คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จิระ บุญพจนสุนทร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 531 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความละเลยหน้าที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์ไม่เสียสิทธิ แต่จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส. ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้ แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติ หน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของทนายต่อการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย และค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา
ตามฟ้องของโจทก์กล่าวโดยสรุปว่า โจทก์มอบให้สำนักงานของจำเลยฟ้อง ส.ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยร่วมทนายประจำสำนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด สำนักงานของจำเลยมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้รายนี้ แต่ปล่อยเวลาล่วงเลยจนพ้นกำหนดโดยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นเหตุให้โจทก์หมดสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้รายนี้ ทั้งที่ลูกหนี้มีทรัพย์พอชำระหนี้ได้ ขอให้บังคับจำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระโจทก์อยู่ ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์อ้างว่าจำเลยต้องรับผิดเพราะเหตุที่โจทก์หมดสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่คดีล้มละลายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของ ส.ลูกหนี้ (จำเลย) ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งไม่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินที่มีอยู่แต่อย่างใด โจทก์จึงยังไม่หมดสิทธิที่จะได้ชำระหนี้จากลูกหนี้โดยยังมีสิทธิขอบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเดิมที่โจทก์อาศัยมาเป็นมูลหนี้ในการฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ ดังนี้เมื่อข้ออ้างของโจทก์ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้จำเลยและจำเลยร่วมต้องรับผิดมิได้เป็นไปดังที่โจทก์อ้าง จึงไม่อาจจะบังคับให้จำเลยและจำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องได้
แต่การที่จำเลยและจำเลยร่วมไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ เป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้สำเร็จลุล่วงต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการจอดรถเสียบนสะพานทำให้เกิดอุบัติเหตุ การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุโดยตรง
รถโดยสารคันเกิดเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ขับได้จอดอยู่บนสะพาน ด้วยเหตุรถเสียตั้งแต่เวลาประมาณ 22 นาฬิกา โดยจำเลยที่ 3 เปิดไฟกะพริบไว้ทางด้านท้ายรถโดยสารและได้นำเบาะรถมาวางพาดไว้ทางด้านซ้ายรถโดยสารทั้งนำถุงพลาสติกมาผูกติดไว้เพื่อให้สามารถมองเห็นได้เป็นเครื่องหมายในการป้องกันเหตุ แต่จุดที่รถโดยสารจอดอยู่นั้นเลยส่วนโค้งกลางสะพานไปเพียง 30 เมตร และรถที่แล่นมาจะสามารถเห็นรถโดยสารที่จอดเสียนั้นต่อเมื่อขึ้นโค้งสะพานแล้ว ไฟกะพริบที่จำเลยที่ 3 เปิดไว้ก็ดี เบาะรถตลอดจนถุงพลาสติกที่ผูกติดไว้ก็ดี ล้วนแต่อยู่ติดกับตัวรถโดยสารทั้งสิ้นระยะห่างที่สามารถเห็นได้จึงอยู่ในระยะเดียวกับที่รถโดยสารจอดเสียคือประมาณ 30 เมตร จากส่วนโค้งกลางสะพานเท่านั้น โดยเป็นระยะที่กระชั้นชิดซึ่งคาดเห็นได้ว่าอาจจะก่อให้เกิดอันตรายแก่รถยนต์ที่สัญจรได้ การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดอันตราย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องก่อน/หลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และมูลหนี้ที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาในคดีแพ่งโดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 จนกว่าจำเลยและบริวารจะออกไปจากที่พิพาท มูลหนี้ดังกล่าวสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ ส่วนมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2529 ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นต้นไปไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ที่ผู้ร้องต้องชำระให้แก่จำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 102

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย และสิทธิเรียกร้องที่จำกัดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้องมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2528จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้
จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัท อ. และบริษัท ท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดิน ปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2 ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง 7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน 4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการพิสูจน์สิทธิเจ้าหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 2 โดยผู้ร้อง มีสิทธิได้รับค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2528 จนกว่าจำเลยที่ 2 และบริวารจะออกไปจากที่พิพาท จึงเท่ากับศาลพิพากษากำหนดค่าเสียหาย ให้ผู้ร้องได้รับเป็นรายเดือนทุกเดือนไปจนกว่าจำเลยที่ 2จะส่งมอบที่ดินและอาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ดังนั้น มูลหนี้รายนี้จึงสามารถแบ่งแยกกันได้ว่าค่าเสียหายเดือนใดเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถ้าหากค่าเสียหายเดือนใดที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 2ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้ได้ แต่ภายหลังจำเลยที่ 2ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวในวันที่ 16 เมษายน 2529 แล้วมูลหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่ 16 เมษายน 2529 เป็นต้นไปจึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ร้องได้รับภายหลังจากมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำค่าเสียหายส่วนนี้มาหักกลบลบหนี้ จำเลยที่ 4 เคยฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นจำเลยฐานผิดสัญญา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลมีคำสั่ง ให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยให้จำเลยที่ 4 เข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินและอาคารพิพาทมีกำหนด 3 เดือน แต่จำเลยที่ 4 ต้องวางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 400,000 บาท ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินต่อศาลชั้นต้น ต่อมาศาลชั้นต้นได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่โดยให้บริษัทอ.