คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างมาตราในคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการอ้างมาตราที่แก้ไขใหม่ตามกฎหมายฉบับแก้ไข ถือเป็นการอ้างมาตราเดิมที่ถูกต้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา92แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522อันเป็นกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการเสพกัญชาเป็นความผิดแต่โจทก์ได้อ้างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528มาตรา9ซึ่งเป็นบทที่ให้ยกเลิกมาตรา92เดิมและให้ใช้มาตรา92ใหม่แทนถือว่าโจทก์ได้อ้างมาตรา92ที่แก้ไขใหม่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(6)แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างมาตรากฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ และการไม่รอการลงโทษในความผิดฐานเสพยา
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา92แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522ไว้แต่โจทก์ก็ได้อ้างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528มาตรา9ซึ่งเป็นบทที่ให้ยกเลิกมาตรา92แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522และให้ใช้มาตรา92ใหม่แทนการอ้างถึงมาตรา9แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528ก็คือการอ้างถึงมาตร92ที่แก้ไขใหม่แล้วนั่นเองถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการเสพกัญชาเป็นความผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(6)แล้ว ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้นโจทก์ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเสพกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมายจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2725/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างมาตรา 92 พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ที่แก้ไขใหม่ และฎีกาที่ไม่ชัดเจนเรื่องการรอการลงโทษ
แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 92 แห่งพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไว้ แต่โจทก์ก็ได้อ้าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528 มาตรา 9 ซึ่งเป็นบทที่ให้ยกเลิก มาตรา 92แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้มาตรา 92 ใหม่แทนการอ้างถึงมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2528ก็คือการอ้างถึง มาตรา 92 ที่แก้ไขใหม่แล้วนั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการเสพกัญชาเป็นความผิด ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6) แล้ว
ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น โจทก์ไม่ได้ให้เหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลยในความผิดฐานร่วมกันเสพกัญชาโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนการใช้ทางร่วม และสิทธิการใช้ทางเมื่อมีการปลูกสร้างอาคาร
ทางพิพาทกว้าง3เมตรเกิดขึ้นจากการที่ส. และจำเลยได้ตกลงกันเว้นที่ดินบริเวณที่มีแนวเขตติดกันในที่ดินของแต่ละฝ่ายกว้าง1.50เมตรยาวตลอดแนวเขตที่ดินที่ติดกันเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกซอยจรัญสนิทวงศ์46 และทางพิพาทดังกล่าวมีมาตั้งแต่ปี2508บุคคลที่ซื้อที่ดินจากส. ซึ่งรวมทั้งโจทก์ต่างก็ตกลงยอมให้ที่ดินของตนส่วนที่ส. ให้เว้นไว้เป็นทางใช้เป็นทางได้เมื่อโจทก์เข้ามาอยู่ในที่ดินที่ซื้อจากส. และปลูกบ้านอยู่อาศัยมาเป็นเวลา10ปีเศษก็ได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกซอยดังกล่าวตลอดมาส่วนจำเลยและบุคคลที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยก็ได้ใช้ทางพิพาทเข้าออกซอยนั้นเช่นเดียวกันข้อตกลงระหว่างส.กับจำเลยเช่นนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ให้อีกฝ่ายหนึ่งใช้ที่ดินของตนเป็นทางได้จึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมายต่อมาเมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากส. ก็ได้ยอมรับข้อตกลงดังกล่าวและหลังจากที่โจทก์เข้ามาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่ซื้อจากส. โจทก์ก็ได้ใช้ทางพิพาทมาเป็นเวลา10ปีเศษโดยจำเลยไม่เคยโต้แย้งห้ามปรามและจำเลยก็ยังใช้ทางพิพาทซึ่งต้องผ่านที่ดินของโจทก์เหมือนเดิมจึงต้องถือว่าจำเลยได้ตกลงกับโจทก์โดยปริยายให้โจทก์ใช้ทางพิพาทในที่ดินส่วนที่เป็นของจำเลยและให้จำเลยใช้ทางพิพาทในที่ดินส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งก็เป็นสัญญาต่างตอบแทนเช่นเดียวกับที่จำเลยตกลงกับส. ดังนั้นแม้จะฟังไม่ได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจำเลยก็จะปิดกั้นทางพิพาทในส่วนที่เป็นที่ดินของจำเลยไม่ให้โจทก์ใช้อันถือว่าเป็นการเลิกสัญญาต่างตอบแทนโดยโจทก์ไม่ยินยอมและไม่ได้กระทำการใดๆที่จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และการชำระหนี้หลังมีคำพิพากษา ศาลชั้นต้นไม่ต้องส่งสำนวนคืน
เมื่อศาลอุทธรณ์ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วได้ส่งคำพิพากษาพร้อมสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอ่านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา209เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะดำเนินการให้มีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา182ต่อไปการที่มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา182ต่อไปการที่มีการเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปเป็นระยะๆ และจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมไปบ้างแล้วเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นใหม่ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาใหม่เพราะหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นยังไม่สิ้นผลผูกพันการที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปโดยมิได้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์พร้อมทั้งรายงานการชำระหนี้ของจำเลยให้ศาลอุทธรณ์ทราบจึงหาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองจริง vs. ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส.เมื่อส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อการจำนอง
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของส. เมื่อส.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ช. มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอดผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองตามกฎหมาย แม้ชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะเป็นชื่ออื่น
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของส. เมื่อส. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ช. มารดาของผู้ร้องต่อมาช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอดผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไปการที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตามก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา705จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินของผู้ครอบครองโดยชอบธรรม vs. ผู้รับจำนองโดยสุจริต: สิทธิครอบครองที่ชอบธรรมย่อมเหนือกว่า
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ส. เมื่อ ส.ถึงแก่กรรม ที่ดินพิพาทตกได้แก่ ช.มารดาของผู้ร้อง ต่อมา ช.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทตกได้แก่ผู้ร้องและผู้ร้องได้ยึดถือครอบครองมาโดยตลอด ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท แม้ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์จะมีชื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้นว่าจำเลยมีสิทธิเช่นนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ข้อสันนิษฐานตามมาตราดังกล่าวย่อมตกไป การที่จำเลยซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทนำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่โจทก์ แม้โจทก์จะรับจำนองไว้โดยสุจริตก็ตาม ก็หามีผลให้โจทก์มีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับจำนองไม่ เพราะขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 705 จึงต้องปล่อยทรัพย์พิพาทไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจตัวแทนโจทก์ต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์"โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใดการที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อนเป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้นเมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัยการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่าพนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ.2498มาตรา11(2)กำหนดไว้ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 54