คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจากเหตุผิดสัญญาและการรับผิดของบุคคลเริ่มก่อตั้งบริษัท
โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยระบุเหตุชัดแจ้งทั้งในเรื่องจำเลยมิได้จัดให้มีไฟฟ้าและประปาตามแบบแปลนท้ายสัญญาและยังอ้างเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 6เรื่องการสร้างโรงภาพยนตร์ชัดแจ้ง ทั้งเหตุที่โจทก์อ้างดังกล่าวชี้ระบุไว้ชัดแจ้งในสัญญาซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนแล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้อง และมิพักต้องคำนึงว่าข้อกำหนดแห่งการชำระเงินค่างวดตามสัญญาเป็นข้อสำคัญหรือไม่
ขณะจำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญาฉบับพิพาทกับโจทก์นั้น ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1113 แต่เมื่อยังไม่มีการอนุมัติสัญญาฉบับพิพาท ในการประชุมตั้งบริษัท แม้จะมีการจดทะเบียนบริษัทจำเลยที่ 1 และภายหลังจำเลยที่ 1 ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาฉบับพิพาทแล้วก็ตาม ก็ยังไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดดังกล่าวได้ และความรับผิดของจำเลยที่ 2ดังกล่าวนี้ เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามมาตรา 391 กล่าวคือเมื่อโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาฉบับพิพาทต่อจำเลยที่ 1 ในฐานะคู่สัญญาแล้ว ผลแห่งการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจำเลยที่ 2 ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ความรับผิดดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีก
ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้สืบเนื่องมาจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งจำเลยที่ 2 จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา391 ซึ่งเป็นการทดแทนความเสียหายอย่างหนึ่งเพื่อให้ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 166 (เดิม)ไม่
โจทก์มีพยานเอกสารคือบันทึกการรับเช็คท้ายสัญญาฉบับพิพาทซึ่งปรากฏเหตุการณ์รับเช็คเป็นลำดับต่อเนื่องตั้งแต่แรกรับเช็คและการเปลี่ยนเช็คสำหรับค่างวดแรก ต่อท้ายด้วยบันทึกการรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สอง โดยมีลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปรากฏเป็นผู้รับทุกลำดับต่อเนื่องกันมา การบันทึกยอมรับเช็คสำหรับเงินค่างวดที่สองโดยไม่ปรากฏมีข้อทักท้วง สงวนหรืออิดเอื้อนเกี่ยวกับเงินงวดแรกดังที่ปรากฏ ย่อมเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้รับเงินงวดแรกไปเรียบร้อยแล้ว
หนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระเงินค่างวดที่ค้างมีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นการทวงถามเงินค่างวดที่สองและต่อจากนั้น โดยจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงชื่อในเอกสารดังกล่าว แสดงว่าโจทก์มิได้ค้างชำระเงินงวดแรก
คำให้การจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงยืนยันปฏิเสธแต่เพียงว่าไม่ได้รับชำระเงินงวดที่สอง เป็นการยอมรับว่าได้รับเงินงวดแรกแล้วจริงตามฟ้องโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น ให้การต่อสู้ในเรื่องรับเงินนี้แต่เพียงว่าไม่รับรองความถูกต้องเท่านั้น หาได้ปฏิเสธว่าไม่ได้รับเงินตามฟ้องโดยชัดแจ้งไม่ และในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่าเช็ค จ.10 และจ.11 ตลอดจนเช็คชำระเงินงวดที่สองมีการเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 2ได้แล้วจริง ดังนี้แม้เช็คเอกสาร จ.10 และ จ.11 จะมีจำนวนเงินและวันเวลาไม่สอดคล้องกับที่ปรากฏในบันทึกการรับเช็คก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ให้การและนำสืบรับดังกล่าวข้างต้น ข้อดังกล่าวจึงเป็นเพียงข้อปลีกย่อยในพลความที่มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นพิพาทในคดีมาตั้งแต่ต้น ไม่อาจมีผลเปลี่ยนคำรับของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทตามสัญญาต่างตอบแทนและการบอกเลิกสัญญา
