พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: การรับฟังคำสารภาพโดยสมัครใจและพยานหลักฐานสนับสนุน
พยานโจทก์ชั้นสืบสวนและจับกุมเบิกความถึงการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจที่ได้ทำการสืบสวนและจับกุมจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีพฤติการณ์ลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนอย่างละเอียดทุกขั้นตอนทั้งสอดคล้องต้องกันไม่มีพิรุธใดๆเมื่อถูกจับกุมแล้วจำเลยทั้งสี่ต่างก็ให้การรับสารภาพและเขียนบันทึกคำรับสารภาพซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของพยานโจทก์ดังกล่าวด้วยลายมือของตนเองให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมด้วยอีกทั้งพนักงานสอบสวนซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจชุดจับกุมก็เบิกความยืนยันว่าเมื่อแจ้งข้อหาให้จำเลยทั้งสี่ทราบได้แจ้งด้วยว่าจำเลยทั้งสี่จะให้การหรือไม่ให้การหรือจะให้การอย่างไรก็ได้แต่จำเลยทั้งสี่ก็ได้ให้การรับสารภาพตนจึงพิมพ์คำให้การของจำเลยทั้งสี่ตามคำบอกเล่าของจำเลยทั้งสี่และในชั้นพิจารณาของศาลจำเลยที่3ก็ให้การรับสารภาพทั้งจำเลยที่1ที่2และที่4ยังนำสืบข้อเท็จจริงรับว่าจำเลยทั้งสี่ได้มีการพบปะติดต่อกันจริงในวันเกิดเหตุเจือสมกับข้อนำสืบของโจทก์เชื่อว่าจำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10229/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่มิได้ประทับตรา และการผูกพันตามสัญญาโดยกรรมการ การรับรองผลสัญญา และการส่งมอบหลักฐาน
แม้สัญญาเช่ามิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ก็ตามแต่ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้จดทะเบียนกำหนดให้ส.เป็นกรรมการลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ตามสัญญาเช่าก็มีข้อความไว้ชัดในตอนต้นแห่งสัญญาว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่งกับบริษัทค. โดยส. กรรมการผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่งข้อความเช่นนี้แสดงชัดว่าส. ทำสัญญาในนามของโจทก์นั่นเองหาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ทั้งจำเลยก็ได้ยอมรับผลแห่งสัญญาตั้งแต่ต้นตลอดมาจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาจะอ้างว่าสัญญาไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่ จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริงโจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีกฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10229/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการทำสัญญาเช่า และผลผูกพันตามสัญญา แม้ไม่มีตราประทับ
แม้สัญญาเช่ามิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร โจทก์ได้จดทะเบียนกำหนดให้ ส.เป็นกรรมการลงชื่อผูกพันโจทก์ได้ ตามสัญญาเช่าก็มีข้อความกล่าวไว้ชัดในตอนต้นแห่งสัญญาว่าทำขึ้นระหว่างจำเลยผู้ให้เช่าฝ่ายหนึ่ง กับบริษัท ค.โดย ส.กรรมการ ผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่ง ข้อความเช่นนี้แสดงชัดว่า ส.ทำสัญญาในนามของโจทก์นั่นเองหาได้ทำเป็นส่วนตัวไม่ ทั้งจำเลยก็ได้ยอมรับผลแห่งสัญญาตั้งแต่ต้นตลอดมาจำเลยต้องผูกพันตามสัญญา จะอ้างว่าสัญญาไม่ได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ไม่มีผลผูกพันโจทก์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
จำเลยได้ให้การรับว่าได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องกับโจทก์จริง โจทก์จึงไม่มีภาระต้องพิสูจน์และอ้างส่งสัญญาฉบับดังกล่าวเป็นพยานอีก ฉะนั้นแม้สัญญาฉบับดังกล่าวซึ่งโจทก์อ้างจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๑๘
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลารับคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
หนังสือที่นร0209/9728วันที่30พฤษภาคม2537ที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีมีข้อความว่า"ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ยธ0409/947/829ลงวันที่26เมษายน2537ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์(คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ล.103/2537เพื่อขอให้ดำเนินประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษานั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไปเล่ม111ตอนที่41วันที่24พฤษภาคม2537แล้ว"จึงฟังได้ว่าณวันที่30พฤษภาคม2537ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้วการนับระยะเวลา2เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา91จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30พฤษภาคม2537ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่23มิถุนายน2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่16สิงหาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา2เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องเริ่มนับจากวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาฉบับหลัง
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันก่อนแล้วจึงลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา การนับวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงต้องถือเอาวันที่โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเป็นวันโฆษณาฉบับหลังเป็นเกณฑ์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ลงโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาฉบับวันที่ 24 พฤษภาคม 2537 พร้อมทั้งในคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้แจ้งกำหนดให้เจ้าหนี้เสนอ คำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาดังกล่าวและได้มีการจัดส่งเล่มแรก ให้แก่สมาชิกที่ไปรับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แต่ในหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเอกสารหมาย ร.2 