คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุระ หวังอ้อมกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 897 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย: การผิดสัญญาชำระค่าปุ๋ยและผลกระทบต่อการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่าภายหลังจากที่จำเลยรับมอบปุ๋ยจากโจทก์แล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาไม่ชำระค่าปุ๋ยตามกำหนดเวลาในสัญญาไม่ทำรายงานจำนวนปุ๋ยที่จำหน่ายไปแล้วและปุ๋ยคงเหลือและไม่ส่งบัญชีรายชื่อผู้ซื้อปุ๋ยให้โจทก์ทราบภายในวันที่5ของทุกเดือนตามแบบที่โจทก์กำหนดอันเป็นสาระสำคัญของสัญญาข้ออ้างของโจทก์จึงเป็นเรื่องของสัญญาข้อ13และข้อ15ที่ตกลงว่าหากจำเลยผิดสัญญาในส่วนนี้อยู่มีผลตามสัญญาข้อ17ที่ระบุว่าถ้าตัวแทนซึ่งหมายถึงจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือตัดสิทธิการเป็นตัวแทนและมีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ18.1หรือเรียกร้องให้ธนาคารผู้ค้ำประกันชำระเงินทันทีตามสัญญาข้อ18.2พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ15ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินให้แก่ตัวการเสร็จสิ้นเท่านั้นซึ่งตามสัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยดังกล่าวไม่มีข้อใดระบุว่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายอีกตันละ500บาทดังกรณีตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10แต่อย่างใดดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยมิได้คืนปุ๋ยแก่โจทก์และโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระค่าปุ๋ยทั้งหมดโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการคืนปุ๋ยแก่โจทก์ไม่ถูกต้องกรณีไม่อาจที่จะแปลว่าเมื่อจำเลยไม่คืนปุ๋ยย่อมฟังเป็นปริยายว่าปุ๋ยขาดจำนวนไปจากการดูแลรักษาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีไม่เสร็จสิ้นหากยังไม่มีการจ่ายเงินจากการขายทอดตลาด แม้ศาลสั่งจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว
การบังคับคดีจะเสร็จลงแล้วนั้นต้องเป็นเรื่องที่ไม่มีการกระทำอย่างไรต่อไปอีกในการบังคับคดีคดีนี้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินจากการขายทอดตลาดจึงยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อไปตามระเบียบและข้อบังคับการบังคับคดีอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งยังไม่เสร็จดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยแก่ผู้ซื้อทรัพย์ก็ตามกรณียังถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
การที่ บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาทงวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน 47,450 บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่9 มกราคม 2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา 193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9 มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2และ ส. บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการผ่อนชำระ - สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องเกิน 5 ปีนับจากวันผิดนัด
การที่ บ.ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่ 1 ถึงงวดที่ 5 งวดละ 27,800 บาท งวดที่ 6 จำนวน 26,642.41 บาท งวดที่ 7 จำนวน47,450 บาท แล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน 22,950 บาทรวมทั้งหมด 57 งวด ถือได้ว่า บ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวด ๆ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (2) สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 16 พฤศจิกายน 2536 เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มกราคม2523 ซึ่งเป็นวันที่ บ.ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 193/33 (2)
โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ บ.ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 9มกราคม 2523 แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 7กรกฎาคม 2531 ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้ว และที่ บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วน จึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้น ถือตามอายุความของลูกหนี้ เมื่อคดีเกี่ยวกับ บ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว คดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ส.บิดาจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ผ่อนชำระ: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อฟ้องพ้น 5 ปีนับจากวันผิดนัด แม้มีการชำระหนี้บางส่วน
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมโดยตกลงผ่อนชำระงวดที่1ถึงงวดที่5งวดละ27,800บาทงวดที่6จำนวน26,642.41บาทงวดที่7จำนวน47,450บาทแล้วลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายจำนวน22,950บาทรวมทั้งหมด57งวดถือได้ว่าบ. ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามมาตรา193/33(2) โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้บ. ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันที่9มกราคม2523แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเมื่อวันที่7กรกฎาคม2531ภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและที่บ.ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความแล้วเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ.ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง สำหรับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนั้นถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ.ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส. บิดาจำเลยที่3ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2075/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินและการผ่อนชำระงวด การสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
