พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างของผู้ว่าฯ และอายุความตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่ หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อจ้างของผู้ว่าฯ กับอายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัดข้อ5ก็มีข้อความว่าให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเองหาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวการที่จำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญาย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม193/30ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา601ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8502/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อ/สั่งจ้างของผู้ว่าฯ ตามระเบียบงบประมาณระดับจังหวัด และการฟ้องรับผิดตามสัญญา
ตามหนังสือมอบอำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างได้ระบุชัดแจ้งว่าเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงและระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงบประมาณในระดับจังหวัด ข้อ 5 ก็มีข้อความว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณมอบอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด จึงเป็นการมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างได้ในนามตนเอง หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนส่วนราชการผู้มอบอำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยตัวแทนไม่ เมื่อเลขาธิการเร่งรัดพัฒนาชนบทได้มอบอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงเพื่อปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันได้ปฏิบัติผิดสัญญา ย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองชำระค่าจ้างที่โจทก์ต้องว่าจ้างผู้อื่นมาทำการตรวจสอบว่าเสาเข็มสามารถบรรทุกน้ำหนักประลัยได้ตรงตามสัญญาหรือไม่และชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากันไว้ จึงเป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม 193/30 ใหม่หาใช่เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเนื่องจากโฉนดอยู่กับบุคคลอื่น แม้จะมีความพยายาม แต่เมื่อฝ่ายโจทก์ไม่ยอมรับโอนตามเงื่อนไขเดิม จำเลยไม่ผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยประมาณ 10 ไร่ ซึ่งรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่โดยโจทก์วางเงินมัดจำไว้แล้ว ราคาส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ครั้นถึงวันนัด โจทก์จำเลยไปที่สำนักงานที่ดิน แต่จำเลยไม่ได้นำโฉนดที่ดินไป จึงไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามสัญญาดังนี้ การที่จำเลยไม่ได้โฉนดที่ดินมาในวันนัดทั้งที่มีเวลาที่จะขวนขวายถึง 26 วัน แม้โฉนดที่ดินจะอยู่กับ ป.ซึ่งเดินทางไปต่างประเทศ จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาก็อ้างเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 8ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าในวันดังกล่าวโจทก์ยอมผ่อนผันการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยสามารถนำโฉนดที่ดินมาได้แต่เมื่อจำเลยยืมโฉนดที่ดินมาได้แล้วและนัดโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์กลับเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 3,000,000 บาท ตามสัญญาจึงจะยอมรับโอนเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอม โจทก์แจ้งอายัดที่ดินพิพาทแล้วไม่ฟ้องคดีภายใน 60 วัน เมื่อการอายัดสิ้นสุด จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่ ป. แล้ว โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8482/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาเนื่องจากเอกสารไม่พร้อม และการเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยประมาณ10 ไร่ ซึ่งรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่โดยโจทก์วางเงินมัดจำไว้แล้ว ราคาส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ครั้นถึงวันนัด โจทก์จำเลยไปที่สำนักงานที่ดิน แต่จำเลยไม่ได้นำโฉนดที่ดินไป จึงไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ตามสัญญา ดังนี้ การที่จำเลยไม่ได้โฉนดที่ดินมาในวันนัดทั้งที่มีเวลาที่จะขวนขวายถึง 26 วัน แม้โฉนดที่ดินจะอยู่กับ ป.ซึ่งเดินทางไปต่างประเทศ จำเลยซึ่งมีหน้าที่ต้องนำโฉนดที่ดินมาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาก็อ้างเหตุสุดวิสัยตาม ป.พ.พ.มาตรา 8 ไม่ได้อย่างไรก็ตาม เมื่อปรากฏว่าในวันดังกล่าวโจทก์ยอมผ่อนผันการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยสามารถนำโฉนดที่ดินมาได้แต่เมื่อจำเลยยืมโฉนดที่ดินมาได้แล้วและนัดโจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโจทก์กลับเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย3,000,000 บาท ตามสัญญาจึงจะยอมรับโอนเมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ยอม โจทก์แจ้งอายัดที่ดินพิพาทแล้วไม่ฟ้องคดีภายใน 60 วัน เมื่อการอายัดสิ้นสุด จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทแก่ ป.แล้ว โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยจึงไม่ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8344/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าไม่ใช่เครื่องเล่นพนัน หากไม่มีการแพ้ชนะระหว่างบุคคล การจัดให้เล่นจึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.การพนัน
