พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการสละสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็คตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของท. จะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ท. ได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ทง ยังมิได้ชำระแม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1300
แม้การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่2โดยมีค่าตอบแทนและจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริตกรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษสิทธิของจำเลยที่2ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่1ผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้รับโอนโดยสุจริต
แม้การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว จำเลยที่ 1 ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่ 1 โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริต กรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามป.พ.พ.มาตรา 1300 ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษ สิทธิของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่ 1 ผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางสัญญาและผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดิน
ป.กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดิน ซึ่งมีข้อความว่า บิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 4587 โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 มาโดยทางมรดก จำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินเอกสารหมาย จ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรม มิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600 ก็ตาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621 โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่ จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าว ย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป แต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของ ป.เจ้าของที่ดินเดิม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ.บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาภารจำยอมทางมรดก: จำเลยต้องรื้อสิ่งกีดขวาง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ป. กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินซึ่งมีข้อความว่าบิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่5621เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่4587โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่5621มาโดยทางมรดกจำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ป่านที่ดินเอกสารหมายจ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรมมิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599,1600ก็ตามแต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าวย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฎิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไปแต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของป. เจ้าของที่ดินเดิมจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4จึงไม่เป็นภารจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, การลดเบี้ยปรับ, และค่าทนายความที่เหมาะสมกับรูปคดี
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม11คดีภายในกำหนด3วันนับแต่วันทำสัญญาและให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด15วันนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000บาทภายในวันที่31กรกฎาคม2535ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จำนวน6คดีและเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน5คดีทั้ง11คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารจ.1ข้อ1(ฎ)เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตามก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11สำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัยเป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน5,000,000บาทหากจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มีเจตนาผูกพันตามนั้นจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาดศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าคดีนี้ไม่ยุ่งยากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม3,000,000บาทสูงเกินไปนั้นเป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมาย
หุ้นพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของหุ้นทั้งหมดที่จำเลยได้ลงชื่อในแบบโอนลอยให้แก่ ธ.ไป หาก ธ.ประสงค์ต้องการมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ก็จะต้องลงลายมือชื่อเป็นผู้รับโอนแล้วไปแก้ทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นตามระเบียบได้ และถ้า ธ.ไม่ต้องการมีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้น ธ.สามารถโอนหุ้นดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นต่อไปได้ เมื่อปรากฏต่อมาอีกว่า ธ.ได้แบ่งโอนหุ้นบางส่วนให้แก่บุตรสาวคนหนึ่งซึ่งได้ดำเนินการเปลี่ยนและโอนใบหุ้นเป็นชื่อของตนแล้ว จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นชัดว่า การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและ ธ.แบบโอนลอยนั้น คู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่า หากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็จะต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องต่อไป แต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาด ก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติต่อไปได้ กล่าวโดยชัดแจ้งคือ เป็นการแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดโดยฝ่ายจำเลยผู้โอนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนฝ่ายตนแล้วมอบให้ฝ่ายผู้รับโอนไปเลือกปฏิบัติภายหลังให้เสร็จสมบูรณ์ต่อไปโดยลำพังได้ การโอนลอยหุ้นให้แก่ ธ.จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนแล้วเป็นขั้นตอนแรกเท่านั้น ยังมิได้เป็นขั้นตอนการโอนที่เสร็จเด็ดขาด และความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1129วรรคสอง ที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้นเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ยังไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้เท่านั้น จึงมิอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังอยู่ในฐานะผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปตามกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 52/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นแบบโอนลอย: เจตนาคู่กรณีและผลทางกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การโอนหุ้นระหว่างจำเลยและธ. แบบโอนลอยนั้นคู่กรณีมีเจตนามุ่งให้ความสะดวกเป็นประโยชน์แก่ผู้รับโอนที่จะเลือกปฏิบัติได้ว่าหากประสงค์จะมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นเป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดก็ต้องปฏิบัติตามแบบแห่งกฎหมายให้ถูกต้องแต่หากยังไม่ประสงค์จะให้มีผลเสร็จเด็ดขาดก็อาจโอนลอยต่อให้บุคคลอื่นไปปฏิบัติได้ซึ่งเป็นการแบ่งขั้นตอนปฏิบัติตามแบบแห่งนิติกรรมที่กฎหมายกำหนดการโอนลอยหุ้นให้แก่ธ. จึงเป็นเพียงขั้นตอนที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายของตนเป็นขั้นตอนแรกแล้วเท่านั้นยังมิได้เป็นการโอนที่เสร็จเด็ดขาดซึ่งความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129วรรคสองเป็นการกำหนดแบบของการโอนหุ้นว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะมีหลักฐานการโอนที่แน่นอนหาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ดังนั้นผู้ถือหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงยังไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทและไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้นหาอาจถือเป็นการขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนต่อในช่วงสุดท้ายยังคงอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนสิทธิในหุ้นพิพาทที่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป