พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7235/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนา การขาดนัดยื่นคำให้การ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องที่ภูมิลำเนาของจำเลยทั้งห้าตามหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครสำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทั้งนี้หนังสือรับรองและ แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรดังกล่าวเป็นหลักฐานเบื้องต้นของทางราชการที่แสดงว่าจำเลยทั้งห้ามีถิ่นอยู่อันเป็นภูมิลำเนา ณ ที่นั้น จำเลยทั้งห้าจึงมีหน้าที่นำสืบว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวแต่พยานหลักฐานจำเลยทั้งห้าฟังไม่ได้ว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามหลักฐานดังกล่าวไปแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยทั้งห้ายังคงมีภูมิลำเนาอยู่ตามหนังสือรับรองและแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งห้า ณ ภูมิลำเนาดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบ เมื่อจำเลยทั้งห้าไม่ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดถือว่าจำเลยทั้งห้าขาดนัดยื่นคำให้การ
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาที่แน่นอนตามสถานที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ศาลจะส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศหน้าศาลแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 โดยไม่ได้ส่งหมายโดยวิธีธรรมดาก่อนจึงไม่ชอบ จะถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 5 ทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วยังไม่ได้ ทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นกรณีมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ชอบที่จะต้องเพิกถอนเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
การส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นั้นไม่พบจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงทำการปิดหมายไว้ เมื่อถึงวันนัดจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาล จึงเป็นกรณีมิอาจติดต่อส่งหมายให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โดยวิธีธรรมดาได้ ที่ศาลชั้นต้นปิดประกาศแจ้งวันนัดสืบพยานให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่หน้าศาลจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 79 แล้ว เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์จึงเป็นการจงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมีทุนทรัพย์: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ได้ แม้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลในชั้นต้นเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์มาแต่ต้น และศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้เรียกเก็บตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมเสียอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องโจทก์เสียได้ คดีนี้ความเพิ่งปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าฟ้องโจทก์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ จึงล่วงเลยเวลาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะย้อนสำนวนไปสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเสียให้ถูกต้อง เมื่อจำเลยเป็นผู้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจ ที่จะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยังขาดอยู่ให้ครบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน การครอบครองทำประโยชน์ และการคัดค้านการรังวัดที่ดิน
++ เรื่อง ที่ดิน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 9 หน้า 170 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 9 หน้า 170 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องสอดเป็นจำเลยร่วมในคดีจำนอง: ผู้โอนสิทธิหลังเกิดพิพาทไม่มีส่วนได้เสีย
หนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอันเป็นฐานแห่งสัญญาจำนองนั้นผู้ร้องมิได้มีส่วนได้เสียเกี่ยวพันด้วย ที่ผู้ร้องอ้างว่า ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนองและรับช่วงภาระการจำนองมาด้วยก็เป็นความเกี่ยวพันรับผิดชอบหลังจากผลพิพาทในมูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ผู้ร้องยังไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในผลแห่งคดีที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันในส่วนที่เกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมในคดีนี้ จึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6922/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการร้องสอดเป็นจำเลยร่วมขึ้นอยู่กับส่วนได้เสียโดยตรงในมูลหนี้เดิม ไม่ใช่ความผูกพันที่เกิดขึ้นภายหลัง
หนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอันเป็นฐานแห่งสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องมิได้มีส่วนได้เสียเกี่ยวพันด้วย ที่ผู้ร้องอ้างว่า ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนองและรับช่วงภาระการจำนองมาด้วยก็เป็นความเกี่ยวพันรับผิดชอบหลังจากผลพิพาทในมูลหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยอีกชั้นหนึ่ง ดังนี้ผู้ร้องยังไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องในผลแห่งคดีที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันในส่วนที่เกี่ยวกับมูลหนี้กู้ยืมในคดีนี้ จึงไม่มีสิทธิร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็นเป็นใจ
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปีก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของมิได้รู้เห็นการกระทำผิด
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 36 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปี ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ป.อ.มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้วจึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
ป.อ.มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้วจึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) ศาลควรสั่งแก้ไขก่อนไม่รับฟ้อง ไม่ใช่ยกฟ้อง
คำฟ้องคดีแพ่งที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อผู้เรียงและไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องมาเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วน แล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องมาเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วน แล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์: ศาลมีอำนาจสั่งแก้ไขก่อนรับคำฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามให้ยกฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 67 (5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนด หากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีลายมือชื่อ ศาลต้องสั่งแก้ไขก่อน หากไม่แก้ไขจึงเพิกถอนคำสั่งรับฟ้อง
คดีแพ่ง คำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ไม่มีลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นเพียงคำฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) ศาลมีอำนาจสั่งให้คืนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ภายในเวลาที่กำหนดหากโจทก์ไม่ปฏิบัติก็ให้มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)
ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ความจึงปรากฏขึ้นในภายหลังว่าคำฟ้องโจทก์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ลายมือชื่อทนายโจทก์ผู้เรียงและลายมือชื่อผู้เขียนหรือพิมพ์ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียก่อน หากโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงจะสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำฟ้องเป็นไม่รับคำฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้องไปเสียทีเดียวเป็นการไม่ชอบ
โจทก์อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับ คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ครบถ้วนแล้วยกคดีของโจทก์ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)