พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการไม่ทำพิธีสมรส: จำเป็นต้องมีการหมั้นหรือไม่
เมื่อไม่มีการหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่
ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่ 3 โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรส แล้วจำเลยที่ 3 ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้ อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตาม ล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่ 1และที่ 2 ไม่นำจำเลยที่ 3 มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด มูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรส มิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องโจทก์หาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแต่งงานและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
เมื่อไม่มีการหมั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายในการเตรียมการสมรสจากจำเลยทั้งสามซึ่งไม่มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนด ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฝ่ายจำเลยสู่ขอโจทก์เพื่อสมรสกับจำเลยที่3โดยตกลงให้ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดงานและพิธีสมรสแล้วจำเลยที่3ไม่มาทำพิธีสมรสตามที่ตกลงไว้อีกทั้งค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสหรือค่าเสียหายทางจิตใจเนื่องจากถูกชาวบ้านดูถูกให้อับอายขายหน้าก็ตามล้วนสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยที่1และที่2ไม่น่าจำเลยที่3มาทำพิธีสมรสในวันที่กำหนดมูลคดีตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสมิใช่มูลละเมิดตามที่โจทก์อุทธรณ์เพราะคำฟ้องหาได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420แต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการขอวิธีการชั่วคราวต้องสอดคล้องกับประเด็นข้อพิพาทตามคำร้อง
ประเด็นตามคำร้องของผู้คัดค้านมีเพียงว่า ผู้ร้องสมควรถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านฎีกาขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวโดยให้ผู้ร้องหยุดกระทำการขัดขวาง ขับไล่ ห้ามผู้คัดค้านกรีดยางพาราในที่พิพาท และห้ามผู้ร้องกรีดยางพาราในที่พิพาทโดยวิธีใช้ยาเร่งน้ำยางจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการขอใช้วิธีการชั่วคราวนอกประเด็นตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอมาตรการชั่วคราวนอกประเด็นคำร้องคดีจัดการมรดก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ชอบ
ประเด็นตามคำร้องของผู้คัดค้านมีเพียงว่าผู้ร้องสมควรถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่เท่านั้นดังนั้นการที่ผู้คัดค้านฎีกาขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวโดยให้ผู้ร้องหยุดกระทำการขัดขวางขับไล่ห้ามผู้คัดค้านกรีดยางพาราในที่พิพาทและห้ามผู้ร้องกรีดยางพาราในที่พิพาทโดยวิธีใช้ยาเร่งน้ำยางจึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการขอใช้วิธีการชั่วคราวนอกประเด็นตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีซื้อขายตามเงื่อนไขประกวดราคาและการซื้อขายธรรมดา
โจทก์ทำสัญญาซื้อครอสอาร์มเลนท์จำนวน 1,100 ชิ้นจากจำเลยตามสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ.1 ข้อ 1 มีความว่าสินค้ามีคุณสมบัติตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่เสนอต่อโจทก์ทุกประการจำหน่ายโดยบริษัทคังเซ้งประเทศไทย และข้อ 2 มีความว่าผู้ขายรับรองว่าสินค้าที่ขายให้ตามสัญญามีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามรายละเอียดที่กล่าวในข้อ 1 และตรงตามสเปซิฟิเคชั่นที่แนบท้ายสัญญาผู้ขายรับรองว่าเมื่อตรวจทดลองแล้วต้องมีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ด้วยและก่อนทำสัญญาซื้อขายโจทก์ได้จัดให้มีการประกวดราคากำหนดคุณลักษณะและคุณภาพของสินค้าให้ผู้ยื่นซองประกวดราคาทราบเมื่อจำเลยประมูลได้แล้วจึงได้ทำสัญญาซื้อขายตามเอกสารหมาย จ.1 การซื้อขายดังกล่าวเป็นการซื้อขายตามเงื่อนไขเรียกประกวดราคาของโจทก์นอกจากนี้การซื้อขายนี้ยังยอมให้โจทก์ตรวจสอบคุณภาพก่อนดังนั้นรายละเอียดแนบท้ายสัญญาจึงเป็นเพียงรายละเอียดประกอบสัญญาเท่านั้นจึงเป็นการซื้อขายธรรมดามิใช่การซื้อขายตามตัวอย่างอันผู้ขายจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ตรงตามตัวอย่างและในเรื่องนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความเป็นอย่างอื่นจึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หรือ 193/30 ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลให้ครบถ้วนตามเวลาที่กำหนดและการที่โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินของจำเลยไว้นั้นก็มิใช่เป็นการหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และความชอบด้วยกฎหมายของการแจ้งนัดประชุม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใด ซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้น หมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าว ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1185
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมผู้ถือหุ้น การชำระหนี้ และการแจ้งนัดประชุมชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะชอบจะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175ที่กำหนดให้แจ้งวันนัดประชุมใหญ่บริษัทโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า7วันก็เพื่อให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่เมื่อผู้คัดค้านที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทมีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นทั้งหมดต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดมีชาย2คนมาประชุมแทนผู้ร้องและบุตรซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจากผู้ร้องและบุตรจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทชอบแล้วโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้านั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่า7วันหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ผู้ถือหุ้น: ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทไม่ถือว่ามีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1185 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฎิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษ มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย