พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิหน้าท่า การใช้สิทธิโดยสุจริต และการแก้ไขสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
ก่อนปี2530จำเลยที่1ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่าเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯในขณะนั้นหากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้าหากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่1หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วยต่อมาจำเลยที่1มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่าจึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน6คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน520วันได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่1ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่1พิจารณาจำเลยที่1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้วเห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าที่โดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้าครั้งวันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์กับจำเลยที่1จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือณท่าเรือกรุงเทพฯโดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน90วันนับแต่วันทำสัญญาเมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่1รัฐบาลและคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่าการที่จำเลยที่1ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่าความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่1พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์และให้จำเลยที่1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขั้นลงได้ต่อมาวันที่31พฤษภาคม2531จำเลยที่1ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่1ในอัตราร้อยละ25ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่1แล้วดังนี้สิทธิหน้าที่จำเลยที่1ประกาศไว้แต่แรกโดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่1กระทำการโดยไม่สุจริตมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้นแต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาได้ความว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้วที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริตแต่จากเอกสารหมายจ.60ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่2ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105ฉบับด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1ทั้งสิ้นและยังปรากฎตามเอกสารหมายล.26ถึงล.51อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลยและบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.20ข้อ16,17และ18ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่1ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่25กุมภาพันธ์2531ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม2532เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริงการร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฎรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวันที่13พฤษภาคม2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่างๆตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ชัดว่าหากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วยดังนี้การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่าณท่าเรือกรุงเทพฯและอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้นจำเลยที่1ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้วเป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วยจึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศ มีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการ ถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3 เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่าย มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาจำเลยที่ 1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกัน ตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษา แม้จะมีถ้อยคำระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับการทวงถาม และจำเลยที่ 2 ยอมรับใช้แทนจำเลยที่ 1 จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตาม โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5650/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันการศึกษาต่างประเทศ: การรับผิดของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัด
จำเลยที่1ได้รับทุนจากโจทก์ไปศึกษาที่ต่างประเทศมีสัญญาตกลงว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจะกลับเข้ารับราชการถ้าผิดสัญญายอมใช้เงินค่าปรับ3เท่าของเงินเดือนและค่าใช้จ่ายมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันต่อมาจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้ารับราชการและไม่ชำระหนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดร่วมกันตามสัญญาค้ำประกันสำหรับผู้ที่ทางราชการส่งไปดูงานหรือส่งไปศึกษาแม้จะมีถ้อยคำระบุว่าจำเลยที่2ยอมใช้เงินทั้งสิ้นภายในกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ได้รับการทวงถามและจำเลยที่2ยอมรับใช้แทนจำเลยที่1จนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถามก็ตามโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2ได้ผูกพันตนในลักษณะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ฉะนั้นโจทก์จะเรียกให้จำเลยที่2ชำระหนี้ได้ต่อเมื่อจำเลยที่1ผิดนัดชำระหนี้แล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา686
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตบนที่ดินราชพัสดุ เจ้าของอาคารมีหน้าที่รื้อถอน แม้กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรัฐ
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในที่ดินราชพัสดุที่จำเลยเช่าและแม้อาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่อาคารดังกล่าวมิใช่อาคารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามที่ระบุไว้ในข้อ1แห่งกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่9(พ.ศ.2528)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522เมื่อจำเลยก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็เป็นการก่อสร้างโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา21เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ก่อสร้างรื้อถอนอาคารนั้นได้ตามมาตรา42
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5390/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้เป็นอาคารในที่ดินราชพัสดุ
แม้อาคารที่จำเลยผู้เช่าก่อสร้างขึ้นอยู่ในที่ดินราชพัสดุและอาคารดังกล่าวตกเป็นของกระทรวงการคลังผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุแต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและมิได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตก่อสร้างเจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้จำเลยจะอ้างว่าไม่มีหน้าที่ต้องรื้อถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 242: ทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนของหมั้นเป็นเงิน10,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนสินสอดเป็นเงิน 50,000 บาทหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 สามารถแยกออกจากหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคนละส่วนกันได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์แต่ละส่วนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักกลบส่วนเกินที่ได้รับไปแล้ว
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่ง เมื่อเงินอยู่ที่โจทก์ เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไป ต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไป แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักเงินที่ได้รับเกินไปได้ และการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่งเมื่อเงินอยู่ที่โจทก์เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไปต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไปแม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533บัญญัติไว้คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันจะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835-4836/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การยกที่ดินให้สร้างวัด, และสิทธิในการฟ้องขับไล่ของผู้รับโอน
การขออนุญาตสร้างวัดเป็นเรื่องการแสดงเจตนาของบุคคลที่ประสงค์จะสร้างวัดและเป็นเรื่องเฉพาะตัวของบุคคลไม่ใช่เกิดจากนิติกรรมหรือกฎหมายจึงไม่อาจบังคับให้บุคคลไปขออนุญาตสร้างวัดได้ กฎกระทรวงฉบับที่1(พ.ศ.2507)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์พ.ศ.2505มาตรา6,32หมายความว่าบุคคลใดประสงค์จะให้ที่ดินเพื่อสร้างวัดต้องทำสัญญากับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอท้องที่ที่จะสร้างวัดและเมื่อทางราชการอนุญาตให้ตั้งวัดแล้วก็ต้องโอนที่ดินให้แก่วัดหากไม่ดำเนินการนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องบังคับให้โอนได้ส่วนการกล่าวด้วยวาจายกที่ดินให้สร้างวัดหามีผลอย่างใดไม่เมื่อโจทก์ที่2และที่3ไม่ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัดกับนายอำเภอและเจ้าพนักงานที่ดินอำเภอที่ดินดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่2ซึ่งมีสิทธิโดยสมบูรณ์ที่จะโอนขายให้แก่โจทก์ที่1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3816/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการสูญเสียสิทธิเรียกร้องการครอบครองที่ดิน
จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมเมื่อโจทก์ร่วมมิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1ปีนับแต่เวลาที่จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครองโจทก์ร่วมย่อมหมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองสิทธิครอบครองของโจทก์ร่วมจึงสิ้นสุดลงดังนั้นเมื่อระยะเวลาตามที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกสิทธิครอบครองในที่ดินของโจทก์ร่วมได้สิ้นสุดลงแล้วการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365