พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ตามสัญญาได้
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้น คือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วย อันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 372 ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใด โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์ 40,000,000 บาท นั้น เมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากเวนคืนที่ดิน คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดชอบและต้องคืนเงินมัดจำ
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทนั้นคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลยเมื่อปรากฎตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดินและที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ดังนั้นการปฎิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขายกรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีกกรณีไม่อาจถือได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้สำหรับเงินมัดจำที่จำเลยรับไว้จากโจทก์40,000,000บาทนั้นเมื่อการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้จำเลยก็ต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9241/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินตกเป็นพ้นวิสัยเนื่องจากมีการเวนคืนที่ดิน ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องชำระหนี้ต่อกัน
วัตถุประสงค์แห่งหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทคือการรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่จะซื้อสำหรับโจทก์และการชำระค่าที่ดินตามจำนวนที่ตกลงกันสำหรับจำเลย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตั้งแต่วันถึงกำหนดโอนตามสัญญาว่ามีการเวนคืนที่ดิน และที่ดินที่จะซื้อจะขายอยู่ในเขตเวนคืนด้วยอันจะมีผลทำให้ที่ดินที่จะซื้อจะขายถูกเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ดังนั้น การปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาจึงเกิดปัญหาทั้งในส่วนจำนวนเนื้อที่ดินที่โจทก์จะพึงได้รับตามที่ได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ และในส่วนจำนวนค่าที่ดินที่จำเลยมุ่งไว้ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามสัญญาจะซื้อจะขาย กรณีถือได้ว่าการชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทในคดีนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 372ต่างฝ่ายต่างไม่ต้องชำระหนี้ต่อกันต่อไปอีก กรณีไม่อาจเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ และจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยในสัญญาประกันภัย กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และการกำหนดค่าเสียหาย
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่าสัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่2เป็นผู้เอาประกันภัยและป. เป็นผู้รับประโยชน์จำเลยที่1จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อันจะทำให้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879และจะแปลความหมายของคำว่าผู้เอาประกันภัยตามมาตรา879วรรคหนึ่งรวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า"ผู้เอาประกันภัย"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา862อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฎว่ามีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ2.3คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการแต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงงานอยู่ด้วยจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 และตามตารางกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย ก็ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: ประมาทเลินเล่อร้ายแรงของผู้ปฏิบัติงาน
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่า สัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัย และ ป. เป็นผู้รับประโยชน์ จำเลยที่ 1 จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ อันจะทำให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิด หากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 879 และจะแปลความหมายของคำว่า ผู้เอาประกันภัยตามมาตรา 879 วรรคหนึ่ง รวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า "ผู้เอาประกันภัย" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 862 อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฏว่า มีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ 2.3 คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการ แต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลกระทบต่อสิทธิลูกหนี้ในการดำเนินคดี
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยล้มละลายไร้สิทธิฟ้องคดีอื่นเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลย และบัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยได้ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของโจทก์ ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินของจำเลยเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