คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย วิมลเศรษฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคู่ความไม่มาศาล และหน้าที่จำเลยในการแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ทนายจำเลยที่ 1 มาศาล ส่วนผู้รับมอบอำนาจโจทก์ ทนายโจทก์ จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาล และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องสอบถามจำเลยที่มาศาลก่อน แต่เป็นเรื่องที่จำเลยที่มาศาลต้องแจ้งต่อศาลในวันหรือก่อนวันสืบพยานว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้งต่อศาลชั้นต้นในวันหรือก่อนวันสืบพยานโจทก์ว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้ หาเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอันจะต้องเพิกถอนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความและการบังคับคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ห. เจ้ามรดก เป็นเจ้าของรวมกัน หลังจากโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสาม และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอมศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แบ่งที่ดินพิพาทตามรูปแผนที่ที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้นำชี้อันเป็นการกระทบสิทธิของ ค. ค. ก็ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับโอนที่ดินในคดีประนีประนอมยอมความ การมีส่วนร่วมในการแบ่งแยกที่ดินแสดงถึงการเข้ามาในคดี
ที่ดินพิพาทมีชื่อผู้ร้องสอดกับ ย. เจ้ามรดกเป็นเจ้าของรวมกันใน น.ส. 3 หลังจากโจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ผู้ร้องสอดได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่ ค. ค. จึงเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาทสืบต่อจากผู้ร้องสอด ทั้งในชั้นที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามคำพิพากษาตามยอม ศาลชั้นต้นก็ให้ ค. เข้าไปมีส่วนร่วมในการนำชี้เพื่อแบ่งแยกด้วย จึงถือว่า ค. ได้เข้ามาในคดีและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้แบ่ง ที่ดินพิพาทตามที่จำเลยเป็นผู้นำชี้กระทบสิทธิของ ค. ค. ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ถือเช็คมีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้จะมอบให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงิน
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป.เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป.แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 ประกอบมาตรา 988 (4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 349/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้ถือเช็คโดยชอบมีสิทธิฟ้องเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์โดยจำเลยฝากเช็คไว้กับ ป. เพื่อมอบให้แก่โจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับมอบเช็คจาก ป. แล้วโจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีเช็คไว้ในครอบครองโดยฐานเป็นผู้รับเงินย่อมเป็นผู้ถือเช็คโจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904ประกอบมาตรา 988(4) แม้โจทก์จะมอบให้ผู้อื่นนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทน และถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ก็เป็นเพียงนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแทนโจทก์เท่านั้นเมื่อไม่ปรากฏว่า โจทก์ได้มอบหรือโอนสิทธิอันเกิดแต่เช็คพิพาทให้แก่ผู้อื่นนั้นแล้ว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ ในขณะที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากอัตราดอกเบี้ยสูงเกินสัญญา และการแจ้งเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินกำหนดไว้ 2 อัตรา คิดอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา และอัตราสูงสุดกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามสัญญา ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ เมื่อตามสัญญาดอกเบี้ยสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยสูงสุดไม่ผิดเงื่อนไข แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาประสงค์จะให้อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญาโดยกำหนดเป็นค่าเสียหายล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ในสัญญากู้เงินระบุว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระอันเนื่องมาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยในภายหลัง ผู้กู้ก็ตกลงยินยอมด้วย ในการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้นซึ่งจากข้อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยได้พลการเองโดยมิต้องแจ้งให้จำเลยทราบก่อนแต่อย่างใด เมื่อโจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบก่อนว่าจะปรับดอกเบี้ยกับจำเลยเป็นเท่าใดแล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ยังคิดดอกเบี้ยแก่จำเลยในอัตราตามข้อสัญญาที่กำหนดไว้เดิม
โจทก์อุทธรณ์ขอดอกเบี้ยส่วนที่ขาดเนื่องจากศาลชั้นต้นลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 15.25 ต่อปี และ 18.50 ต่อปีลงเหลือร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2538 จนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 34,409.85 บาท ซึ่งโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวจำนวน 860 บาท เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาเกิน จึงต้องคืนส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้ – การปรับขึ้นดอกเบี้ย – ข้อตกลงในสัญญา – ดอกเบี้ยผิดนัด – การตีความสัญญา
ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญาจะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญาแบบอัตราลอยตัว หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อนทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัดโจทก์ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน แม้สัญญาอนุญาตให้ปรับขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญา จะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความ เหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญา คืออัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 13.5 ต่อปี หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัด หรือผิดเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออก โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด จะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัด โจทก์เองก็ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรม: การระบุเจตนาเผื่อตายในพินัยกรรม และการตีความตามพจนานุกรม
พินัยกรรมคดีนี้นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ ที่ดินตาม... ข้าพเจ้าขอยกให้แก่... แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" ถ้อยคำดังกล่าวบุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่า อ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้นเมื่อ อ. ตาย หาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า "เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ดังนี้ จึงถือได้ว่า อ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646 มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9412/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำพินัยกรรมเพื่อการเผื่อตาย แม้ไม่มีคำว่า 'เผื่อตาย' ก็มีผลบังคับใช้ได้
นอกจากหัวข้อด้านบนจะระบุว่าพินัยกรรมแล้ว ยังมีข้อความต่อไปว่า "ข้าพเจ้า อ. ขอแสดงเจตนาเพื่อทำพินัยกรรมขึ้นไว้ดังต่อไปนี้ที่ดินตาม ข้าพเจ้าขอยกให้แก่ แต่เพียงผู้เดียว" และ "ข้อกำหนดพินัยกรรมนี้เป็นไปตามเจตนาของข้าพเจ้าทุกประการ" บุคคลทั่วไปย่อมเข้าใจได้ว่าอ. มีเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรมนั้น เมื่อ อ. ตายหาใช่มีเจตนายกให้ขณะยังมีชีวิตอยู่ไม่ ทั้งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายคำว่า "พินัยกรรม" ไว้ว่า"เอกสารแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย" ถือได้ว่าอ. ได้กำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนไว้แล้ว
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646มิใช่แบบของพินัยกรรมที่บังคับให้ต้องระบุข้อความกำหนดการเผื่อตายโดยต้องมีคำว่า "เผื่อตาย" ระบุไว้โดยชัดแจ้ง
of 78