายบังคับคดีสิ้นผลไปจึงต้องยกเลิกหมายบังคับคดีตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางทรัพย์ชำระหนี้หลังยึดทรัพย์: ถือว่าหนี้สิ้นสุด เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดี
ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนจำเลยที่1ได้นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบให้โจทก์แล้วแต่พนักงานของโจทก์ไม่ยอมรับเมื่อจำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อและเงินค่าเสียหายไปวางทรัพย์ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางแม้เป็นเวลาภายหลังที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่2แล้วก็ตามก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องบังคับคดีต่อไปซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา295(1)อันเป็นผลให้หมายบังคับคดีสิ้นผลไปจึงต้องยกเลิกหมายบังคับคดีตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1497/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยการวางทรัพย์หลังถูกยึดทรัพย์ ศาลต้องถอนการบังคับคดี
โจทก์แจ้งให้จำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบแก่โจทก์พร้อมทั้งชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา จำเลยจึงนำรถยนต์ไปส่งมอบให้โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยแจ้งว่านโยบายของบริษัทจะไม่รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โดยจะขอรับเงินตามคำพิพากษาจำเลยจึงนำรถยนต์และเงินไปวางทรัพย์ณ สำนักงานวางทรัพย์การที่โจทก์ไม่ยอมรับรถยนต์ที่คืนและจำเลยได้วางทรัพย์ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้วแม้เป็นการชำระหนี้หลังจากโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับตามคำพิพากษาก็ตาม ก็ถือได้ว่าไม่มีหนี้ตามคำพิพากษาที่จะบังคับต่อไป ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตามมาตรา 295(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นผลให้ หมายบังคับคดีสิ้นผลไปโดยผลแห่งการชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: คำพิพากษาถึงที่สุดห้ามฟ้องซ้ำในประเด็นเดียวกัน แม้อ้างละเมิด
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ให้ลดขั้นเงินเดือนของโจทก์ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยจำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ได้คำสั่งให้ลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายคดีถึงที่สุดแล้วต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ว่าการลงโทษลดขั้นเงินเดือนโจทก์นั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420ซึ่งจำเลยทำละเมิดแก่โจทก์หรือไม่ต้องได้ความว่าจำเลยมีคำสั่งลงโทษโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดระเบียบข้อบังคับของจำเลยและทำให้โจทก์เสียหายเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยจนถึงที่สุดแล้วว่าคำสั่งลงโทษโจทก์ของจำเลยเป็นคำสั่งที่ชอบจึงไม่เป็นละเมิดแก่โจทก์แต่เป็นเรื่องสืบเนื่องมาจากมูลกรณีเดียวกันหาใช่เป็นเรื่องละเมิดอีกต่างหากจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันอำพราง การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความฟ้องร้อง
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิ์นำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0769กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่41ของจำเลยที่1แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน10-0485กาญจนบุรีแต่จำเลยที่1ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่งสำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวเช่นทำสัญญากันเมื่อใดราคาเท่าใดมีเงื่อนไขในการในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไรมีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลังส่วนคำว่าคิวนั้นเมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่1คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่40เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริงๆสัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้บังคับระหว่างกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา118เดิม โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายดังนั้นการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจากส. ราคา352,000บาทส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่41ให้แก่ส.ราคา352,000บาทนั้นความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อโจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่41โดยมีเงื่อนไขว่าหากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ส. ยึดคิวรถที่41ได้และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนส.ก็จะคืนคิวรถที่41ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใดการนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิดแต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้องเมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่าจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย8203และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่1รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่41ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่1ได้รับอนุญาตได้นั้นโจทก์และจำเลยที่1จะต้องมีสัญญาต่อกันกล่าวคือจำเลยที่1จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่1และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าต่อมาจำเลยที่1ปฎิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่41แต่กลับให้จำเลยที่2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่1ทำผิดสัญญาดังกล่าวมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ฉะนั้นจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาปรับแก่คดีหาไม่ได้และกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164(เดิม) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่41ให้แก่ส. คิวรถที่41จึงยังเป็นของโจทก์อยู่แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่1ตามสัญญาจำเลยที่1กลับปฎิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่1ได้อนุญาตให้จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทนการกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นการผิดสัญญาโจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกัน การผิดสัญญาเดินรถ และอายุความ