การที่บ. ผ่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนตามตารางกำหนดชำระหนี้เงินกู้ของสัญญากู้ยืมลดหลั่นกันไปแต่ละเดือนจนถึงงวดสุดท้ายนั้นถือได้ว่าบ.ตกลงชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนเป็นงวดๆตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/33(2)สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ5ปีโจทก์ฟ้องคดีวันที่16พฤศจิกายน2536เป็นเวลาเกินกว่า5ปีนับแต่วันที่9มกราคม2523ซึ่งเป็นวันที่บ. ผิดนัดและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ทั้งหมดได้คดีโจทก์จึงขาดอายุความจำเลยที่1ที่2และส. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมถือตามอายุความของลูกหนี้เมื่อคดีเกี่ยวกับบ. ลูกหนี้ขาดอายุความแล้วคดีที่เกี่ยวกับจำเลยที่1ที่2และส.ผู้ค้ำประกันก็ย่อมขาดอายุความไปด้วย การที่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายภายหลังเวลาที่คดีขาดอายุความแล้วและการที่บ. ชำระหนี้แก่โจทก์ไปจำนวนหนึ่งนั้นก็เป็นการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ฉะนั้นการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของโจทก์และการที่บ. ชำระหนี้โจทก์ไปบางส่วนจึงไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาตามทุนทรัพย์ คดีที่ดินพิพาท
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวน เมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์ แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาพิพากษารวมกัน การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต้องถือตามทุนทรัพย์แต่ละสำนวนเมื่อทุนทรัพย์ที่ดินพิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยและผู้ร้องสอดไม่เกินสำนวนละ 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898-899/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องเป็นเหตุที่ไม่อาจกระทำได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนด
คำว่า"เหตุสุดวิสัย"ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23หมายถึงเหตุที่ทำให้ศาลไม่สามารถมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาหรือคู่ความมีคำขอเช่นนั้นขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งได้ซึ่งเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่จะกระทำให้ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่29กันยายน2538ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยหากจำเลยจะดำเนินคดีต่อไปให้วางค่าธรรมเนียมศาลภายใน10วันจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งวันที่9ตุลาคม2538ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อมาวันที่16ตุลาคม2538จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ออกไปมีกำหนด10วันอ้างว่าไม่ทราบคำสั่งที่ศาลไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยถือว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ที่จำเลยจะยกขึ้นมาอ้างเพื่อยื่นคำขอขยายระยะเวลาวางเงินภายหลังพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการพักงาน: ศาลพิพากษาเกินคำขอในส่วนค่ารักษาพยาบาล
ระเบียบจำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพ.ศ.2521ตอนที่2ข้อ16มีว่าให้งดจ่ายเงินเดือนพนักงานระหว่างที่ถูกสอบสวนและข้อ16.3มีว่าถ้าได้ความเป็นสัตย์จริงและพนักงานถูกลงโทษถึงเลิกจ้างมิให้จ่ายเงินเดือนตลอดเวลาที่ถูกสั่งพักงานข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนและจำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536และเมื่อวันที่19พฤศจิกายน2536ผลการสอบสวนปรากฎว่าโจทก์กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่12เมษายน2536อันเป็นวันแรกที่พักงานได้โดยไม่จำต้องเลิกจ้างล่วงหน้าหรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใดระเบียบจำเลยดังกล่าวข้อ16และข้อ16.3ใช้บังคับได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างถูกสั่งพักงานดังกล่าว ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในค้าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานกับค่าทนายความที่จำเลยอ้างว่าออกให้โจทก์ซึ่งไม่เป็นความจริงและมีคำขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าว5รายการให้แก่โจทก์ไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้กล่าวอ้างและมีคำขอเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลรวมอยู่ด้วยเพิ่งจะกล่าวถึงค่ารักษาพยาบาลก็ต่อเมื่อศาลแรงงานนัดสอบข้อเท็จจริงโจทก์โดยในวันเวลาดังกล่าวโจทก์จำเลยได้แถลงสละข้ออ้างและข้อต่อสู้สำหรับประเด็นอื่นทั้งหมดคงติดใจเฉพาะที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับเงินค่าทนายความค่าเครื่องแต่งกายค่าเบี้ยเลี้ยงประจำวันค่ารักษาพยาบาลและค่าจ้างระหว่างถูกพักงานดังนั้นค่ารักษาพยาบาลจึงเป็นเรื่องที่โจทก์มาแถลงเพิ่มเติมในภายหลังโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องหรือมีคำขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยคืนค่ารักษาพยาบาลให้แก่โจทก์จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่ขอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522มาตรา52
of 90