พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาเกิน 10 ปี หมดสิทธิบังคับคดี ห้ามฟ้องล้มละลาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่17มีนาคม2521โจทก์ชอบที่จะร้องขอบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามภายในสิบปีนับแต่วันที่17มีนาคม2521ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่งมาตรา271แม้โจทก์ได้ขอหมายบังคับเมื่อวันที่12มิถุนายน2521แล้วนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่2และที่3เมื่อวันที่13มิถุนายน2521ต่อมาเจ้าพนักงานบังคับคดีนำทรัพย์ดังกล่าวออกขายทอดตลาดในวันที่10กุมภาพันธ์2530ก็ตามก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการบังคับคดีเมื่อหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้โจทก์มิได้ดำเนินการบังคับคดีเสียภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามโจทก์จึงไม่อาจนำหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าวแล้วมาฟ้องจำเลยทั้งสามให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีกลั่นแกล้งโจทก์โดยอ้างอิทธิพลหน้าที่ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลล่าง
นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเห็นชอบและสั่งการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ตามมาตรา47และ48แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522เนื่องจากคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอแนะมิได้มีสภาพบังคับเสมือนคำพิพากษา จำเลยที่2ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่ต้องเสนอคำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ต่อนายกรัฐมนตรีภายในกำหนดไม่เกิน7วันแต่กลับกักเก็บเรื่องไว้เป็นเวลากว่า2ปีจำเลยที่1ในฐานะรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่1ได้มีส่วนร่วมในการกระทำหรือสั่งการรู้เห็นด้วยและการที่จำเลยที่1มีคำสั่งตามมาตรา49ให้เสนอปัญหาข้อกฎหมายเข้าสู่การประชุมใหญ่ของคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งมีหน้าที่รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายตามมาตรา7(ข)แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกาพ.ศ.2522ก็เป็นการถูกต้องแล้วคดีจึงไม่พอมีมูลว่าจำเลยที่1มีพฤติการณ์ร่วมกับจำเลยอื่นในการกลั่นแกล้งโจทก์ จำเลยที่5มารับตำแหน่งอธิบดีกรมทะเบียนการค้าหลังจากที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่2(พ.ศ.2531)ได้ประกาศใช้แล้วการที่จำเลยที่5ยังปฏิบัติตามความในประกาศดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยที่5มีส่วนร่วมในการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตร่วมกับจำเลยอื่นเพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ด้วยเนื่องจากจำเลยที่5ยังคงมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวตราบเท่าที่มีผลบังคับใช้อยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ร่วมหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด: สิทธิเรียกร้องขาดอายุความเมื่อทวงหนี้เกิน 2 ปีหลังผิดนัด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดพ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลยบันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18/8วรรคสาม(เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119แล้วก็ตามเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของหนี้ร่วม: หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยกอายุความได้ แม้ต้องรับผิดชอบหนี้ของห้างหุ้นส่วน
แม้ผู้ร้องซึ่งเป็น หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเป็น ลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ผู้ร้องย่อม ยกอายุความขึ้นต่อสู้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา295เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น2ปีนับแต่ห้าง ผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อม ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้หุ้นส่วนจำกัด: ลูกหนี้ร่วมกับห้างสามารถยกอายุความได้ แม้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพความรับผิดโดยสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม) แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปีนับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ห้างหุ้นส่วน และสิทธิยกอายุความ
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้าง-หุ้นส่วนจำกัด พ.ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับมูลหนี้ตามบันทึกรับสภาพหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก่อนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้อง ไม่ใช่ผู้ร้องยอมรับในส่วนของผู้ร้องว่าเป็นหนี้จำเลย บันทึกคำให้การของผู้ร้องไม่ใช่การรับสภาพ-ความรับผิดโดยสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 188 วรรคสาม (เดิม)
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
แม้ผู้ร้องต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ. มาตรา 1077 แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างซึ่งมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 295 แม้ห้างถูกเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จนศาลได้ออกคำบังคับเพราะเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 119 แล้วก็ตาม เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้ไปยังผู้ร้องให้ร่วมรับผิดในหนี้ของห้างเมื่อพ้น 2 ปี นับแต่ห้างผิดนัดชำระหนี้ในมูลหนี้ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ สิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงและหน้าที่ชำระค่าเช่า การกระทำของจำเลยไม่ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์
หลังจากส. ทำสัญญาเช่าสถานที่ของโจทก์กับจำเลยแล้วส. ได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์อีกฉบับหนึ่งส.กับโจทก์ย่อมผูกพันที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญาเช่าซึ่งในส่วนการชำระค่าเช่าระบุไว้ว่าจะชำระค่าเช่าณสำนักงานของผู้ให้เช่าส. จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ที่สำนักงานของโจทก์การที่ส. นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์และโจทก์ไม่ได้รับค่าเช่าไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยเอาสถานที่ของโจทก์ไปให้ส. เช่าส่วนที่ส. นำค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ภายใต้เงื่อนไขว่าเพื่อจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ที่แท้จริงตามคำพิพากษาถึงที่สุดเพราะหลังจากที่ส. ทำสัญญากับโจทก์แล้วจำเลยเรียกร้องให้ส. ชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกทำให้ส. สับสนไม่แน่ใจว่าระหว่างโจทก์กับจำเลยผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิที่จะให้เช่าสถานที่เช่าที่แท้จริงก็เป็นเรื่องของส. ไม่เกี่ยวกับโจทก์โจทก์จะนำมาเป็นข้ออ้างว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าหนี้ในคดีอื่นไม่มีสิทธิร้องขอ หากไม่เป็นเจ้าหนี้ในคดีนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะขายได้โดยไม่พิจารณาว่าราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอซื้อเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่ทำให้ผู้ร้องตลอดจนเจ้าหนี้ทั้งหลายเสียหายได้รับชำระหนี้ตามส่วนเฉลี่ยลดน้อยลงและผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบซึ่งวันขายทอดตลาดเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา146 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้นและแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้านผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในคดีอื่นไม่มีสิทธิ
ผู้ร้องที่1ที่2และที่3มิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายคดีนี้แต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอีกคดีหนึ่งที่จำเลยผู้ล้มละลายในคดีดังกล่าวเป็นเจ้าหนี้จำเลยในคดีนี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยในคดีดังกล่าวได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้และศาลมีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องที่1ที่2ที่3มีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทของผู้คัดค้านที่1ในคดีนี้จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาด: ผู้ร้องต้องมีส่วนได้เสียโดยตรงจากการกระทำนั้น จึงจะสามารถร้องขอเพิกถอนได้
การที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์โดยอ้างว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านได้ขายทอดตลาดทรัพย์ไปในราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ โดยไม่พิจารณาว่าราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอซื้อเป็นราคาที่เหมาะสมหรือไม่ ทำให้ผู้ร้องตลอดจนเจ้าหนี้ทั้งหลายเสียหายได้รับชำระหนี้ตามส่วนเฉลี่ยลดน้อยลง และผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบซึ่งวันขายทอดตลาดเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 146
ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้น และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา
ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ หากแต่เป็นเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายอื่นของศาลชั้นต้น และแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ล้มละลายในคดีอื่นดังกล่าวได้นำหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีอื่นดังกล่าวทั้งหมดนั้นมาขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ไว้ ซึ่งศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในการขายทอดตลาดของผู้คัดค้านในอันที่จะได้รับความเสียหายโดยการกระทำของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้คัดค้านในคดีนี้ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา