คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย วิมลเศรษฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดพ.ร.บ.ป่าไม้ ศาลลงโทษได้แม้โจทก์มิได้อ้างบทลงโทษโดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก. และอ้างบทมาตรา 11 ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน: การลงโทษตามบทกฎหมาย และการพิจารณาข้อเท็จจริงเพื่อตัดสินโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องมาแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยทั้งห้าได้ร่วมกันบุกรุกเข้าไปตัดโค่นทำไม้หวงห้ามประเภท ก.และอ้างบทมาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484อันเป็นบทห้ามกระทำความผิดแล้ว แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 73 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทลงโทษมาด้วย ศาลย่อมลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง ได้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1935/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผู้เสพยาเสพติด: หลักนิติธรรมและการเยียวยามากกว่าการลงโทษก่อนก่ออาชญากรรม
ในกรณีเป็นผู้เสพยาเสพติดนั้น ย่อมเกิดผลร้ายแก่ตัวผู้เสพซึ่งพึงต้องได้รับการเยียวยาแก้ไขเป็นเบื้องต้นส่วนปัญหาที่โจทก์อ้างว่าเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมนั้นเป็นเพียงแนวโน้มซึ่งมิได้เป็นจริงทุกกรณี ตราบใดที่ผู้เสพติดยังมิได้กระทำการใดขึ้นเป็นการก่ออาชญากรรมการลงโทษรุนแรงไว้ก่อนย่อมเป็นดังการลงโทษล่วงหน้าสำหรับความผิดที่ยังมิได้เกิด เป็นการลงโทษที่ขัดต่อหลักนิติธรรม เป็นนโยบายการป้องกันที่ผิดและสร้างปัญหาให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อเท็จจริงแห่งคดีไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำที่เป็นส่วนแห่งการก่ออาชญากรรม หรือมีส่วนสนับสนุนแพร่กระจายยาเสพติด เหตุผลต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างในฎีกาจึงเป็นการสรุปที่ให้ผลร้ายแก่จำเลยที่ เกินเหตุไม่อาจรับฟังเปลี่ยนแปลงดุลพินิจของศาลล่างทั้งสอง ที่ให้รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยรั้ว การใช้สิทธิโดยสุจริตของส่วนราชการ และความรับผิดของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3 ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว. ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีกจำเลยที่ 2 ได้ให้ ว. ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่ารั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและอำนาจฟ้อง: การกระทำของจำเลยที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 1 และ 2
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 นำชี้ให้จำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์เนื้อที่ประมาณ 16 ตารางวา เมื่อรั้วที่จำเลยที่ 3ก่อสร้างตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 นำชี้รุกล้ำที่ดินของโจทก์อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จะอ้างว่าเป็นการกระทำเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 ไม่ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย
โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 3 ก่อสร้างรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์กรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ผู้ให้เช่าจึงมีคำสั่งให้ ว.ไปรังวัด พบว่าจำเลยที่ 3ก่อสร้างรั้วเกินเขตที่เช่าไปประมาณ 1.80 เมตร จึงให้จำเลยที่ 3 รื้อรั้วออกไปแล้วก่อสร้างใหม่ให้อยู่ในแนวเขตที่เช่า แต่โจทก์อ้างว่ารั้วที่ก่อสร้างใหม่ยังคงรุกล้ำที่ดินของโจทก์อยู่อีก จำเลยที่ 2 ได้ให้ ว.ไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งและได้มีหนังสือนัดให้ทนายโจทก์และจำเลยที่ 3 ไปร่วมตรวจสอบ ก็ไม่ปรากฏว่า รั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์แต่อย่างใด มาปรากฏว่ารั้วรุกล้ำเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปตรวจสอบ การที่โจทก์กล่าวหาว่าก่อสร้างรั้วรุกล้ำแนวเขตที่ดินสืบเนื่องมาจากโฉนดที่ดินที่พิพาทเป็นโฉนดที่ดินแบบเก่า การโต้แย้งของกระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 และกรมธนารักษ์จำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ที่ดินของรัฐ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้เช่าจะต้องยึดถือตามแนวเขตที่จำเลยที่ 2 นำชี้ หาใช่เป็นการกระทำโดยพลการไม่การก่อสร้างรั้วก็กระทำตามที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ยืนยันแนวเขตที่เช่า ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำการโดยสุจริต ไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันจะเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน น.ส.3 ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการเพิกถอน จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ปัญหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ป่าช้าเดิมตามความเห็นเบื้องต้นจากผลการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ยังมิได้ผ่านกระบวนการเพิกถอนที่โจทก์ร่วมผู้มีชื่อใน น.ส.3มีโอกาสที่จะพิสูจน์โต้แย้งโดยเต็มที่ได้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ในความผิดฐานบุกรุก ข้อเท็จจริงที่ น.ส. 3 มิได้มีการเพิกถอนตามที่ได้ร้องเรียน จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 ได้ทราบดีอยู่แล้วหากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 13 ไม่ยอมรับสิทธิของโจทก์ร่วมที่พึงมีในที่พิพาทตามเอกสารราชการที่ยังมีผลอยู่ตามกฎหมายก็พึงดำเนินการใช้สิทธิของตนฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาลได้ต่อไปตามขั้นตอนอันชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 13กลับเลือกวิธีการเข้าไปปลูกต้นสัก ในที่ดินพิพาทโดยพลการเป็นการกระทำที่ไม่อาจอ้างเป็นการสุจริตได้ จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบมาตรา 83,362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่ฐานะไม่มั่นคง ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ค้ำประกันหนี้ลูกหนี้ที่มีฐานะล้มละลาย ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย
ในขณะที่เจ้าหนี้เข้าเป็นกรรมการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้ก็มีหนี้สินมาก อย่างน้อยธนาคาร อ. ก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ และถึงขนาดที่มีการตรวจสอบฐานะและต้องแนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าไปบริหารของลูกหนี้แล้ว ฐานะของลูกหนี้จึงมิได้อยู่ในสภาพที่ดีหรือมั่นคง ตรงกันข้ามการที่เจ้าหนี้ต้องค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับในฐานะส่วนตัวต่อธนาคาร อ. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่แนะนำสนับสนุนเจ้าหนี้เข้าไปบริหารงานของลูกหนี้ ยิ่งแสดงให้เห็นชัดถึงภาวะความมีหนี้สินล้นพ้นตัวถึงขนาดที่ลำพังฐานะของลูกหนี้อยู่ในภาวะที่ไม่น่าไว้วางใจได้แล้วแน่ชัด ฉะนั้น การที่เจ้าหนี้ยังยอมตนเข้าค้ำประกันหนี้ทั้งสองอันดับ จึงเป็นการกระทำที่เจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นหนี้ที่ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 94(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6918/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงโดยครูผู้ดูแล พยานหลักฐานสนับสนุนคำเบิกความผู้เสียหายเพียงพอ ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
ผู้เสียหายเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลยย่อมมีความคุ้นเคยและจดจำบุคลิกลักษณะของจำเลยได้เป็นอย่างดี ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงหากเรื่องที่เกิดขึ้นไม่เป็นความจริงผู้เสียหายคงไม่กล้ายืนยันเรื่องดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งน่าอับอายและเสียหายต่อชื่อเสียงอันเป็นผลร้ายต่อผู้เสียหายเอง ทั้งผู้เสียหายก็เบิกความไปตามลำดับขั้นตอนและสมเหตุผล น่าเชื่อว่าผู้เสียหายเบิกความไปตามความเป็นจริง
ตามสูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปว่าในแต่ละวันดวงจันทร์จะขึ้นจากพื้นพิภพเวลาเท่าไร และจะขึ้นช้าลงวันละ 48 นาทีทั้งดวงจันทร์จะตกลงหลังจากขึ้นแล้ว 12 ชั่วโมง วันเกิดเหตุวันที่ 22 ตุลาคม 2536 ตรงกับวันขึ้น 7 ค่ำ ตามสูตรสำเร็จดังกล่าวดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพเวลา 11.36 นาฬิกาและดวงจันทร์ตกลงพื้นเวลา 23.36 นาฬิกา ช่วงวันเวลาเกิดเหตุวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536 ดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพแล้วทั้งสิ้น ขณะเกิดเหตุซึ่งเป็นเวลากลางคืนย่อมมีแสงจันทร์ดังที่ผู้เสียหายเบิกความ ฟังได้ว่าเมื่อวันที่ 22,23 และ 24 ตุลาคม 2536จำเลยได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งอายุไม่เกินสิบสามปีและเป็นการกระทำแก่ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลย พยานจำเลยไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี รวมสองกระทงจำคุก 8 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดสามกระทงแต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้โทษจึงให้เป็นไปตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด กรณีเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากการฟ้องขับไล่: สิทธิเกิดพร้อมการฟ้องคดีหลัก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าตึกแถวที่พิพาทและสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วแต่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในตึกแถวที่พิพาทตลอดมาโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า การเช่าระหว่างโจทก์จำเลยมีสัญญาต่างตอบแทน ขอให้ศาลบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท ขอให้โจทก์ใช้เงิน 100,800 บาทพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำให้การและฟ้องแย้งสิทธิหน้าที่ของโจทก์ตามสัญญาต่างตอบแทนย่อมมีอยู่แล้ว ส่วนที่จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า หากโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทนั้น มิได้หมายความว่า หลังจากศาลพิพากษาแล้วโจทก์มีสิทธิเลือกจะให้จำเลยเช่าอยู่ต่อไปหรือให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยย่อมหมายความว่า โจทก์ประสงค์จะให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทตั้งแต่แรก ดังนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีขับไล่จำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยตั้งแต่ขณะที่ฟ้องจำเลยผู้ถูกโต้แย้งสิทธิย่อมเกิดสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายในขณะเดียวกันสิทธิการฟ้องแย้งของจำเลยหาได้เกิดภายหลังเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยแล้วไม่ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงมิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขบังคับใด ๆ หากแต่เป็นสิทธิที่เกิดสืบเนื่องจากการฟ้องคดีขับไล่นี้โดยตรงและเป็นคดีเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมจึงชอบที่จะรับฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณาต่อไป
of 78