พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9341/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริง & การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนรับฎีกาตามมาตรา 248 และ 243(2) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคู่ความยื่น ฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 แล้วศาลชั้นต้นต้องส่งฎีกาไปให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของผู้ฎีกาก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยสั่งในฎีกาด้วยว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิได้ดำเนินการตามที่ผู้ยื่นฎีการ้องขอ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาจึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9341/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาต้องรอคำสั่งรับรองจากผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อน มิฉะนั้นคำสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
คดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคู่ความยื่นฎีกาพร้อมกับคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์รับรองฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 248 แล้ว ศาลชั้นต้นต้องส่งฎีกาไปให้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งคำร้องของผู้ฎีกาก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งต่อไปได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาดังกล่าวโดยสั่งในฎีกาด้วยว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมิได้ดำเนินการตามที่ผู้ยื่นฎีการ้องขอ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับฎีกาจึงไม่ชอบด้วยเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าตึกแถวและการผูกพันตามสัญญาเช่าของผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาด
หนังสือสัญญาเช่า หนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่า และผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น (ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน 8 คูหา พร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร อีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ 6 เมตร ความยาวประมาณ 30 เมตร และตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่า ปลูกอยู่ในที่ดินของ ศ. และ ล.โฉนดที่ 1593 ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่ จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ที่ดิน มาตรา 71 (1) แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตาม แต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่า ผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้ว การที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่ การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วย ป. ที่ดิน มาตรา 71 (2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย
ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้ และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดย ศ.และ ล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.จริงเช่นนี้ ก็ย่อมฟังได้ว่า ศ.และ ล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ ย.จริง ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการ เช่น ขาย จำนอง จำนำ ฯลฯ รวมทั้งให้เช่าด้วย ย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า ย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อฟังได้ว่า ย.ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือ ศ.และ ล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น ๆ อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
ศ.และ ล.ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาท ทั้งเมื่อ ศ.และ ล. กับ ย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาด ซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี 2522 มีกำหนด 30 ปี ล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกผันตามสัญญาเช่าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ล.ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง ซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว การที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่าง ๆ มาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้ และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดย ศ.และ ล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ย.จริงเช่นนี้ ก็ย่อมฟังได้ว่า ศ.และ ล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ ย.จริง ซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการ เช่น ขาย จำนอง จำนำ ฯลฯ รวมทั้งให้เช่าด้วย ย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่า ย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้น เมื่อฟังได้ว่า ย.ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือ ศ.และ ล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น ๆ อีก เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
ศ.และ ล.ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่า ย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาท ทั้งเมื่อ ศ.และ ล. กับ ย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่ 1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาด ซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า ตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี 2522 มีกำหนด 30 ปี ล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกผันตามสัญญาเช่าดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจาก ล.ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของ ล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 569 วรรคสอง ซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้ว การที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่าง ๆ มาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9199/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าอสังหาริมทรัพย์: การจดทะเบียนการเช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และผลของการโอนสิทธิสัญญาเช่า