และบริษัทท. เข้าทำประโยชน์มีกำหนด 3 เดือน โดยให้วางเงินต่อศาลชั้นต้นเดือนละ 200,000 บาทบริษัททั้งสองได้วางเงินเพียง 200,000 บาท และผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในอาคารที่ปลูกสร้างบนที่ดินปรากฏผลคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิที่จะขอรับเงินค่าตอบแทนดังกล่าว ดังนี้ จึงเท่ากับผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าว จำเลยที่ 2ไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ร้อง เพราะการที่ศาลชั้นต้นให้คู่ความในคดีวางเงินต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา จะผูกพันก็เฉพาะคู่ความในคดีนั้น ผู้ร้องจึงมิใช่เป็นเจ้าหนี้ในจำนวนเงินค่าตอบแทนดังกล่าวแม้มูลหนี้จะเกิดก่อนจำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องจะต้องไปว่ากล่าวเป็นกรณีต่างหาก ผู้ร้องไม่มีสิทธินำเงินค่าตอบแทนในคดีดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้เลิกกันในวันที่ 30 พฤษภาคม 2528 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือและผู้ร้องมีสิทธิริบเงินตามสัญญาเพียง7,000,000 บาท โดยผู้ร้องต้องคืนเงินแก่จำเลยที่ 2 จำนวน4,400,000 บาท ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่คืนจึงต้องถือว่าผู้ร้องผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ผู้ร้องบอกเลิกสัญญา ผู้ร้องต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2528จนกว่าชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2927/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ฟ้องซ้ำสิทธิระงับ คดีก่อนมีคำพิพากษาแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุในคดีอาญาคดีก่อนว่า ระหว่างวันที่ 18พฤศจิกายน 2536 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2536 มีคนร้ายลักเอาเช็คของผู้เสียหายไป ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2536 จำเลยนำเช็คของผู้เสียหายที่ถูกลักไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยเป็นคนร้ายลักเช็คของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้าง หรือมิฉะนั้นตามวันเวลาดังกล่าวถึงวันที่จำเลยนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร จำเลยรับของโจรซึ่งเช็คของผู้เสียหายที่ถูกลักไปไว้จากคนร้าย และจำเลยช่วยซ่อนเร้นช่วยจำหน่าย และเอาไปเสียซึ่งเช็คในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายหรือประชาชน ส่วนคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2536 จำเลยได้ปลอมเช็คและใช้เช็คฉบับดังกล่าวของผู้เสียหาย ยื่นเรียกเก็บเงินต่อธนาคารเพื่อถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหาย เห็นได้ว่าวันเวลาเกิดเหตุในคดีก่อนและคดีนี้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน พฤติการณ์ของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้บ่งชี้ว่าจำเลยมีเจตนามุ่งประสงค์จะเบิกถอนเงินจากบัญชีของผู้เสียหายเป็นสำคัญการที่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างรับของโจรและเอาไปเสียซึ่งเช็คของผู้เสียหายผู้เป็นนายจ้างอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคหนึ่ง,188 นั้น ก็เพื่อนำไปทำปลอม แล้วนำไปเบิกถอนเงินจากธนาคารในช่วงเวลาเดียวกันจึงเป็นเจตนาเดียวกันนั่นเอง ดังนั้น การกระทำของจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้จึงเป็นความผิดกรรมเดียว การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยเป็น 2 คดี เมื่อจำเลยถูกฟ้องและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดลงโทษจำเลยในคดีอาญาก่อนแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดกรรมเดียวกันเป็นคดีนี้อีก เพราะสิทธินำคดีอาญามาฟ้องเป็นอันระงับไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องหนี้จากการค้ำประกันและการสะดุดหยุดของอายุความเมื่อมีการฟ้องร้อง
เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาค้ำประกันห้างหุ้นส่วนช. ต่อเทศบาลเมืองสุรินทร์โดยลูกหนี้ที่1ทำสัญญาค้ำประกันห้างหุ้นส่วนช. ไว้กับเจ้าหนี้ต่อมาห้างหุ้นส่วนช.ผิดสัญญาต่อเทศบาลเมืองสุรินทร์เจ้าหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ไปเมื่อวันที่18กุมภาพันธ์2523จากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนช. กับลูกหนี้ที่1ให้ชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ไปซึ่งต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ห้างหุ้นส่วนช.ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่เจ้าหนี้ได้จ่ายให้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์ และให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่1แต่ไม่ตัดสิทธิเจ้าหนี้ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความเมื่อลูกหนี้ที่1ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่1ดังนี้ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่1ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่4มีนาคม2534ซึ่งล่วงพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันที่18กุมภาพันธ์2523ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่เทศบาลเมืองสุรินทร์และเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่1ได้เป็นต้นไปสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกร้องหนี้จากสัญญาค้ำประกัน: ผลกระทบจากการฟ้องคดีและผลการพิจารณาคดีต่อลูกหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจากการฟ้องคดีและการบังคับสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)
of 54