ในสัญญาต่างตอบแทนเมื่อจำเลยที่1ไม่ได้ปฏิบัติการชำระหนี้ตอบแทนแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่1ย่อมตกเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่จำต้องชำระเงินค่างวดแก่จำเลย ขณะจำเลยที่2เข้าทำสัญญากับโจทก์ยังอยู่ในระยะเวลาดำเนินการก่อตั้งและขอจดทะเบียนจำเลยที่1อยู่จำเลยที่2ในฐานะผู้เริ่มก่อการบริษัทจึงต้องรับผิดตามสัญญาที่ตนได้ทำขึ้นจนกว่าที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติและได้จดทะเบียนบริษัทแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1113เมื่อไม่ได้ความว่ามีการอนุมัติสัญญาดังกล่าวในการประชุมตั้งบริษัทแม้จะจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่1และจำเลยที่1เข้าถือสิทธิตามสัญญาแล้วก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่2หลุดพ้นจากความรับผิด ความรับผิดของจำเลยที่2เป็นผลเกิดจากเหตุตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391บัญญัติไว้เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาต่อจำเลยที่1แล้วย่อมก่อให้เกิดหน้าที่แก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งจำเลยที่2ที่จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมความรับผิดนี้เกิดขึ้นทันทีโดยมิพักต้องอาศัยการบอกกล่าวอีกแต่ประการใด ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสืบเนื่องจากการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาซึ่งจำเลยที่2จำต้องให้โจทก์ได้กลับคืนฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมด้วยการใช้เงินคืนแก่โจทก์โดยให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วยคิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391เป็นการทดแทนความเสียหายเพื่อให้ได้กลับคืนสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิมหาใช่หนี้ดอกเบี้ยค้างส่งตามมาตรา166(เดิม)ไม่โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะโจทก์เปลี่ยนแปลงหลังฟ้อง & ความเสียหายก่อนกระทำผิด ไม่กระทบอำนาจฟ้อง/ความรับผิด
ขณะยื่นฟ้องโจทก์ยังเป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์เป็นเพียงนิติบุคคลธรรมดาภายหลังฟ้องก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุกระทำผิดอาญาไม่ จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์
ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์มีอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ การเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้ภายหลังตามที่จำเลยอ้างนั้นก็คงเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้า จึงไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายที่จำเลยได้ก่อขึ้น และไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากความผิดที่ได้กระทำนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุมัติสินเชื่อเกินอำนาจโดยจงใจเลี่ยงระเบียบ และการกระทำโดยทุจริตเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้ ถือเป็นความผิด
ขณะเกิดเหตุโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจและจำเลยเป็นพนักงานของโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงฐานะของโจทก์ภายหลังหรือไม่ก็หาเป็นเหตุให้มีผลลบล้างฐานะโจทก์และฐานะความรับผิดของจำเลยในขณะเกิดเหตุไม่จึงไม่มีผลกระทบถึงอำนาจฟ้องของโจทก์และไม่เป็นสาระหรือประโยชน์แก่คดีที่พึงพิจารณาวินิจฉัย หนังสือมอบอำนาจเป็นหนังสือยืนยันขอบเขตอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นพนักงานของจำเลยและรับรองอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลของโจทก์ต่อบุคคลภายนอกเป็นการทั่วไปส่วนมติกำหนดขอบเขตการใช้อำนาจของผู้แทนดังกล่าวอีกชั้นหนึ่งเป็นข้อจำกัดอำนาจเป็นการภายในหนังสือมอบอำนาจจึงไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าที่และฐานะของจำเลยหรือเป็นการเพิกถอนยกเลิกมติดังกล่าวไม่ ลูกหนี้ยื่นขอสินเชื่อในรูปแบบของการกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเกินอำนาจอนุมัติของจำเลยแทนที่จำเลยจะเสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารโจทก์ตามระเบียบกลับอนุมัติในรูป เพลซเมนท์/โลนหรือเงินฝากเป็นการจงใจหาวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามระเบียบและวัตถุประสงค์ในรูปสินเชื่อที่แท้จริงโดยทุจริตเมื่อเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ตรวจสอบแล้วทักท้วงว่ารูปแบบสินเชื่อดังกล่าวเป็นการให้กู้และให้แก้ไขแทนที่จำเลยจะแก้ไขปฏิบัติเป็นรูปเงินกู้ตามข้อทักท้วงและขออนุมัติตามระเบียบให้ถูกต้องตามความจริงจำเลยกลับเปลี่ยนแปลงเป็นรูปตั๋วสัญญาใช้เงินอันเป็นวิธีการเลี่ยงไม่ยอมปฏิบัติตามที่ทักท้วงและไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องอีกทั้งยังมีการเพิ่มจำนวนสินเชื่อที่เกินอำนาจหลายครั้งหลายหนชี้ชัดว่าเพื่อเอื้อประโยชน์กันแก่ลูกหนี้เป็นเจตนาทุจริต จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่เสียหายโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และได้มีการชำระหนี้ทั้งหมดแล้วโดยได้ยกขึ้นอ้างตั้งแต่ชั้นอุทธรณ์ตลอดมาและมีพยานเอกสารประกอบซึ่งโจทก์มิได้โต้แย้งพอรับฟังเป็นคุณแก่จำเลยได้ว่าเป็นความจริงแต่เมื่อตั้งแต่จำเลยให้ลูกหนี้กู้ยืมไปลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาตลอดมาจนกระทั่งจำเลยพ้นจากตำแหน่งแล้วตลอดถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ย่อมมีอยู่จริงก่อนแล้วตั้งแต่จำเลยกระทำผิดการเปลี่ยนตัวลูกหนี้และมีการชำระหนี้แล้วภายหลังเป็นเพียงการชำระหนี้ที่ล่าช้าและมิได้เกิดจากการดำเนินการของจำเลยไม่อาจรับฟังเป็นข้อลบล้างความเสียหายและไม่ช่วยให้จำเลยพ้นจากการกระทำผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและผลกระทบต่อการยกเว้นภาษีอากร
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน อาศัยอำนาจตามมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน2532 ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วน ดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่ 12 ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 55 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนและการบังคับใช้สิทธิในการชำระหนี้ภาษีอากรที่เกิดขึ้นก่อนการเพิกถอน
ตามคำสั่งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาศัยอำนาจตามมาตรา54แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ที่ได้ให้แก่จำเลยเท่าที่เหลืออยู่ตามบัตรส่งเสริมตั้งแต่วันที่28พฤศจิกายน2532ซึ่งเป็นการเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรที่ได้ให้แก่จำเลยบางส่วนดังนั้นแม่พิมพ์และวัตถุดิบที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ครั้งแรกถึงครั้งที่12ซึ่งอยู่ในช่วงก่อนวันที่28พฤศจิกายน2532ย่อมได้รับยกเว้นภาษีอากรตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520มาตรา55วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้
นับตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยเด็ดขาดจำเลยที่1เป็นต้นไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่1ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(3)จำเลยที่1ไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาหรือว่าคดีได้อีกการที่จำเลยที่1เป็นผู้ดำเนินกระบวนพิจารณายื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทที่ เจ้าพนักงานบังคับคดี ขายทอดตลาดและดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่สืบเนื่องต่อมาจนถึงการยื่นอุทธรณ์ภายหลังที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958-962/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงในคำฟ้องไม่อาจนำไปสู่ผลตามที่ขอได้
การที่คู่ความต้องนำพยานเข้าสืบในชั้นพิจารณาก็เพื่อสนับสนุนคำฟ้องหรือคำให้การของตนให้เห็นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปดังที่คู่ความฝ่ายนั้นได้กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้องหรือคำให้การเมื่อข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างในคำฟ้องเห็นได้โดยชัดแจ้งแล้วว่าไม่อาจพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้จึงไม่จำต้องให้คู่ความนำพยานเข้าสืบอีกเพราะแม้จะให้สืบพยานก็ไม่อาจจะรับฟังข้อเท็จจริงนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับจากคำพิพากษา
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่17มีนาคม2521โจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่17มีนาคม2521ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271แม้โจทก์จะได้ขอหมายบังคับคดีเมื่อวันที่12มิถุนายน2521แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่2และที่3เมื่อวันที่13มิถุนายน2521และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดในวันที่10กุมภาพันธ์2530ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีเมื่อหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามโจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่2/2537)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีและผลกระทบต่อการฟ้องล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 โจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่ 17 มีนาคม 2521 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แม้โจทก์จะได้ขอหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2521 แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2521และต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดในวันที่ 10กุมภาพันธ์ 2530 ก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดี เมื่อหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้
(มติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2537)
of 54