เมื่ออ่านเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบคำฟ้องแล้วพอเข้าใจได้ว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธินำรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0769 กาญจนบุรีเข้าวิ่งในคิวที่ 41 ของจำเลยที่ 1 แทนรถยนต์โดยสารหมายเลขทะเบียน 10 - 0485กาญจนบุรี แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมให้เข้าวิ่ง สำหรับเรื่องการซื้อขายและเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าว เช่น ทำสัญญากันเมื่อใด ราคาเท่าใด มีเงื่อนไขในการชำระค่าเช่าซื้ออย่างไร มีสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ล้วนเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในภายหลัง ส่วนคำว่าคิวนั้น เมื่ออ่านฟ้องแล้วก็พอจะเข้าใจได้ว่าเป็นลำดับของรถยนต์โดยสารที่โจทก์จะนำเข้าวิ่งในเส้นทางของจำเลยที่ 1 คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ส.ให้โจทก์ทำสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 เพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อรถยนต์โดยมิได้ประสงค์ให้ผูกพันเป็นการซื้อขายกันจริง ๆ สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงเป็นการทำขึ้นโดยเจตนาลวงใช้ บังคับระหว่างกันไม่ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 118 เดิม
โจทก์มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบสัญญาเช่าซื้อว่า โจทก์ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยสารจาก ส. ราคา 352,000 บาท ส่วนสัญญาซื้อขายที่ระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส.ราคา 352,000 บาท นั้น ความจริงเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อที่โจทก์ทำไว้แก่ ส.เนื่องจากโจทก์ไม่มีหลักประกันการเช่าซื้อ โจทก์จึงได้ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อไว้ในรูปของสัญญาซื้อขายคิวรถที่ 41 โดยมีเงื่อนไขว่า หากโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อก็ให้ ส.ยึดคิวรถที่ 41ได้ และหากโจทก์ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ก็จะคืนคิวรถที่ 41 ให้โจทก์ไม่มีการจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวแต่อย่างใด การนำสืบเช่นนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้โจทก์จะตั้งข้อหาในคำฟ้องว่าละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์ที่แท้จริงอยู่ที่คำบรรยายฟ้อง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาว่า จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้เดินรถโดยสารสาธารณะประจำทางในเส้นทางสาย 8203 และโจทก์เป็นผู้ประกอบการเดินรถผู้หนึ่งที่นำรถยนต์เข้าร่วมกับจำเลยที่ 1 รับส่งคนโดยสารในเส้นทางดังกล่าวในคิวที่ 41 ก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าการที่โจทก์มีสิทธินำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารในเส้นทางที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตได้นั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องมีสัญญาต่อกัน กล่าวคือ จำเลยที่ 1 จะต้องทำสัญญาให้โจทก์เข้าเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 1 และการที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่า ต่อมาจำเลยที่ 1 ปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าวิ่งในคิวที่ 41 แต่กลับให้จำเลยที่ 2นำรถยนต์เข้าวิ่งแทนโจทก์ก็เป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1ทำผิดสัญญาดังกล่าว มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิด แม้โจทก์จะตั้งข้อหาคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในคำฟ้องเป็นเรื่องละเมิดไปได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นจะนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาไม่ได้ และกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมให้โจทก์นำรถยนต์เข้าร่วมรับส่งคนโดยสารนี้ กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทำสัญญาค้ำประกัน โจทก์ไม่ได้ทำสัญญาขายคิวรถที่ 41 ให้แก่ ส. คิวรถที่ 41 จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ แต่เมื่อโจทก์จะขอนำรถยนต์โดยสารเข้าร่วมวิ่งกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1กลับปฏิเสธสิทธิของโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารเข้าวิ่งในคิวของโจทก์แทน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพคำฟ้องโดยผู้ไม่รู้ภาษาไทย: การไต่สวนและพิสูจน์ความเข้าใจ
ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นคนไทยแต่ไม่รู้ภาษาไทยเพียงพอและขณะศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยไม่มีล่ามช่วยแปลนั้นศาลชั้นต้นได้ไต่สวนปัญหานี้ตามคำสั่งของศาลฎีกาแล้วปรากฏว่าจำเลยสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยสามารถตอบคำถามทนายจำเลยโจทก์และศาลเป็นภาษาไทยโดยมิต้องใช้ล่ามแปลดังนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและคำฟ้องแล้วกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยบันทึกคำให้การรับสารภาพของจำเลยไว้จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบไม่ชอบเหตุที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ จำเลยอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยจำเลยก็อาจขอพิสูจน์สัญชาติได้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ.2522มาตรา57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบคำให้การจำเลยที่ไม่ต้องใช้ล่ามเมื่อจำเลยเข้าใจภาษาไทย
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นคนไทยแต่ไม่รู้ภาษาไทยเพียงพอและขณะศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยไม่มีล่ามช่วยแปลนั้น ศาลชั้นต้นได้ไต่สวนปัญหานี้ตามคำสั่งของศาลฎีกาแล้วปรากฏว่า จำเลยสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยสามารถตอบคำถามทนายจำเลย โจทก์ และศาลเป็นภาษาไทยโดยมิต้องใช้ล่ามแปลดังนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาและคำฟ้องแล้วกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย บันทึกคำให้การรับสารภาพของจำเลยไว้ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบ ไม่มีเหตุที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย จำเลยก็อาจขอพิสูจน์สัญชาติได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57
จำเลยอ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทย จำเลยก็อาจขอพิสูจน์สัญชาติได้ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางเงินค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว เมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา246 แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1154/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเกี่ยวกับการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ แม้จะวางค่าพาหนะแล้ว
ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งหกนำส่งสำเนาอุทธรณ์ใน7วันส่งไม่ได้ให้แถลงใน7วันนับแต่วันส่งไม่ได้มิฉะนั้นจะถือว่าทิ้งฟ้องอุทธรณ์ถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้วเมื่อไม่แถลงให้ศาลทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปภายในกำหนด7วันนับแต่วันส่งไม่ได้จึงถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246แม้โจทก์จะได้วางเงินค่าพาหนะและค่าป่วยการในการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ล่วงหน้าก็ไม่ทำให้โจทก์หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งสำเนาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น