คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้น คือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วย อันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 372 ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ 40,000,000 บาท นั้น เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกเป็นมาตรการอื่นและการจำกัดสิทธิในการฎีกาข้อเท็จจริงในคดีอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 288,80 ลดมาตราส่วนโทษแล้ว ลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 295 ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ดังนี้ เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุก จึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 6 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นบำบัดและอบรมในคดีเยาวชน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอุปสรรค
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,80ลดมาตราส่วนโทษแล้วลงโทษจำคุกจำเลย6ปีให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลยเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมหรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯถือได้ว่าเบากว่าโทษจำคุกจึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา6ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9216/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นบำบัดรักษาในคดีเยาวชน และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ลดมาตราส่วนโทษแล้วลงโทษจำคุกจำเลย 6 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมแทน ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ให้มอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ดังนี้เป็นกรณี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษจำเลย เป็นการแก้ไข เล็กน้อยและการให้ส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรม หรือมอบตัวจำเลยแก่บิดามารดาจำเลยไปอบรมดูแลฯ ถือได้ว่า เบากว่าโทษจำคุก จึงเป็นการให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 และตามตารางกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย ก็ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: ประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้ปฏิบัติงาน
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่า สัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย และ ป. เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด หากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 879 และจะแปลความหมายของคำว่า ผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 879 วรรคหนึ่ง รวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า "ผู้เอาประกันภัย" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 862 อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฏว่า มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ 2.3 คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการ แต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยในสัญญาประกันภัย กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และการกำหนดค่าเสียหาย
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่าสัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่2เป็นผู้เอาประกันภัยและป. เป็นผู้รับประโยชน์จำเลยที่1จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อันจะทำให้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879และจะแปลความหมายของคำว่าผู้เอาประกันภัยตามมาตรา879วรรคหนึ่งรวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า"ผู้เอาประกันภัย"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา862อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฎว่ามีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ2.3คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการแต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงงานอยู่ด้วยจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอทุเลาการบังคับคดีระหว่างอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ไม่อยู่ในอำนาจฎีกา
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้นแท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดีแม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเองกรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์การขอทุเลาการบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา231ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่นๆดังนั้นฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่าหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้วและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหายทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนและเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6745/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการทุเลาการบังคับคดีและการห้ามฎีกาในเรื่องเดียวกัน
ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้งดการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไว้ก่อนจนกว่าศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาใหม่นั้น แท้จริงแล้วเนื้อหาของคำร้องเป็นเรื่องการขอทุเลาการบังคับในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ใช่เป็นเรื่องงดการบังคับคดี แม้ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งมาในเรื่องงดการบังคับคดีก็ถือได้ว่าเป็นคำสั่งอันเกี่ยวกับการทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์นั่นเอง กรณีเช่นนี้เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งประการใดแล้วก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ ซึ่งกฎหมายไม่ประสงค์จะให้ศาลฎีกาไปเกี่ยวข้องกับการขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์ การขอทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ.มาตรา 231ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 จึงเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดวิธีการไว้เป็นพิเศษ ไม่อยู่ในบังคับแห่งการอุทธรณ์และฎีกาอย่างเรื่องอื่น ๆดังนั้น ฎีกาจำเลยทั้งสองที่ว่า หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการบังคับคดีและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไปก่อนแล้ว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ จำเลยทั้งสองจะได้รับความเสียหาย ทั้งหนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีนี้ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน และเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ ซึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องทุเลาการบังคับ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยล้มละลายไร้สิทธิฟ้องคดีอื่นเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลย และบัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
of 54