คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษ โจทก์ร่วมไม่ได้ขอให้แก้ไขคำพิพากษา
คดีนี้โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา390และศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าในความผิดดังกล่าวให้รอการลงโทษจำคุกไว้และให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยโจทก์ร่วมฎีกาว่าเหตุรถชนกันมิใช่เพราะโจทก์ร่วมและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วและต่างขับล้ำเข้าไปในช่องทางของอีกฝ่ายหนึ่งดังที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาแต่เป็นเพราะจำเลยขับรถด้วยความเร็วล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียวดังนี้แม้การพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นของศาลอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงว่าทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งแต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยซึ่งโจทก์ร่วมมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์การวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ร่วมย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปฎีกาของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่เป็นสาระ – ศาลอุทธรณ์แก้โทษจำเลย โจทก์ร่วมฎีกาเรื่องข้อเท็จจริง แต่ไม่กระทบผลคดี
คดีนี้โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการเฉพาะในข้อหากระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายตาม ป.อ.มาตรา 390 และศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าในความผิดดังกล่าว ให้รอการลงโทษจำคุกไว้และให้ลงโทษปรับจำเลยด้วย โจทก์ร่วมฎีกาว่า เหตุรถชนกันมิใช่เพราะโจทก์ร่วมและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วและต่างขับล้ำเข้าไปในช่องทางของอีกฝ่ายหนึ่งดังที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา แต่เป็นเพราะจำเลยขับรถด้วยความเร็วล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ร่วมแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนี้ แม้การพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จะฟังข้อเท็จจริงว่าทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยต่างขับรถด้วยความเร็วล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยซึ่งโจทก์ร่วมมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ การวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ร่วมย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปฎีกาของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2048/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากโต้แย้งการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์เฉพาะโทษ ไม่ใช่คำพิพากษาทั้งหมด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำคุกและปรับแต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้การที่โจทก์ร่วมฎีกาว่าจำเลยขับรถเร็วล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ร่วมฝ่ายเดียวมิใช่ต่างฝ่ายต่างขับรถเร็วและต่างล้ำเข้าไปในช่องเดินรถของอีกฝ่ายหนึ่งดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยโจทก์ร่วมมิได้ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เช่นนี้ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถยนต์ ชนรถจักรยานยนต์ ผู้ตายจอดรอข้ามถนน ศาลลงโทษฐานประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังโดยเร่งความเร็วแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายเป็นผู้ขับโดยมิได้ให้สัญญาณเตือนขณะนั้นมีรถยนต์ขับสวนมาจำเลยไม่สามารถขับรถยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้พ้นจำเลยบังคับรถยนต์ของตนหลบรถยนต์ที่แล่นสวนทางมาเป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับแต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่าผู้ตายจอดรถจักรยานยนต์อยู่ที่ริมถนนด้านซ้ายมือเพื่อจะข้ามถนนไปเติมน้ำมันข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธลอยๆจึงมิได้หลงต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง โจทก์นำสืบต่างจากให้การ จำเลยไม่โต้แย้ง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์ด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง โดยเร่งความเร็วแซงรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายเป็นผู้ขับโดยมิได้ให้สัญญาณเตือน ขณะนั้นมีรถยนต์ขับสวนมา จำเลยไม่สามารถขับรถยนต์แซงรถจักรยานยนต์ของผู้ตายได้พ้น จำเลยบังคับรถยนต์ของตนหลบรถยนต์ที่แล่นสวนทางมา เป็นเหตุให้รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับ แต่ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า ผู้ตายจอดรถจักรยานยนต์อยู่ที่ริมถนนด้านซ้ายมือเพื่อจะข้ามถนนไปเติมน้ำมัน ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียด ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธลอย ๆ จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากพฤติการณ์พิเศษ – โจทก์ต้องพิสูจน์ความเสียหายเฉพาะเจาะจง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า การที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ 10,000 บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใด คงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ 10,000 บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพง จำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวปิกเมตรละ30,000 บาทเศษ เท่านั้น ซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม้สักแปรรูป: ความรับผิดจากผิดสัญญาและการเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าไม้สักแปรรูปแก่โจทก์ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันจะพึงได้รับอีกวันละ10,000บาทเป็นกรณีที่โจทก์เรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นถึงพฤติการณ์พิเศษที่เป็นเหตุให้โจทก์ต้องขาดประโยชน์ดังกล่าวแต่อย่างใดคงนำสืบแต่เพียงว่าเหตุที่โจทก์เรียกค่าเสียหายวันละ10,000บาทเพราะไม้สักแปรรูปเป็นไม้ราคาแพงจำเลยนำออกขายตามท้องตลาดได้ถึงคิวบิกเมตรละ30,000บาทเศษเท่านั้นซึ่งหาใช่ความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับรถบรรทุก, ความเร็ว, สภาพถนน, และการประเมินค่าเสียหาย
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 2 (1) (ก) กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100 เมตร และตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 1 (1) กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตร รถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน 1,200กิโลกรัม จำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร จำเลยจะต้องมองเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า 100 เมตร เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมา ซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้ จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อ ถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ 80 กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้ง ซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่า รถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อม โจทก์ตีราคาเองสูงเกินไป ตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา 90,000 บาท นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อในการขับรถบรรทุกเกินความเร็วและไม่ระมัดระวังในภาวะฝนตกและทางโค้ง ทำให้เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสาร
ตามกฎกระทรวงฉบับที่2(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ2(1)(ก)กำหนดให้รถยนต์ต้องมีโคมไฟแสงพุ่งไกลหน้ารถมีแสงสว่างให้เห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรและตามกฎกระทรวงฉบับที่6(พ.ศ.2522)ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522ข้อ1(1)กำหนดให้รถยนต์บรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน1,200กิโลกรัมใช้ความเร็วนอกเขตกรุงเทพมหานครเขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับรถบรรทุกมันอัดเม็ดรวมน้ำหนักของมันอัดเม็ดและน้ำหนักรถเกิน1,200กิโลกรัมจำเลยจึงต้องขับรถยนต์บรรทุกด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรและถ้าโคมไฟแสงพุ่งไกลของรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับมีแสงสว่างเห็นพื้นทางได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรจำเลยจะต้องมอบเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในระยะไม่น้อยกว่า100เมตรเมื่อจำเลยเห็นรถยนต์โดยสารจอดอยู่ในขณะเดียวกันมีรถยนต์บรรทุกแล่นสวนมาซึ่งจำเลยไม่อาจจะหักหลบรถยนต์โดยสารได้จำเลยก็ต้องเหยียบห้ามล้อถ้าจำเลยขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วไม่เกินชั่วโมงละ80กิโลเมตรรถยนต์บรรทุกก็ย่อมจะหยุดได้โดยไม่เฉี่ยวชนรถยนต์โดยสารการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกมาด้วยความเร็วมากมีฝนตกและเป็นทางโค้งซึ่งโดยวิสัยของผู้ขับรถจะต้องชะลอความเร็วของรถลงกว่าปกติแต่จำเลยที่1หาได้ชะลอความเร็วของรถยนต์บรรทุกไม่เป็นการไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในภาวะเช่นนั้นจำเลยที่1จึงมีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย ที่จำเลยทั้งสองฎีกาในเรื่องค่าเสียหายว่ารถยนต์โดยสารของโจทก์ไม่ได้ซ่อมโจทก์ตีราคาเองสูงเกินไปตามสภาพรถยนต์โดยสารสามารถซ่อมได้ในราคา90,000บาทนั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองดังกล่าวไม่ได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 54