คำว่า"เครื่องเล่น"ตามกฎกระทรวงฉบับที่23(พ.ศ.2530)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478ที่กำหนดว่าเป็นเครื่องเล่นซึ่งสามารถทำให้แพ้ชนะกันได้นั้นย่อมมีความหมายตามปกติว่าเป็นการแพ้ชนะระหว่างบุคคลตั้งแต่2คนขึ้นไปแต่เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางสามารถเล่นคนเดียวก็ได้หากผู้เล่นมีความสามารถหรือมีทักษะก็จะได้คะแนนดีคะแนนที่ปรากฏบนจอภาพเป็นคะแนนความสามารถของผู้เล่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นดังกล่าวโดยสภาพของเครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางเป็นการให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่นโดยผู้เล่นจะต้องจ่ายค่าเล่นด้วยการหยอดเหรียญ5บาทลงไปในตู้การจะใช้ผลคะแนนดังกล่าวเพื่อเล่นการพนันกันได้นั้นเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างหากหาใช่เป็นคุณสมบัติปกติของเครื่องเล่นดังกล่าวไม่เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางจึงไม่ใช่เครื่องเล่นในความหมายของกฎกระทรวงฉบับที่23(พ.ศ.2530)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8344/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตู้เกมไฟฟ้าไม่ใช่เครื่องเล่นพนัน หากให้ความสนุกเพลิดเพลิน ไม่มีการแพ้ชนะหรือผลตอบแทน
เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าที่เล่นคนเดียวก็ได้ หากผู้เล่นมีความสามารถหรือมีทักษะ ก็จะได้คะแนนดี แต่ผู้เล่นจะไม่ได้รับ ผลตอบแทนใด ๆ จากเครื่องเล่น คงได้รับความสนุกเพลิดเพลิน เท่านั้น แสดงว่า โดยสภาพของเครื่องเล่นนั้นเป็นการ ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่น โดยผู้เล่นจะต้อง จ่ายค่าเล่นด้วยการหยอดเหรียญลงไปในตู้ แม้จะมีคะแนน ปรากฏบนจอภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของการเล่นดังกล่าว โดยเป็นเพียงสิ่งที่แสดงถึงความสามารถหรือทักษะของผู้เล่น เท่านั้น จึงไม่เป็นเครื่องเล่นที่อยู่ในความหมายของกฎกระทรวง ฉบับที่ 23(พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ที่จะต้องขออนุญาตจัดให้มีการเล่นดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8344/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าไม่ใช่เครื่องเล่นพนัน หากไม่มีการใช้ผลคะแนนเพื่อเล่นการพนัน
คำว่า "เครื่องเล่น" ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2530)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 ที่กำหนดว่าเป็นเครื่องเล่นซึ่งสามารถทำให้แพ้ชนะกันได้นั้น ย่อมมีความหมายตามปกติว่าเป็นการแพ้ชนะระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป แต่เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางสามารถเล่นคนเดียวก็ได้หากผู้เล่นมีความสามารถหรือมีทักษะก็จะได้คะแนนดี คะแนนที่ปรากฏบนจอภาพเป็นคะแนนความสามารถของผู้เล่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นดังกล่าว โดยสภาพของเครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางเป็นการให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้เล่น โดยผู้เล่นจะต้องจ่ายค่าเล่นด้วยการหยอดเหรียญ 5 บาท ลงไปในตู้ การจะใช้ผลคะแนนดังกล่าวเพื่อเล่นการพนันกันได้นั้น เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องต่างหาก หาใช่เป็นคุณสมบัติปกติของเครื่องเล่นดังกล่าวไม่ เครื่องเล่นเกมไฟฟ้าของกลางจึงไม่ใช่เครื่องเล่นในความหมายของกฎกระทรวง ฉบับที่ 23(พ.ศ. 2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความต้องมีคำขอบังคับชัดเจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอ้างมูลคดีว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองทำกันไว้ส่วนผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามโดยอ้างนิติสัมพันธ์ตามสัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องกับจำเลยที่1มีต่อกันเป็นคำร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)ซึ่งเป็นคำฟ้องตามมาตรา172วรรคสองที่ต้องแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแต่คำร้องของผู้ร้องมิได้มีคำขอบังคับโดยชัดแจ้งหรือมีคำขอบังคับอยู่ในตัวว่าอย่างไรเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7908/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและข้อตกลงทบยอดเงินต้นดอกเบี้ยค้างชำระ
การบอกกล่าวบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือเท่านั้น มิได้กำหนดเป็นแบบไว้แต่อย่างไร การที่นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับแต่ส่งไม่ได้ เนื่องจากหาที่อยู่จำเลยไม่พบ จึงได้ประกาศแจ้งบังคับจำนองทางหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบ แม้การที่โจทก์มอบอำนาจให้นาย ว.บอกกล่าวบังคับจำนองมิได้ทำเป็นหนังสือ แต่การบอกกล่าวบังคับจำนองของนาย ว.ได้กระทำในนามโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้มอบอำนาจให้นาง บ. ดำเนินคดีกับจำเลยถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบัน การบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยทราบตาม ป.พ.พ.มาตรา 823 วรรคหนึ่ง และถือได้ว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
ข้อตกลงที่จำเลยยินยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน1 ปี มาทบกับยอดเงินกู้เป็นเงินต้นแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นได้เมื่อโจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 1 ปี มาทบรวมกับยอดเงินต้นแล้ว ดอกเบี้ยที่ทบนั้นก็กลายเป็นเงินต้น ไม่เป็นดอกเบี้ยที่ค้างอีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่อยู่ในบังคับข้อห้ามไม่ให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง