คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทน การให้สัตยาบัน และผลผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2จำเลยที่1ได้เคยขายบ้านซึ่งจำเลยที่2มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยแม้จำเลยที่2จะเบิกความว่าไม่ได้รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่1ขายบ้านดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบเรื่องขายบ้านแล้วก็มิได้ดำเนินการใดๆถือเป็นการยอมรับการจัดการของจำเลยที่1และในการจัดการดูแลรวมทั้งการขายที่ดินพิพาทจำเลยที่2ก็ปล่อยให้เป็นภาระการจัดการของจำเลยที่1โดยลำพังพฤติการณ์ของจำเลยที่2เช่นนี้เป็นการแสดงออกที่มีผลให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับรู้ถึงอำนาจการจัดการของจำเลยที่1เป็นการเชิดจำเลยที่1ให้กระทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเสมือนเป็นตัวการแม้ในสัญญาซื้อขายที่ดินจะมิได้ระบุว่าจำเลยที่1ได้กระทำไปในฐานะตัวแทนจำเลยที่2ก็ตามแต่จากพฤติการณ์ที่จำเลยที่1และที่2ปฏิบัติแสดงออกดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความเข้าใจว่าจำเลยที่1ทำการแทนจำเลยที่2โดยออกหน้าเป็นตัวการตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806นอกจากนี้ยังได้ความว่าจำเลยที่2ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทที่ได้รับจากโจทก์และมอบให้จำเลยที่1รับเงินตามเช็คไปแสดงชัดว่าเป็นการยอมรับผลแห่งสัญญาซื้อขายที่ดินที่จำเลยที่1เป็นผู้กระทำการแทนโดยออกหน้าเป็นตัวการถือได้ว่าจำเลยที่2เป็นตัวการที่มิได้เปิดเผยชื่อนั้นได้กลับแสดงตนให้ปรากฎและเข้ารับเอาสัญญาที่ตัวแทนได้ทำแทนตนนั้นแล้วทั้งยังมีผลเป็นการให้สัตยาบันแก่การกระทำของจำเลยที่1อีกด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823จำเลยที่2จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4254/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไล่ติดตามจับกุมผู้ต้องสงสัย การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน การพิสูจน์ข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานและวัตถุพยาน
คำเบิกความของโจทก์ร่วมที่ว่าตนเป็นฝ่ายเข้าไปแตะที่ข้อศอกจำเลยที่1ในขณะที่จำเลยที่1ขับรถจักรยานยนต์มาจอดที่ลานจอดรถและจากคำเบิกความของส. พยานโจทก์และโจทก์ร่วมที่เบิกความรับว่าได้ยินเสียงจำเลยที่1พูดขึ้นว่า"มึงจะกระตุกสร้อยกูหรือ"หลังจากนั้นโจทก์ร่วมก็วิ่งหนีจำเลยที่1วิ่งไล่ตามกรณีจึงเป็นการเจือสมพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามที่นำสืบได้ว่าโจทก์ร่วมมีพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจแก่จำเลยที่1ว่าโจทก์ร่วมเป็นคนร้ายที่จะประทุษร้ายจำเลยที่1จริงเมื่อจำเลยที่1วิ่งไล่โจทก์ร่วมไม่ทันก็ไปแจ้งเหตุต่อจำเลยที่2และที่3ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบอยู่บริเวณใกล้เคียงเสริมให้เห็นชัดถึงความเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ร่วมเป็นคนร้ายที่จำเลยที่2และที่3พบตัวโจทก์ร่วมภายหลังและทำการค้นตัวตลอดจนรอให้จำเลยที่1มาชี้ตัวโจทก์ร่วมแล้วจึงจับโจทก์ร่วมไว้นั้นจึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบปราศจากข้อระแวงสงสัยใดๆส่วนการนำตัวโจทก์ร่วมออกนอกเส้นทางที่จะไปสถานีตำรวจนั้นก็มีเหตุผลที่ต้องการจะติดตามขยายผลเพื่อจับพวกของโจทก์ร่วมที่ต้องสงสัยว่าร่วมกับโจทก์ร่วมกระทำผิดโดยมีการรายงานผู้บังคับบัญชารับทราบตามระเบียบปฏิบัติแล้วเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการปฏิบัติที่ชอบแล้ว ส่วนเหตุการณ์ที่โจทก์ร่วมนำสืบว่ามีการพูดว่าจะพาโจทก์ร่วมไปยิงทิ้งนั้นหากจำเลยทั้งสามมีความประสงค์เช่นนั้นจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องพูดให้โจทก์ร่วมรู้ตัวโดยเฉพาะเป็นการพูดต่อหน้าส. พวกของโจทก์ร่วมที่ขออาศัยรถไปด้วยจึงไม่มีน้ำหนักที่จะรับฟังเชื่อถือประกอบกับพฤติการณ์ของโจทก์ร่วมตั้งแต่เริ่มก่อเหตุถูกจำเลยที่1วิ่งไล่จับและภายหลังที่ได้รับบาดเจ็บแล้วไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่โรงแรมกลับอิดออดไม่ยอมแจ้งความจนกระทั่งเจ้าหน้าที่โรงแรมต้องเป็นผู้แจ้งเหตุเองล้วนแต่แสดงออกชัดถึงความไม่สุจริตของโจทก์ร่วมเป็นเหตุผลที่ชี้ให้เห็นว่าความจริงโจทก์ร่วมถือโอกาสที่รถยนต์ของเจ้าพนักงานตำรวจชะลอความเร็วกระโดดรถเพื่อหนีจากการควบคุมตัวของเจ้าพนักงานตำรวจมากกว่าหาได้มีการขู่จะยิงทิ้งดังที่อ้างไม่ ที่โจทก์ร่วมเบิกความถึงข้อเท็จจริงในขณะที่วิ่งหนีว่าโจทก์ร่วมกระโดดลงจากรถและล้มลงแล้วลุกขึ้นวิ่งหนีไปได้ถึง4ก้าวได้ยินเสียงปืนดังขึ้น1นัดโจทก์ร่วมหันไปดูแต่ไม่ทราบว่าใครยิงเป็นข้อเท็จจริงที่ขัดต่อวิสัยคนที่กำลังพยายามจะหนีเอาชีวิตรอดเมื่อได้ยินเสียงปืนแทนที่จะรีบเร่งหนียิ่งขึ้นกลับใจเย็นพอที่จะหันไปดูแต่ก็ไม่ทราบว่าใครเป็นคนยิงอีกเป็นคำเบิกความที่เชื่อไม่ได้โจทก์ร่วมยังเบิกความว่าวิ่งต่อไปอีก10ก้าวได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีก1นัดกระสุนปืนถูกบริเวณเหนือข้อมือซ้ายโจทก์ร่วมล้มลงแล้วก็ลุกขึ้นวิ่งหนีและได้ยินเสียงปืนดังขึ้นอีก1นัดจึงได้กระโดดหน้าผาหลบหนีคำเบิกความของโจทก์ร่วมจำได้ละเอียดละออถึงขนาดจำนวนก้าวของการวิ่งลำดับเหตุการณ์เป็นขั้นเป็นตอนทุกระยะผิดวิสัยคนที่อยู่ในระหว่างตกใจและวิ่งหนีเพื่อเอาชีวิตรอดนั้นจะสามารถจำและสาธยายเหตุการณ์ได้ละเอียดถึงปานนั้นและแม้ส. พวกของโจทก์ร่วมที่นั่งอยู่บนรถในขณะเกิดเหตุจะเบิกความว่าจำเลยที่1เป็นผู้ยิงปืนทั้งสามนัดในขณะนั่งอยู่บนรถแต่จากแผนที่แสดงสถานที่เกิดเหตุพบรอยเลือดจุดแรกอยู่ใกล้ๆกับปลอกกระสุนปืนที่ตกอยู่รวม2ปลอกอยู่ห่างและคนละฟากถนนกับเส้นทางของรถยนต์ที่อ้างว่าจำเลยที่1นั่งและยิงปืนปรากฎว่าอาวุธปืนของกลางเป็นแบบออโตเมติกเมื่อมีการยิงแล้วปลอกกระสุนน่าจะสลัดตกอยู่บริเวณใกล้ๆจุดที่ยิงดังนี้จากวัตถุพยานที่ปรากฎจึงชี้ชัดว่าที่โจทก์ร่วมและส. ยืนยันว่าจำเลยที่1ยิงปืนในขณะที่อยู่บนรถยนต์นั้นไม่ตรงต่อความเป็นจริงตรงกันข้ามเป็นการยิงในระยะใกล้ประชิดตัวมากกว่าเมื่อนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิเคราะห์ประกอบกับคำให้การของโจทก์ร่วมในชั้นสอบสวนที่มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมอยู่หลายครั้งหลายคราวส่อให้เห็นถึงความไม่ยึดมั่นต่อความจริงมุ่งจะเสริมแต่งข้อเท็จจริงเพื่อปรักปรำจำเลยทั้งสามมากกว่าพยานหลักฐานโจทก์และโจทก์ร่วมที่นำสืบนอกจากจะเชื่อถือไม่ได้แล้วยังกลับไปเจือสมข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำเลยที่1ได้วิ่งไล่จับโจทก์ร่วมและมีการกอดปล้ำกันเป็นเหตุให้ปืนลั่นถูกโจทก์ร่วมมากกว่าหาใช่การยิงโดยมีเจตนาฆ่าไม่จำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมและจำเลยที่2และที่3ไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่อการหมิ่นประมาทจากบทสัมภาษณ์ แม้ไม่มีเจตนา
แม้จำเลยที่1จะ ไม่มี เจตนา หมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ข้อความไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองนั้นก็ตามแต่เมื่อหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยที่1เป็น บรรณาธิการลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจำเลยที่1ก็ย่อมมีความผิดในฐานะเป็น ตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์พ.ศ.2484มาตรา48 ศาลล่างลงโทษปรับจำเลยทั้งสองตาม อัตราโทษของกฎหมายที่ใช้บังคับภายหลังการกระทำผิดซึ่งมีโทษปรับสูงกว่ากฎหมายเดิมจึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองและไม่อาจนำกฎหมายดังกล่าวมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองได้ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3992/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต้องรับผิดในฐานะตัวการ หากลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาท แม้จะไม่มีเจตนา
จำเลยที่ 2 ให้สัมภาษณ์และได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดังกล่าวต้องรับผิดเป็นตัวการตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 แม้จำเลยที่ 1จะไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมและลงพิมพ์ไปตามคำสัมภาษณ์ของจำเลยที่ 2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบความเป็นไปในพรรคการเมืองก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและการพิพากษาคดีหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้ โดยจำเลยบางฝ่ายขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานบอกเล่า & อำนาจศาลอุทธรณ์ - กรณีจำเลยขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่า หากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล ศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและผลของการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีละเมิด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าหากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่3จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1และที่2ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานบอกเล่าและอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิพากษาคดีที่จำเลยขาดนัด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา95มิได้ห้ามโดยเด็ดขาดมิให้รับฟังพยานบอกเล่าหากพยานบอกเล่ากล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผลศาลย่อมใช้ดุลพินิจรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวนั้นประกอบพยานหลักฐานอื่นได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดอันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหตุที่เกิดเพลิงไหม้ไม่ได้เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นเจ้าของผู้ครอบครองเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์แม้จำเลยที่3จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่1และที่2ซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การขาดนัดพิจารณาและมิได้อุทธรณ์ด้วยได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับเวลาราชการต่อเนื่องหลังลาออกและกลับเข้ารับราชการใหม่: การปฏิบัติตามมาตรา 30 พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ
แม้การขอกลับเข้ารับราชการใหม่กับการบอกเลิกรับบำนาญจะเป็นคนละเรื่องกันแต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองดังกล่าวพร้อมกันทั้งตามบทบัญญัติในมาตรา30วรรคสี่และวรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ.2494ก็ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใดการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับการยื่นหนังสือขอกลับเข้ารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมเจ้าสังกัดมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการใหม่เสียก่อนก็หาขัดต่อมาตรา30วรรคสี่ไม่ มาตรา30วรรคห้าบัญญัติเพียงว่าการบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังโดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดมิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วโจทก์จึงได้ปฏิบัติตามมาตรา30วรรคห้าแล้วจำเลยทั้งสองจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุราชการต่อเนื่องหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ โดยการบอกเลิกรับบำนาญยื่นพร้อมกับการขอกลับเข้ารับราชการ
การขอกลับเข้ามารับราชการใหม่ของโจทก์กับการบอกเลิก รับบำนาญเป็นคนละเรื่องกัน แต่ก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้ยื่นเรื่องทั้งสองพร้อมกัน ทั้งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2495 มาตรา 33 วรรคสี่และวรรคห้าก็ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญตั้งแต่เมื่อใด การที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญพร้อมกับหนังสือขอกลับเข้ามารับราชการใหม่โดยไม่รอให้กรมการปกครองที่โจทก์สังกัดอยู่เดิมมีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เสียก่อนจึงไม่ขัดต่อมาตรา 30 วรรคสี่ พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494มาตรา 30 วรรคห้า บัญญัติเพียงว่า การบอกเลิกรับบำนาญให้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อเป็นหลักฐานส่งไปยังกระทรวงการคลังจำเลย โดยผ่านกระทรวงเจ้าสังกัด มิได้กำหนดว่าต้องยื่นต่อกองคลังในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัด การที่โจทก์ยื่นหนังสือการบอกเลิกรับบำนาญต่อผู้อำนวยการกองอัตรากำลังและส่งเสริมสมรรถภาพภายในกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดของโจทก์ต้องถือว่าเป็นการยื่นผ่านกระทรวงเจ้าสังกัดแล้ว จำเลยจึงต้องนับเวลาราชการช่วงแรกของโจทก์รวมกับเวลาราชการช่วงที่โจทก์กลับเข้ามารับราชการใหม่เพื่อคำนวณบำนาญให้แก่โจทก์
of 54