พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดิน: ผลผูกพันตามระยะเวลาและหน้าที่จดทะเบียน
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยลงวันที่ทำสัญญาคือ12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งกำหนดอายุการเช่าไว้เป็นเวลา 20 ปี 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนการเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้ ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม2536 ตามข้อ 5 และ 6 แห่งสัญญาเช่าพิพาท ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าวมีผลบังคับได้คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์2539 เช่นกัน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่าข้อที่ 5 และ 6บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่26 กันยายน 2537 และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17มกราคม 2539 ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ 5 และ 6ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้นความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียน มิฉะนั้นมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี โจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยจดทะเบียนได้ภายในระยะเวลาสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย ลงวันที่ทำสัญญาคือ 12 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งกำหนดอายุการเช่า ไว้เป็นเวลา 20 ปี 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2536 เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2556 ตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียน การเช่า สัญญาดังกล่าวนี้ย่อมมีผลบังคับได้เพียง 3 ปี คือมีผลบังคับจนถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 ข้อกำหนดต่าง ๆ ทุกข้อในสัญญาเช่าพิพาทย่อมมีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาดังกล่าวเช่นกัน ดังนี้ ข้อกำหนดให้ผู้เช่าและ ผู้ให้เช่าต้องไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญา ให้เรียบร้อยภายในวันที่ 31 มีนาคม 2536 ตามข้อ 5 และ 6 แห่งสัญญาเช่าพิพาท ย่อมมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยให้ต้องปฏิบัติตามตราบเท่าที่สัญญาเช่าดังกล่าว มีผลบังคับได้คือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539 เช่นกันเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้อาศัยข้อกำหนดแห่งสัญญาเช่า ข้อที่ 5และ 6 บอกกล่าวเรียกร้องให้จำเลยปฏิบัติ การชำระหนี้คือไปจดทะเบียนการเช่าตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2537 และฟ้องร้องเพื่อการบังคับใช้สิทธิ ดังกล่าวเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2539 ภายในระยะเวลาที่สัญญาเช่าพิพาทซึ่งรวมถึงข้อกำหนดข้อ 5 และ 6ยังมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ที่จะต้อง ปฏิบัติตามข้อผูกพันนั้น จำเลยไม่มีเหตุใด ๆ ที่จะหลุดพ้น ความรับผิดตามสัญญาที่ได้ผูกพันไว้โดยชอบดังกล่าว จึงชอบศาลจะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่านั้นได้ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7452/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของแพทย์ในการขูดมดลูกทำให้ลำไส้ทะลุ ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บสาหัส
จำเลยซึ่งเป็นแพทย์ได้แจ้งโจทก์ว่ามีเด็กตายในท้องโจทก์ โจทก์จึงยินยอมให้จำเลยทำการขูดมดลูกและทำแท้งให้ แต่การที่จำเลยใช้เครื่องมือแพทย์เข้าไปขูดมดลูกของโจทก์ทำให้มดลูกทะลุ ทั้งที่มดลูกของโจทก์มีลักษณะเป็นปกติ มิได้มีลักษณะบางแต่อย่างใด และทำให้ลำไส้เล็กทะลักออกมาทางช่องคลอดยาว 5 เมตร เนื่องจากเครื่องมือแพทย์ที่ใส่เข้าไปในช่องคลอดได้เกี่ยวเอาลำไส้ดึงออกมานั่นเอง จำเลยจึงไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพแพทย์ นับเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยซึ่งต่อมาแพทย์คนอื่นที่ตรวจโจทก์ในภายหลังเห็นว่า หากนำลำไส้ของโจทก์ใส่เข้าไปในร่างกายอีกอาจมีการติดเชื้อในช่องท้อง จึงได้ทำการตัดลำไส้ที่ทะลักออกมาทิ้งไป จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความเดิม แม้คำท้าไม่ตรงตามผลพิพากษา และเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงมีอำนาจฟ้อง
คู่ความท้ากันว่า ให้ถือเอาผลคดีถึงที่สุดในคดีแพ่งเป็นข้อแพ้ชนะโดยหากผลในคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจำเลยคดีนั้นยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากศาลพิพากษาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าโจทก์คดีนี้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ คู่ความไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินพิพาทโดยโจทก์คดีนี้ได้ช่วยออกเงินบางส่วนให้จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเมื่อจำเลยชำระหนี้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนให้จำเลย ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์คดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โจทก์เพียงลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เมื่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ตรงกับคำท้า เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่เพราะเหตุที่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง จึงไม่ได้ผลชี้ขาดตามคำท้า ข้อที่ท้ากันย่อมตกไปศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามประเด็นในคดีต่อไป
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคดีอื่น และการไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
คู่ความท้ากันว่า ให้ถือเอาผลคดีถึงที่สุดในคดีแพ่งเป็นข้อแพ้ชนะโดยหากผลในคดีดังกล่าวศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ ถือว่าจำเลยคดีนั้นยอมรับข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากศาลพิพากษาว่าโจทก์ในคดีดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าโจทก์คดีนี้ยอมรับข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลยโจทก์ยอมแพ้ คู่ความไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีดังกล่าวคดีถึงที่สุดแล้วว่าจำเลยคดีนี้เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทและว่าจ้างให้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินพิพาทโดยโจทก์คดีนี้ได้ช่วยออกเงินบางส่วนให้จำเลยโดยมีเงื่อนไขให้โอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และเมื่อจำเลยชำระหนี้คืนให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จะโอนที่ดินพิพาทคืนให้จำเลย ซึ่งมีผลเท่ากับโจทก์คดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง โจทก์เพียงลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนเท่านั้น เมื่อคำวินิจฉัยของศาลฎีกาไม่ตรงกับคำท้า เพราะศาลฎีกามิได้พิพากษาว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และที่ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่เพราะเหตุที่โจทก์ในคดีนี้มิใช่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง จึงไม่ได้ผลชี้ขาดตามคำท้า ข้อที่ท้ากันย่อมตกไปศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ตามประเด็นในคดีต่อไป
