พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7422/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์พ้นกรอบ 10 ปี มาตรา 271 ว.พ.พ. ไม่อาจอาศัยหมายบังคับคดีอื่น
การขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เป็นวิธีการบังคับคดีที่โจทก์ในคดีอื่นสามารถยื่นคำขอเข้ามาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290เป็นวิธีการบังคับคดีอย่างหนึ่งที่แตกต่างกับการบังคับคดีด้วยการยึดทรัพย์และขายทอดตลาดซึ่งเป็นวิธีการที่กำหนดในหมายบังคับคดีในคดีอื่นตามมาตรา275(3)คำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องในคดีนี้จึงนอกเหนือจากและมิอาจอาศัยตามหมายบังคับคดีที่ออกตามคำพิพากษาในคดีอื่นนั้นผู้ร้องเพิ่มมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาในคดีอื่นนั้นแล้วจึงไม่ชอบด้วยมาตรา271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7295/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์ในการเพิกถอนคำบังคับที่ไม่ถูกต้องตามคำพิพากษา และการกักขังแทนค่าปรับ
อำนาจของศาลที่จะเพิกถอนหรือมีคำสั่งในเรื่องการบังคับตามบทบัญญัติในมาตรา 27 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น หาใช่อำนาจของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะไม่ ดังนั้นเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการออกคำบังคับของศาลชั้นต้นไม่ได้เป็นไปตามคำพิพากษา ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะเพิกถอนคำบังคับตามคำพิพากษาดังกล่าวแล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน109,663,779.20 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา29, 30 โดยออกหมายกักขังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีกำหนด 2 ปีแทนค่าปรับ ก็ต้องถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับจำนวน 109,663,779.20 บาท ครบกำหนด2 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีก
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองเป็นเงิน109,663,779.20 บาท ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา29, 30 โดยออกหมายกักขังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีกำหนด 2 ปีแทนค่าปรับ ก็ต้องถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อจำเลยที่ 2 ถูกกักขังแทนค่าปรับจำนวน 109,663,779.20 บาท ครบกำหนด2 ปี ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงไม่ต้องชำระค่าปรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7152/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าพนักงาน – การยึดของกลางที่ไม่ถูกต้อง
ส.ต.ต. ส.กับพวกแต่งกายในเครื่องแบบร่วมกันไปจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไฮโลว์ ก่อนไปจับกุมได้ไปขอแบ่งรายได้ที่เก็บจากการเล่นการพนันดังกล่าวจาก ก. ก.ปฏิเสธ ส.ต.ต. ส.ก็พูดจาในทำนองข่มขู่ ต่อจากนั้นได้ไปยังบริเวณที่มีการเล่นการพนันกัน เมื่อไปถึง ส.ต.ต. ส.ได้ร้องตะโกนให้พวกเล่นการพนันวิ่งหนีโดยไม่ได้เข้าจับกุมบุคคลเหล่านั้น แต่ได้ยึดเครื่องมือที่ใช้เล่นการพนันและเงินสดโดยไม่ได้ทำบันทึกการยึดของกลางไว้ การกระทำของส.ต.ต. ส.กับพวกหาใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่หรือกระทำการตามหน้าที่หรือกระทำการตามหน้าที่ในการเข้าจับกุมผู้ลักลอบเล่นการพนันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีมรดก: พินัยกรรม, ใบมอบอำนาจ, ผู้จัดการมรดก, และการรับฟังพยานหลักฐาน
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ส. ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ล. โดยขอให้ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส. ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วยเท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส. ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชายบ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส. ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตามลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล. และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้ เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส. ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส. กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้นเอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้นแม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตามก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้ คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรม การจัดการมรดก และความสัมพันธ์ระหว่างผู้รับพินัยกรรมและทายาท
เนื้อหาของเอกสารพิพาทเป็นจดหมายที่ผู้ตายแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.โดยขอให้ ส.เป็นพยานคนที่สองด้วยและเมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายก็ขอให้ ส.ช่วยดูแลให้ ล.เก็บรักษาทรัพย์สินส่วนใหญ่ของผู้ตายไว้ให้เด็กชาย บ.ด้วย เท่ากับเป็นการฝากฝังให้ ส.ช่วยดูแลทรัพย์สินตามพินัยกรรมที่ทำไว้แล้วให้แก่เด็กชาย บ. ตามเอกสารพิพาทนี้แสดงว่ามีพินัยกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ขอให้ ส.ช่วยเป็นพยานในพินัยกรรมอีกคนหนึ่ง ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายเขียนเอกสารพิพาทขึ้นเองทั้งฉบับก็ตาม ลำพังเอกสารดังกล่าวหาใช่เป็นพินัยกรรมของผู้ตายไม่ เป็นเพียงการแจ้งให้ ส.ทราบว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมมอบทรัพย์สินทั้งหมดให้ ล.และขอให้ ส.ช่วยดูแลด้วยเท่านั้น
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้
เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส.ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส.กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้น เอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการตาง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1 และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1 ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้
คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้ผู้ร้องเพิ่งจะอ้างเอกสารที่อ้างว่าเป็นพินัยกรรมที่ผู้ร้องเพิ่งค้นพบภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคดีนี้มาท้ายอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังได้
เอกสารพิพาทมีข้อความระบุว่าเป็นใบมอบอำนาจเขียนขึ้นด้วยลายมือผู้ตายเอง แสดงเจตนาขอยกทรัพย์ทุกอย่างที่มีอยู่ให้แก่ ส.ผู้เป็นภริยา และว่า นิติกรรมอันใดที่ ส.กระทำให้ถือว่าผู้ตายได้กระทำเองโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆทั้งสิ้น และลงชื่อผู้ตายไว้นั้น เอกสารดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นพินัยกรรม เพราะมิได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการตาง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตาย ดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้ตายทำเอกสารดังกล่าวขึ้นไว้ก็ตาม ก็ไม่มีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย
ตามคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 กล่าวถึงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ตายให้ผู้คัดค้านที่ 1 และกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 1 ว่ามีบุตรด้วยกัน 2 คน ขอให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายในฐานะผู้รับพินัยกรรมหรือในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสอง คำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เป็นการขัดกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของผู้คัดค้านที่ 1 ถึงขนาดที่จะพิจารณาคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ได้
คำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพียงแต่บรรยายให้ศาลเห็นว่า ผู้ร้องมีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายและมีเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก เพื่อแสดงถึงความจำเป็นที่จะต้องร้องขอให้ศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนทรัพย์มรดกและทายาทมีอยู่อย่างไรเป็นขั้นตอนในชั้นจัดการมรดก แม้คำร้องขอระบุทรัพย์มรดกและทายาทของผู้ตายไม่ครบถ้วน ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริตไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิดพนักงานรัฐ: ละเว้นหน้าที่โดยทุจริต vs. ความรับผิดทางอาญาและแพ่ง
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ว. ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของ ว. ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 มาตรา 11 แต่หามีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 และ พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 4 ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502
เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43
เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 11 เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่เบียดบังทรัพย์สินของรัฐ พนักงานขับรถมอบใบเบิกน้ำมันให้บุคคลอื่นใช้เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.พนักงานรัฐ
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยางซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว. ทั้งๆที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหายย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา4ไม่เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา147และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ว.ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11เท่านั้นพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นหน้าที่โดยทุจริต พนักงานขับรถเบิกน้ำมันผิดวิธี ความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานรัฐ
จำเลยเป็นพนักงานขับรถขององค์การผู้เสียหาย จำเลยได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วได้มอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันจากสหกรณ์ของผู้เสียหายเติมใส่รถยนต์ส่วนตัวของ ว.ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 แต่ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11ที่จำเลยกระทำไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต พนักงานขับรถเบิกน้ำมันผิดวัตถุประสงค์ ความผิดตาม พ.ร.บ.พนักงานในหน่วยงานของรัฐ
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยาง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว.ทั้ง ๆ ที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหาย ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตจึงมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 4 ไม่ เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา 147 และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11เท่านั้น พนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหาย เพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6700/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเว้นหน้าที่โดยทุจริตของพนักงานรัฐวิสาหกิจ และขอบเขตอำนาจการเรียกคืนทรัพย์สิน
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานขับรถขององค์การสวนยางซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับใบรับ-จ่ายน้ำมันมาแล้วมอบให้ว.ไปเบิกน้ำมันใส่รถยนต์ส่วนตัวของว.ทั้งๆที่จำเลยได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาให้นำใบรับ-จ่ายน้ำมันไปเบิกน้ำมันใส่รถของผู้เสียหายเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในกิจการของผู้เสียหายย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11แต่หามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147และพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา4ไม่เพราะจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายในมาตรา147และจำเลยเป็นพนักงานขับรถเพียงแต่มอบใบรับ-จ่ายน้ำมันที่จำเลยได้รับมามอบให้ว. ไปเบิกน้ำมันใช้เป็นส่วนตัวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นพนักงานที่มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502 เมื่อจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ.2502มาตรา11เท่านั้นพนักงานอัยการโจทก์ก็ไม่มีอำนาจขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา43