คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วินัย วิมลเศรษฐ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 776 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมโอนที่ดินในนิคมสร้างตนเองช่วงระยะเวลาห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะโอนหลังพ้นกำหนด
เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 มาตรา 6 และ 12 ต้องการปกป้องราษฎรที่เป็นสมาชิกของนิคมสร้างตนเองให้มีที่ดินไว้ทำกินเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะจำหน่ายจ่ายโอน ด้วยประการใด ๆ ก่อนครบกำหนดไม่ได้ เว้นแต่ตกทอดทางมรดก ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกของนิคมผู้ได้สิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตกลงโอนที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งให้แก่ น. ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกนิคม โดยให้ น. เข้าครอบครองที่ดินพิพาทในทันที แม้จำเลยและ น. มีเจตนาไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทภายหลังจากที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทและพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอนแล้วก็ตาม ก็เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ส่งผลให้ศาลปฏิเสธรับอุทธรณ์และไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยมิได้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์ อ้างว่าได้ขอทุเลาการบังคับคดีไว้แล้ว ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ ให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าไม่ติดใจอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 สั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลภายใน 15 วัน แต่จำเลยยังคงยืนยันปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดดังกล่าวด้วย การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคัดค้านคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยืนยันไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม แต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 สั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้เท่านั้น หาได้มีคำขอประการอื่นไม่ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมเป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9276/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์ ทำให้ศาลปฏิเสธการรับอุทธรณ์ และคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยที่ยื่นด้วยเหตุที่จำเลยไม่ยอมนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายกำหนดศาลชั้นต้นได้เปิดโอกาสให้จำเลยปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยให้จำเลยนำเงินมาวางภายใน 15 วัน แต่จำเลยยังคงยืนยันปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามด้วยการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคัดค้านคำสั่งปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีนั้นต่อศาลอุทธรณ์ยืนยันไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม และขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีของจำเลยไว้ ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออายัดเงินชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อคุ้มครองสิทธิของโจทก์จากจำเลยที่อาจหลีกเลี่ยงหนี้
นอกจากตัวโจทก์จะมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 150,000 บาท ตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังมีหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้มาแสดง มีเหตุให้น่าเชื่อในเบื้องต้นว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลความจริง แม้โจทก์จะไม่มีพยานมาเบิกความให้ได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยยังมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือจำเลยตั้งใจจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยักย้ายไปให้พ้นจากอำนาจศาล แต่โจทก์ก็มีผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันกับจำเลยมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยและสามีได้ลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วโดยจำเลยจะได้เงินทดแทนต่าง ๆ หลังจากลาออกประมาณ2 เดือน ซึ่งโจทก์นำสืบว่าจำเลยจะได้รับประมาณ 500,000 บาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น เมื่อเงินที่จำเลยจะได้รับเป็นทรัพย์ที่จำเลยสามารถปกปิดซ่อนเร้นหรือยักย้ายถ่ายเทได้โดยง่าย การที่จำเลยและสามีลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่อมทำให้จำเลยไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนมั่นคงหากจำเลยคิดบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามบังคับหากโจทก์ชนะคดีในภายหลัง และกรณีไม่อาจรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยยังมีทรัพย์อื่นอีก ดังนี้เพื่อความยุติธรรม กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินจำนวนที่จำเลยจะได้รับดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 255 (2) (ข)
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254วรรคหนึ่ง กำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว ซึ่งตามมาตรา 21 (3) ยกเว้นให้ศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเฉพาะพยานหลักฐานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ขอให้อายัดเงินทั้งหมดที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจำนวน 500,000 บาทเศษ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้เพียง 250,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจึงเหมาะสมแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นให้มีหมายถึงผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อจัดการส่งเงินที่อายัดไปให้ศาลชั้นต้นโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอนั้นก็เป็นการสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการอายัดเงินว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้ส่งมาที่ศาล หาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9028/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่ออายัดทรัพย์สินของจำเลยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
นอกจากตัวโจทก์จะมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไป 150,000 บาท ตามฟ้องแล้ว โจทก์ยังมีหนังสือสัญญากู้เงินซึ่งจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้มาแสดง มีเหตุให้น่าเชื่อในเบื้องต้นว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลความจริง แม้โจทก์จะไม่มีพยานมาเบิกความให้ได้ความโดยแจ้งชัดว่าจำเลยยังมีเจ้าหนี้รายอื่นหรือจำเลยตั้งใจจะโอน ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของตนเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือยักย้ายไปให้พ้นจากอำนาจศาล แต่โจทก์ก็มีผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่เดียวกันกับจำเลยมาเบิกความยืนยันว่า จำเลยและสามีได้ลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วโดยจำเลยจะได้เงินทดแทนต่าง ๆ หลังจากลาออกประมาณ 2 เดือน ซึ่งโจทก์นำสืบว่าจำเลยจะได้รับประมาณ 500,000 บาท และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่น เมื่อเงินที่จำเลยจะได้รับเป็นทรัพย์ที่จำเลยสามารถปกปิดซ่อนเร้นหรือยักย้ายถ่ายเทได้โดยง่าย การที่จำเลยและสามีลาออกจากการเป็นพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ย่อมทำให้จำเลยไม่มีอาชีพการงานที่แน่นอนมั่นคง หากจำเลยคิดบิดพลิ้วหรือหลีกเลี่ยงย่อมเป็นการยากที่โจทก์จะติดตามบังคับหากโจทก์ชนะคดีในภายหลัง และกรณีไม่อาจรับฟังได้อย่างแน่ชัดว่าจำเลยยังมีทรัพย์อื่นอีก ดังนี้ เพื่อความยุติธรรม กรณีมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดเงินจำนวนที่จำเลยจะได้รับดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255(2)(ข)
คำขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียวซึ่งตามมาตรา 21(3) ยกเว้นให้ศาลไม่ต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งก่อน ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนเฉพาะพยานหลักฐานของโจทก์จึงชอบแล้ว
ตามคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ขอให้อายัดเงินทั้งหมดที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับ 500,000 บาทเศษ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดไว้เพียง 250,000 บาท ซึ่งใกล้เคียงกับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจึงเหมาะสมแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นให้มีหมายถึงผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อจัดการส่งเงินที่อายัดไปให้ศาลชั้นต้นโดยที่โจทก์ไม่ได้ขอนั้นก็เป็นการสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติในการอายัดเงินว่าจะให้ผู้ใดเป็นผู้ส่งมาที่ศาลหาได้เกินคำขอไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8823/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า: เหตุสุดวิสัยและการพิสูจน์เหตุแห่งความล่าช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำขอให้พิจารณาใหม่ นั้น มาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กำหนดให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งแก่จำเลย ถ้าคู่ความที่ขาดนัดไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ คู่ความฝ่ายนั้นอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง แต่ในกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้าต้องกล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการที่ล่าช้านั้นด้วย
คดีนี้ปรากฏตามสำนวนว่า พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้จำเลยโดยวิธีปิดบังคับไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลยตามฟ้องตามคำสั่งศาลในวันที่ 15 กันยายน 2539 ซึ่งมีผลบังคับในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 จำเลยอ้างในคำร้องขอพิจารณาใหม่ว่า จำเลยและครอบครัวได้เดินทางไปจัดการดูแลสวนส้มเขียวหวานของจำเลยที่อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีและที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จึงไม่มีใครอยู่ดูแลบ้านของจำเลย ทำให้พนักงานเดินหมายได้ปิดหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไว้ ณ ภูมิลำเนาของจำเลย จำเลยเพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้เมื่อวันที่จำเลย เดินทางไปที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ดังนี้ แม้ในคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวถึงคำบังคับไว้โดยตรง