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความที่ศาลฎีกาพิพากษาในคดีก่อนผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 และเมื่อข้อเท็จจริงในคดีก่อนปรากฏว่าโจทก์มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่แท้จริง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สืบพยานจึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่? ความเสียหายจากอุบัติเหตุรถชนท้าย การพิสูจน์ความเสียหายและผลของการชนต่อเนื่อง
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายรวม207,167.69 บาท โดยแนบสำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อมใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดแนบท้ายฟ้องมาด้วย ซึ่งระบุรายการซ่อม มาชัดแจ้ง ดังนั้นสภาพแห่งความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ ของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดนั้นจึงแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้ว จึงได้กระดอนไถลไปชนท้าย รถยนต์ ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้า เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้าย รถยนต์ ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์ จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริง ที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำ ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7229/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนแห่งความเสียหายและการรับผิดจากการชนท้าย ย่อมไม่เปลี่ยนแปลงผลจากการกระทำละเมิด
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ว่า การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1ทำให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายรวม 207,167.69 บาท โดยแนบสำเนาใบเสนอราคาค่าซ่อม ใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดแนบท้ายฟ้องมาด้วย ซึ่งระบุรายการซ่อมมาชัดแจ้ง ดังนั้นสภาพแห่งความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดนั้นจึงแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้วจึงได้กระดอนไถลไปชนท้ายรถยนต์ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
รถยนต์ของโจทก์ถูกรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับมาชนท้ายก่อนแล้วจึงได้กระดอนไถลไปชนท้ายรถยนต์ที่จอดรอเลี้ยวขวาอยู่ข้างหน้าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหาย ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 จะชนท้ายรถยนต์ของโจทก์ในขณะที่รถยนต์ของโจทก์จอดนิ่งแล้วหรือไม่ และรุนแรงเพียงใดนั้น ย่อมไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังเปลี่ยนแปลงผลแห่งความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจกับการเพิกถอนการขายทอดตลาด ศาลไม่อาจเพิกถอนหากเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามกฎหมาย
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะ อ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่า ผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาล จะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอน การขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6829/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจผู้รับมอบอำนาจในการประมูลทอดตลาด ไม่เป็นเหตุเพิกถอนการขาย
ป.วิ.พ. มาตรา 296
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ดำเนินการยื่นขอซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเกินขอบอำนาจที่โจทก์ได้ให้ไว้ เป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจซึ่งไม่มีใครสามารถล่วงรู้ และถ้าหากความจริงจะปรากฏตามที่โจทก์กล่าวอ้างก็เป็นเรื่องที่ผู้รับมอบอำนาจจะต้องรับผิดชอบต่อโจทก์โดยส่วนตัว เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกับผู้รับมอบอำนาจเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก หาได้เป็นเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เพราะกฎหมายกำหนดเหตุที่จะอ้างเพื่อเพิกถอนการขายทอดตลาดไว้ว่า ต้องเป็นกรณีที่ต้องด้วยมาตรา 296 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. คือ เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ตามคำร้องโจทก์อ้างว่าผู้รับมอบอำนาจเข้าสู้ราคาเป็นจำนวนเงินที่สูงเกินขอบเขตอำนาจแล้วมาขอเพิกถอน ดังนี้ จึงไม่มีข้อที่ศาลจะยกขึ้นมาอ้างว่าการขายทอดตลาดมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ที่จะยกมาเป็นเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6640/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: ข้อแก้ตัวที่ไม่สมเหตุผล
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยทั้งสามได้ในขณะที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขับรถกระบะของกลาง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 นั่งโดยสารมาด้วย เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้ตรวจค้นและพบเครื่องกระสุนปืนของกลางซุกซ่อนอยู่ใต้เบาะด้านหลังคนขับซึ่งมีการดัดแปลงไว้โดยเฉพาะ ซึ่งรถกระบะของกลางดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองโดยการเช่าซื้อ การที่จำเลยทั้งสามแก้ตัวว่ามีบุคคลอื่นยืมรถไปใช้ก่อนระยะเวลาหนึ่งแล้วยังได้อาศัยโดยสารรถมาและกระโดดหนีไปก่อนถูกตรวจค้น เป็นทำนองว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ดัดแปลงรถและซุกซ่อนของกลางมานั้นขัดต่อเหตุผลเพราะบุคคลดังกล่าวไม่น่าจะนำรถกระบะของกลางมาคืนให้แก่ จำเลยที่ 1 ทั้ง ๆ ที่ยังมีเครื่องกระสุนปืนของกลางซุกซ่อน ไว้ และก็ไม่มีเหตุผลใดที่จำเลยทั้งสามไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานตำรวจทราบตั้งแต่วันจับกุมหรือสอบสวน ข้อแก้ตัวของจำเลยทั้งสามจึงฟังไม่ขึ้น