พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับทราบคำสั่งศาลและการทิ้งอุทธรณ์: ผลของการเพิกเฉยต่อข้อกำหนดศาล
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาล หาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่งเมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบคำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนดดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการรับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่งที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยมิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3988/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล และการรับทราบคำสั่งผ่านผู้รับมอบฉันทะ
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์โดยกำหนดให้มาทราบคำสั่งของศาลดังกล่าวในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ถ้าไม่มาถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อทราบข้อกำหนดและวันนัดดังกล่าวไว้ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นขั้นตอนการปฏิบัติของศาลในการกำหนดวิธีการรับทราบคำสั่งของศาลมีผลเป็นคำสั่งของศาลหาได้เป็นเพียงการคาดหมายของเจ้าพนักงานศาลว่าศาลจะมีคำสั่ง เมื่อใดไม่และเมื่อการรับทราบข้อกำหนดของศาลที่ให้มาทราบ คำสั่งศาลในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เป็นกิจที่ผู้รับมอบฉันทะ จากทนายจำเลยได้รับมอบมาดำเนินการแทน และการทราบข้อกำหนด ดังกล่าวของศาลโดยผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยย่อมมีผลเป็นการ รับทราบของทนายจำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยตลอดจนคำสั่ง ที่ให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ตามที่กำหนด ดังนี้ เมื่อจำเลยเพิกเฉย มิได้มีการนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายในเวลากำหนดจึงต้องถือว่า จำเลยทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเปลี่ยนลักษณะการยึดถือจากเดิมที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป. เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่เป็นการครอบครองแทนเจ้าของเดิม หากเจ้าของเดิมให้ความยินยอม
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ครอบครองที่ดินและตึกแถวที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเกินสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดย ป.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อนุญาต จึงเป็นการที่จำเลยยึดถือครอบครองแทน ป.เมื่อมิใช่ ป.ได้ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้จำเลยยึดถือครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของ และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนั้นไม่ว่า ว.และโจทก์ได้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตหรือไม่ จำเลยก็ไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
โจทก์ฎีกาว่า ที่ดินและตึกแถวพิพาทมีอัตราค่าเช่าไม่น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวเพียงแต่แก้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้น ปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3350/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย แม้ประเมินราคาต่ำกว่าตลาด
ตามประเพณีของธนาคารจะให้วงเงินรับจำนองทรัพย์ต่ำกว่าราคาที่เป็นจริงสำหรับราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประมาณราคาเพื่อนำมาคำนวณค่าธรรมเนียม ในกรณียึดแล้วไม่มีการขาย และเพื่อดูว่าทรัพย์สินที่ยึด เพียงพอที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เป็นการ ประเมินแบบคร่าว ๆ มิใช่ประเมินตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง แต่การขายทอดตลาดผู้ทอดตลาดอาจคำนวณราคาโดยอาศัยวงเงิน ที่โจทก์รับจำนองประกอบกับประเพณีของธนาคารที่จะรับจำนอง ในวงเงินที่ต่ำกว่าราคาทรัพย์ที่แท้จริงและจำเลยไม่จำเป็น ต้องคัดค้างการประเมินราคาของเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่จะประเมินราคาให้เหมาะสม โดยให้ขายได้ราคาสูงสุดเท่าที่จะสามารถประมูลขายได้ เมื่อพฤติการณ์น่าเชื่อว่าหากมีการประกาศขายใหม่จะมี ผู้สู้ราคาสูงกว่าในครั้งนี้ การอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงาน บังคับคดีในครั้งนี้จึงมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการ ขายทอดตลาด เป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 153 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 308 ซึ่งศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงาน บังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพแล้วปฏิเสธฟ้อง: ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยานก่อนพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยาน การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา243 (1) ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้การรับสารภาพแล้วปฏิเสธภายหลัง ศาลต้องเปิดโอกาสโจทก์สืบพยาน หากไม่ทำเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรจำเลยยื่นคำให้การรับสารภาพฐานรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นสอบจำเลย จำเลยกลับแถลงเพิ่มเติมว่า จำเลยไม่รู้ว่าทรัพย์ที่เอามาเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา แม้ถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังไม่ทราบคำแถลงเพิ่มเติมที่เป็นการให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานรับของโจรไปโดยผิดหลง เพราะเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ศาลชั้นต้นจึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยานเช่นนี้ เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธ แต่โจทก์ไม่ติดใจสืบพยานการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีลงโทษจำเลยไป จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15เมื่อความปรากฏแก่ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาระหว่างโจทก์กับจำเลย แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนกฎหมาย ทำให้ศาลฎีกาไม่สามารถวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาแต่จำเลยทั้งสามรับสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้วได้ยื่นคำแถลงคัดค้าน กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้และส่งอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังศาลฎีกา จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2328/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการต่างประเทศและการประทับตราปลอมของเจ้าพนักงาน แม้เอกสารนั้นมิใช่ของไทยก็ถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
แม้คำว่าเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(8) และมาตรา 265 จะหมายถึงเอกสารของทางราชการไทยเท่านั้นก็ตาม แต่การที่จำเลยประทับตราปลอมของด่านตรวจคนเข้าเมืองหาดใหญ่ ที่อนุญาตให้ผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นผ่านออกก็เป็นการปลอมเอกสารราชการของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คค้ำประกันหนี้ซื้อขายหุ้น: การจ่ายเช็คล่วงหน้าเพื่อซื้อหุ้นโดยโจทก์ออกเงินทดรอง ไม่ถือเป็นเจตนาทุจริต
การที่จำเลยสั่งโจทก์ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และได้ออกเช็คเพื่อการชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นไว้แก่โจทก์ โดยโจทก์ต้องออกเงินทดรองจ่ายให้ก่อน เมื่อทวงถามจำเลยไม่ชำระโจทก์ก็ชอบที่จะนำหลักทรัพย์คือหุ้นที่เป็นของจำเลยออกขายแล้วนำมาหักกลบลบหนี้ได้ แสดงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ทั้งที่ยังไม่รู้ถึงจำนวนหนี้แน่นอน จะรู้เมื่อหักหุ้นที่โจทก์นำออกขายและนำมาหักกลบลบหนี้เหลือเป็นจำนวนหนี้สุทธิ ดังนั้น การจ่ายเช็คของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการค้ำประกันหนี้ ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534