แต่ก็พออนุมานได้ว่าจำเลยได้ทราบคำบังคับตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงเริ่มต้นนับกำหนด 15 วัน ตามบทบัญญัติข้างต้นได้ ถือว่าจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงกรณีที่ยื่นคำขอล่าช้า และเหตุแห่งการล่าช้าชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 แล้ว ฉะนั้น ที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่จำเลยอ้างในคำร้อง ก็ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวยังไม่ล่วงพ้นระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6500/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ที่ล่าช้าต้องมีเหตุพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ การลืมส่งหมายเรียกไม่ใช่เหตุ
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ที่ล่าช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 เหตุแห่งความล่าช้าจักต้องเป็นกรณีที่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างเหตุที่ไม่ทราบเรื่องถูกฟ้องว่า คนในบ้านจำเลยลืมมอบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลย ซึ่งกรณีดังกล่าวไม่ใช่พฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดไต่สวนและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกพิจารณาความผิดฐานมีไว้เพื่อขายกับฐานขาย และการวินิจฉัยเรื่องการริบของกลางแม้จำเลยไม่อ้าง
โจทก์ฟ้องจำเลยสองข้อหา คือ ข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและข้อหาขายเมทแอมเฟตามีน การฟังข้อเท็จจริงในความผิดแต่ละข้อหาต้องแยกออกจากกันการที่ศาลยกฟ้องในข้อหาหนึ่งเนื่องจากพยานโจทก์ตกอยู่ในความสงสัย จึงหามีผลทำให้อีกข้อหาหนึ่งตกอยู่ในความสงสัยและมีพิรุธไปด้วยไม่ เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้ขณะกำลังจะซุกเมทแอมเฟตามีนของกลางบริเวณกองขยะและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวบรรจุหลอดดูดเครื่องดื่มปิดหัวท้ายแยกบรรจุหลอดละ 1 เม็ด จำนวน 2 หลอด หลอดละ 3 เม็ด จำนวน 1 หลอด และหลอดละ 4 เม็ดจำนวน 1 หลอด จึงเป็นเครื่องชี้เจตนาของผู้มีไว้ในครอบครองได้ว่า การแยกบรรจุหลอดเช่นนี้เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการขาย หาใช่มีไว้ในครอบครองแต่อย่างเดียวไม่แม้โจทก์มิได้นำสืบว่าใครเป็นผู้แบ่งเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว ก็ไม่ทำให้น้ำหนักคำพยานโจทก์ที่ฟังได้ว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองต้องเสียไป เมื่อคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยขายเมทแอมเฟตามีน ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้มาโดยได้กระทำผิด ชอบที่จะต้องส่งคืนแก่เจ้าของ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเภทวัตถุออกฤทธิ์และการมีอำนาจลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้มีการเปลี่ยนแปลงประกาศ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อขายอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 13 ทวิ,89 แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 แม้โจทก์จะอ้างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 51(พ.ศ. 2531) ที่กำหนดให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 และประกาศฉบับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 71(พ.ศ. 2534) แล้วก็ตาม แต่จำเลยมิได้หลงต่อสู้ และประกาศฉบับหลังได้ระบุให้อีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือวันที่ 27 มิถุนายน 2534 เมื่อจำเลยกระทำผิดหลังจากประกาศฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้มิใช่เรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลย จำเลยมีอีเฟดรีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อขายเป็นจำนวนมากถึง 600 เม็ด หนัก82,229 กรัม นับเป็นผู้ก่อพิษภัยอันร้ายแรงต่อเยาวชนและต่อสังคมโทษจำคุก 6 ปีนับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สัญญาไม่เสร็จเด็ดขาดหากยังไม่ได้รังวัดและชำระเงินครบถ้วน การตกลงซื้อขายเพิ่มเติมแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลได้หากมีการชำระเงิน
เอกสารฉบับพิพาท ระบุสาระสำคัญแห่งสัญญาคือฝ่ายจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์ โดยมีเงื่อนเวลาแบ่งชำระราคาที่ดินออกเป็น 2 งวดงวดแรกชำระให้แก่จำเลยไปแล้วในวันทำสัญญา ส่วนงวดที่ 2 กำหนดชำระในเวลาภายหลังจากวันทำสัญญา โดยสภาพแห่งเนื้อความของสัญญา โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันอีก คือโจทก์ต้องชำระราคาส่วนที่เหลือและจำเลยต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอนในสัญญา หาใช่ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายและชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในวันทำสัญญาอันจะถือเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เอกสารฉบับพิพาทจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย
สำหรับการตกลงขายที่ดินเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผู้จะขายยังต้องไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ขายตามจำนวนเนื้อที่ที่แน่นอน ซึ่งถึงแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่มีการชำระราคาแล้ว กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้
of 78