นอกจากจะมีข้อความว่าได้จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกที่มารับด้วยตนเองเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2537 แล้วยังมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า สำนักงานราชกิจจานุเบกษาไม่อาจตรวจสอบได้ว่าราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวพิมพ์เสร็จเมื่อใดส่วนการส่งให้แก่สมาชิกโดยทางไปรษณีย์นั้น น่าจะดำเนินการในเวลาก่อนหรือหลังจากวันที่ 23 มิถุนายน 2537 ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าได้มีการเผยแพร่ ราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อ วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อหนังสือที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดีลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 มีข้อความว่า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ลง วันที่ 24 พฤษภาคม 2537 แล้วจึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่ สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9733/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับระยะเวลา 2 เดือนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย เริ่มนับจากวันที่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา
หนังสือที่ นร 0209/9728 วันที่ 30 พฤษภาคม 2537ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีถึงกรมบังคับคดี มีข้อความว่า "ตามหนังสือกรมบังคับคดีที่ ยธ 0409/947/829 ลงวันที่ 26 เมษายน 2537 ส่งประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด) ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล.103/2537 เพื่อขอให้ดำเนินการประกาศในหนังสือราชกิจจา-นุเบกษานั้น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการประกาศเรื่องดังกล่าวในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 111 ตอนที่ 41 ง วันที่24 พฤษภาคม 2537 แล้ว" จึงฟังได้ว่า ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ได้มีการโฆษณาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดคดีนี้โดยราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวแก่บุคคลทั่วไปแล้ว การนับระยะเวลา 2 เดือน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2537 ไม่ใช่เริ่มนับแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 อันเป็นวันที่จัดส่งราชกิจจานุเบกษาเล่มแรกให้แก่สมาชิกประเภทที่ไปรับด้วยตนเอง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จึงล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9732/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนาย – การสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดี – กระบวนการยุติธรรมที่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่2ปีถึง15ปีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายหรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมิได้ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้วการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้องจริงศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9732/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในคดีอาญา: การสอบถามความต้องการทนายก่อนเริ่มพิจารณา
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปี เป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีและต้องการทนายหรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นมิได้ปรากฏว่าได้มีการดำเนินการดังกล่าวแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้องจริง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้องแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้เอกสารจดทะเบียนระบุราคาไม่ตรง ย่อมทำได้ ไม่ขัด ป.วิ.พ. มาตรา 94
ป.วิ.พ.มาตรา 94 บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสาร หรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสาร ในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น แต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นจำนวนเงิน 17,200,000 บาท โดยนำ พ.กับ ป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสาร มิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 2 มาในราคาเท่าใด เพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ ย่อมนำสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น ซึ่งกรณีของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบราคาซื้อขายที่แท้จริง แม้ไม่ระบุในสัญญาจดทะเบียน ย่อมฟังได้หากมีหลักฐานสนับสนุนและแสดงเจตนาสุจริต
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94บัญญัติห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้นแต่การที่ผู้คัดค้านร่วมนำสืบว่าผู้คัดค้านร่วมได้ชำระค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายให้แก่จำเลยที่2เป็นจำนวนเงิน17,200,000บาทโดยนำพ.กับป.ซึ่งรู้เห็นในการซื้อขายมาเบิกความยืนยันประกอบเอกสารมิใช่นำสืบเพื่อให้บังคับตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นการนำสืบถึงความเป็นจริงว่าผู้คัดค้านร่วมซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่2มาในราคาเท่าใดเพื่อให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านและศาลจะได้วินิจฉัยต่อไปว่าผู้คัดค้านร่วมได้กระทำโดยสุจริตหรือไม่ย่อมนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94และการที่ผู้คัดค้านร่วมกับจำเลยที่2ไม่ได้ระบุราคาที่ซื้อขายอันแท้จริงจำนวนลงในสัญญาซื้อขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้นก็หาตกเป็นโมฆะไม่และรับฟังได้เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456มีบทบังคับเพียงให้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้นซึ่งกรณีของจำเลยที่2กับผู้คัดค้านร่วมก็ได้มีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ระบุราคาที่ซื้อขายครบถ้วนแล้ว