หนังสือสัญญาเช่าหนังสือการจดทะเบียนการเช่ามีข้อความว่าผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงเช่าตึกแถวสองชั้น(ชั้นล่างและชั้นสอง)จำนวน8คูหาพร้อมหน้าบ้านด้านหนึ่งกว้างประมาณ4เมตรอีกด้านหนึ่งกว้างประมาณ6เมตรความยาวประมาณ30เมตรและตามหลักฐานการจดทะเบียนการเช่าก็มีข้อความระบุไว้ในทำนองเดียวกันทั้งยังมีข้อความเพิ่มเติมว่าปลูกอยู่ในที่ดินของศ. และล. โฉนดที่1593ตามข้อความในสัญญาเช่าและหลักฐานการจดทะเบียนดังกล่าวเห็นได้ชัดแจ้งว่าคู่สัญญาไม่ได้ให้เช่าและเช่าที่ดินซึ่งตึกแถวปลูกอยู่จึงไม่ใช่เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในที่ดินรวมกับที่ดินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลที่ดินมาตรา71(1)แม้ตามสัญญาเช่าระบุว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็ตามแต่บริเวณหน้าตึกแถวแม้จะไม่กล่าวถึงไว้ในสัญญาเช่าผู้เช่าก็ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ได้อยู่แล้วการที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าว่ามีการเช่าบริเวณหน้าตึกแถวด้วยก็หาทำให้การเช่าดังกล่าวกลายเป็นการเช่าตึกแถวในที่ดินรวมกับที่ดินไม่การที่คู่สัญญาไปจดทะเบียนการเช่าที่สำนักงานเขตย่อมชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา71(2)การจดทะเบียนการเช่าจึงชอบด้วยกฎหมาย ล.เบิกความไว้ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นยอมรับว่าได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.เป็นผู้จัดการผลประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตลอดจนทรัพย์สินอื่นของตนได้และยังปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นอีกว่าโจทก์ยอมรับว่าได้มีการทำหนังสือมอบอำนาจโดยศ. และล.ทำหนังสือมอบอำนาจให้ย.จริงเช่นนี้ก็ย่อมฟังได้ว่าศ.และล.ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่ย.จริงซึ่งตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ย.มีอำนาจทำกิจการเฉพาะอย่างได้หลายประการเช่นขายจำนองจำนำฯลฯรวมทั้งให้เช่าด้วยย.จึงมีอำนาจให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทได้ ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าย.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารที่แท้จริงเท่านั้นเมื่อฟังได้ว่าย. ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินและเจ้าของอาคารคือศ. และล.แล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นๆอีกเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ศ. และล. ไม่เคยกล่าวอ้างเลยว่าย.ไม่มีอำนาจให้เช่าตึกแถวพิพาททั้งเมื่อศ. และล.กับย.มีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่1593และตึกแถวพิพาทจนต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลในที่สุดได้มีการนำที่ดินและตึกแถวพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งตามประกาศการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าตึกแถวพิพาทมีการจดทะเบียนและนิติกรรมการเช่าตั้งแต่ปี2522มีกำหนด30ปีล.เป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากล. ก็ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของล.ซึ่งมีต่อจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองซึ่งโจทก์น่าจะรู้ดีอยู่แล้วการที่โจทก์พยายามอ้างเหตุต่างๆมาฟ้องขับไล่จำเลยน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลและความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8059/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจทิ้งร้างคู่สมรส: เหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีแยกไปพักตามลำพังเนื่องจากสามีภริยาทะเลาะกันโดยมีสาเหตุเกิดแต่สามีเป็นสำคัญและภริยามิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับสามีเป็นกรณีที่สามีจงใจทิ้งร้างภริยาไปฝ่ายเดียวมิใช่สามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1516(4/2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8059/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกกันอยู่จากสาเหตุฝ่ายสามีเป็นหลัก ถือเป็นการทิ้งร้าง
การที่สามีแยกไปพักตามลำพังเนื่องจากสามีภริยาทะเลาะกันโดยมีสาเหตุเกิดแต่สามีเป็นสำคัญและภริยามิได้สมัครใจแยกกันอยู่กับสามี เป็นกรณีที่สามีจงใจทิ้งร้างภริยาไปฝ่ายเดียว มิใช่สามีภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1516 (4/2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลถึงที่สุดและผลกระทบต่อคำร้องใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริต เมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน ให้ยกคำร้อง เท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น เมื่อมิได้อุทธรณ์ คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 229การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้ว่าคำสั่งศาลเดิมที่เป็นที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเปลี่ยนแปลงด้วยคำร้องใหม่ แม้มีเหตุเพิ่มเติม
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริต เมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน ให้ยกคำร้อง เท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้น เมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา 147 วรรคสอง และมาตรา 229 การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริต ก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้ว จึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริตเมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนให้ยกคำร้องเท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้นเมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา147วรรคสองและมาตรา229การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริตก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้วจึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากป่วยและการดำเนินการตามขั้นตอนของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาศาลแล้วยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไปวินิจฉัยว่าจำเลยจงใจขาดนัดพิจารณา โดยไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่ามีเหตุสมควรที่จะให้จำเลยเลื่อนการพิจารณาและศาลชั้นต้นควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต่อไปหรือไม่เป็นการไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41ถ้ามีการเลื่อนการพิจารณาโดยอ้างว่าผู้ใดไม่สามารถมาศาลได้เพราะเจ็บป่วยหากศาลไม่เชื่อว่าเป็นความจริงก็จะต้องมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานไปตรวจและรายงานให้ศาลทราบเสียก่อน จึงจะสั่งให้อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เลื่อนการพิจารณา การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องขอเลื่อนการไต่สวนคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยแล้วมีคำสั่งว่า ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้เป็นการข้ามขั้นตอน จึงไม่ชอบด้วยมาตรา 41