พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9655/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาส่งมอบสินค้าทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าปรับ แม้จะส่งมอบไม่ทันตามกำหนดเดิม
โจทก์ได้ผ่อนเวลาการส่งมอบของตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังนั้นการที่จำเลยที่1ไม่ได้ส่งมอบของตามสัญญาในระยะเวลาที่ยังไม่ล่วงเลยวันที่ได้ผ่อนเวลาออกไปย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ผิดสัญญาโจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระค่าปรับตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายข้อ10วรรคหนึ่งที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่1ชำระค่าปรับจึงไม่มีผลเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระค่าปรับต่อมาเมื่อจำเลยที่1แล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขายข้อ9โดยไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในข้อ10วรรคหนึ่งของสัญญาดังกล่าวและเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ9แล้วโจทก์ย่่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่1ชำระค่่าปรับตามสัญญาข้อ10วรรคหนึ่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9655/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาส่งมอบของและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาซื้อขาย
โจทก์ได้ผ่อนเวลาการส่งมอบของตามที่กำหนดไว้ในสัญญาดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ส่งมอบของตามสัญญาในระยะเวลาที่ยังไม่ล่วงเลยวันที่ได้ผ่อนเวลาออกไป ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขาย ข้อ 10วรรคหนึ่ง ที่โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ จึงไม่มีผลเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบของให้แก่โจทก์ภายในวันที่ผ่อนเวลาออกไป และโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 แล้วอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 โดยไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ชำระค่าปรับตามที่ระบุไว้ในข้อ 10 วรรคหนึ่ง ของสัญญาดังกล่าว และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 แล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1ชำระค่าปรับตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่ง อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ที่ดิน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่6และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดินแม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่7เป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมายการที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอมกับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่1แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้จำเลยที่1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเมื่อจำเลยที่1ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทก็ย่อมไม่มีสิทธิใดๆในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกันดังนั้นแม้จำเลยที่4และที่5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่1โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่4และที่5ก็ตามจำเลยที่4และที่5ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอนผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้ คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้างที่กฎหมายให้ความคุ้มครองอันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่งหาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ1ลักษณะ6แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา193/9และ193/30 ข้อที่จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าจำเลยที่4และที่5ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382นั้นจำเลยที่4และที่5ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่7ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยที่7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่7ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การติดตามและเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ไม่มีสิทธิ แม้มีการจดทะเบียนโอน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 6 และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามหนังสือสัญญาให้ที่ดิน แม้โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินที่โจทก์รับมาจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7 เป็นโฉนดที่ดินปลอม แต่โฉนดที่ดินฉบับหลวงก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่า โจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่มีบุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงอ้างว่าเป็นตัวโจทก์โดยใช้บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่ระบุว่าเป็นของโจทก์ปลอม กับหนังสือให้ความยินยอมที่ระบุว่าเป็นของภริยาโจทก์ปลอมไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตามแต่เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในการที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลอื่นเช่นเดียวกัน ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 และที่ 5ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้แก้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนของโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นชื่อของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ตาม จำเลยที่ 4และที่ 5 ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ เพราะเมื่อผู้โอนไม่มีสิทธิที่จะโอนให้แก่ผู้รับโอน ผู้รับโอนจะได้สิทธิซึ่งไม่มีอยู่ไม่ได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
คดีนี้เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิอยู่ตลอดเวลาที่ทรัพย์สินของตนยังอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้เสมอ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กำหนดถึงสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินว่ามีสิทธิอย่างใดบ้าง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง อันเป็นอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอย่างหนึ่ง หาใช่การบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหน้าที่จะต้องใช้ภายในกำหนดอายุความดังที่บัญญัติไว้ในบรรพ 1 ลักษณะ 6 แห่ง ป.พ.พ.ไม่ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของเจ้าของทรัพย์สินจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/9 และ193/30
ข้อที่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 นั้น จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7 ได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 7ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ และแม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในคดีล้มละลาย: เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้เยาว์ ไม่เข้าข่ายคดีครอบครัว
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินของผู้ล้มละลายกับผู้คัดค้านซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้ผู้คัดค้านเป็นผู้เยาว์ก็ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลที่พิจารณาคดีล้มละลายจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9269/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: อำนาจศาลและดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่า จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแต่จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามถือกรรมสิทธิ์แทน ซึ่งเป็นการกระทำภายในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้สั่งเพิกถอนการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ยินยอมให้ผู้คัดค้านทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์แทนในโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามความในมาตรา114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ได้ ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่า จำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องและทำให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งคู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบในชั้นพิจารณาต่อไป หาทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนในคดีนี้ไม่
เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์ คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไป ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้น จึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้ว ผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใด ๆ อันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาล
คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้น ต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติใน ป.พ.พ.ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้น แต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษ มิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตาม ป.พ.พ. แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์ คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว
การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ย ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไป ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้น จึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9269/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย, อำนาจศาล, และดอกเบี้ย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าจำเลยที่2เป็นเจ้าของที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแต่จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามถือกรรมสิทธิ์แทนซึ่งเป็นการกระทำภายในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้จำเลยที่2ล้มละลายโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้สั่งเพิกถอนการกระทำของจำเลยที่2ที่ยินยอมให้ผู้คัดค้านทั้งสามเข้าถือกรรมสิทธิ์แทนในโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าการที่จำเลยที่2จดทะเบียนใส่ชื่อผู้คัดค้านทั้งสามดังกล่าวเป็นการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ตามความในมาตรา114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการกระทำของจำเลยที่2ในคดีนี้ได้ส่วนที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำคัดค้านว่าจำเลยที่2ไม่ใช่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทก็เป็นเพียงคำให้การที่ปฏิเสธคำร้องของผู้ร้องและทำให้เกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทซึ่งคู่ความมีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบในชั้นพิจารณาต่อไปหาทำให้ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนในคดีนี้ไม่ เมื่อในชั้นพิจารณาผู้ร้องและผู้คัดค้านได้นำพยานหลักฐานของตนเข้ามาสืบจนสิ้นกระแสความแล้วผู้ร้องจะได้นำสืบข้อเท็จจริงใดๆอันเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นของจำเลยที่2หรือไม่จึงเป็นเรื่องของการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาล คดีที่จะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นต้องเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวหรือเป็นคดีที่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ให้ความคุ้มครองผู้เยาว์เท่านั้นแต่คดีนี้เป็นคดีร้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่2ผู้ล้มละลายซึ่งต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษมิใช่คดีแพ่งที่ฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แม้ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นผู้เยาว์คดีนี้ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัว การเพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนก็ยังถือเป็นการโอนหรือการกระทำโดยชอบอยู่จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านทั้งสามต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนหรือการกระทำเป็นต้นไปปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ผู้ร้องว่าความเองในศาลชั้นต้นจึงไม่มีเหตุที่จะกำหนดค่าทนายความให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้ผู้คัดค้านทั้งสามใช้แทนผู้ร้องจึงไม่ชอบศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้น คือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วย อันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 372 ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ 40,000,000 บาท นั้น เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากเวนคืนที่ดิน คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดชอบและต้องคืนเงินมัดจำ
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้นคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลยเมื่อปรากฎตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ดังนั้นการปฎิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีกกรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์40,000,000บาทนั้นเมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์