พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่งตามความเป็นจริงเมื่อมีการรังวัดที่ดินใหม่ และผลกระทบต่อการอุทธรณ์
การคำนวณราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่ว่าเพื่อเสียค่าธรรมเนียมศาลหรืออุทธรณ์ฎีกา ต้องคำนวณตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ตามความเป็นจริง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามคำฟ้อง คำให้การและแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ของที่พิพาทระบุเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ในการเสียค่าขึ้นศาลคู่ความ ได้ คิดราคาที่ดินโดยคำนวณตามเนื้อที่ประมาณ 51,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดได้เนื้อที่ชัดเจนว่า 1 ไร่ 1 งาน73 ตารางวา จึงถือว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันคือราคาที่ดินที่มีเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา การที่จำเลยกำหนดราคาที่ดิน 2 ไร่ เป็นเงิน 51,000 บาท จึงมีราคาไร่ละ 25,500 บาทราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงคือ 36,528.75 บาท จึงต้องถือว่าราคาทรัพย์สิน หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย โดยขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังหมดระยะห้ามโอน แม้ช่วงแรกไม่ได้สิทธิ แต่หากเจตนายึดถือเพื่อตนต่อเนื่อง ย่อมได้สิทธิครอบครอง
แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน 10 ปี โจทก์ซึ่งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทที่ซื้อมา จะไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากต้องห้ามโดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ครอบครองที่ดินตลอดมาหลังจากเกินระยะเวลา 10 ปีดังกล่าว โดยโจทก์ปลูกบ้านพร้อมขอเลขที่บ้านจากทางราชการ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนตลอดมา จำเลยไม่เคยเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครองแต่อย่างใด ทั้งการที่จำเลยเสนอราคาเพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทคืน ก็ยิ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมรับถึงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเพราะโจทก์เจตนาจะยึดถือเพื่อตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 136
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความที่ไม่ชัดเจนถึงเจตนาที่จะดำเนินคดี ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีความผิดอันยอมความได้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความแต่เพียงว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้ มีอำนาจ แจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษทั้งได้ความว่า เหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เมื่อความผิดต่อ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดี ความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวน ทำการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 121 วรรคสองการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์ต้องมีเจตนาให้ดำเนินคดีกับจำเลย หากไม่มีอำนาจฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ย่อมเป็นโมฆะ
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ร่วมมีข้อความว่า โจทก์ร่วมมอบอำนาจให้ ร. จัดการแจ้งความเรื่องเช็คคืน โดยไม่ได้ระบุให้มีอำนาจแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่จำเลย จึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายมีเจตนาที่จะให้จำเลยต้องรับโทษ ทั้งเหตุที่แจ้งความร้องทุกข์ก็เพราะไม่ต้องการให้เช็คขาดอายุความ จึงไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7)
เมื่อความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ ต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เป็นคดีความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่มีคำร้องทุกข์ ย่อมห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง การสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ ต้องถือว่าไม่ได้มีการสอบสวนโดยชอบพนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: แม้ไม่พบหลักฐานการลักทรัพย์ แต่การครอบครองทรัพย์ที่ได้จากการลักทรัพย์โดยรู้ว่าเป็นของผิดกฎหมายเข้าข่ายความผิดฐานรับของโจร
จำเลยกับ ว. ซึ่งเป็นพนักงานของห้างผู้เสียหาย ได้ถือกระเช้าของขวัญของห้างผู้เสียหายคนละ 2 กระเช้า เดินข้ามถนนหน้าห้างผู้เสียหาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจเห็นพิรุธจึงได้เข้าไปสอบถาม ระหว่างนั้น ว. วิ่งหลบหนีไป ส่วนจำเลยให้การยอมรับว่า จำเลยได้ลักมาจากห้างผู้เสียหาย เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุมจำเลย โดยแจ้งข้อหาว่าลักทรัพย์ในเวลากลางคืนและทำบันทึกการจับกุมว่าจำเลยให้การรับสารภาพแต่บันทึกการจับกุมไม่มีรายละเอียดว่าจำเลยลักกระเป๋าของขวัญมาอย่างไร ทั้งในวันเดียวกันนั้นจำเลยให้การปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนและได้ความจากหัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยว่า เมื่อได้สำรวจห้างปรากฏว่าไม่มีรอยงัดแงะ ย่อมแสดงว่ากระเช้าของขวัญของกลางที่คนร้ายลักมาจากห้างผู้เสียหายต้องนำออกมาก่อนห้างฯปิด ดังนั้นเวลาที่กระเช้าของขวัญของกลางถูกลักไปน่าจะก่อนเวลาที่เจ้าพนักงานตำรวจพบจำเลยกับ ว. จึงยังฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลยเป็นผู้ลักกระเช้าของขวัญ แต่พฤติการณ์ที่จำเลยกับ ว. ถือกระเช้าของขวัญของกลางที่ถูกคนร้ายลักไปจากห้างผู้เสียหายในเวลาดึกดื่นและอ้างต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมจำเลยว่าเป็นสิ่งของที่จำเลยได้มาจากการจับสลากของขวัญโดยไม่มีการจับสลากของขวัญที่ห้างผู้เสียหาย แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้รู้อยู่ว่ากระเช้าของขวัญของกลางเป็นทรัพย์ที่ถูกลักมา การกระทำของจำเลยจึงเป็นการช่วยพาเอาไปเสียหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7921/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่มีมูลหนี้จากการพนันเป็นโมฆะ
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเป็นหนี้การพนันสลากกินรวบแก่โจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7921/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่เกิดจากหนี้การพนันเป็นโมฆะ
มูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทสืบเนื่องมาจากการที่จำเลยเป็นหนี้การพนันสลากกินรวบแก่โจทก์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7869/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันการชำระเงินค่าจ้างล่วงหน้าเกินกว่าวงเงินค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการจ่ายเงินล่วงหน้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้าเต็มจำนวนหรือบางส่วนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายคืนเงินดังกล่าว จำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินค่าจ้างล่วงหน้านั้นแทนในวงเงิน 500,000 บาท จึงเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้าคืนเท่านั้น มิใช่เรื่องค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาจ้าง ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานไม่แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างแต่คิดคำนวณเนื้องานที่ทำไปแล้วเป็นเงิน 683,077 บาท ดังนั้น เมื่อผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไปคำนวณเป็นเงินเกินกว่า 500,000 บาท จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันในวงเงินดังกล่าวจึงพ้นจากความรับผิด
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
แม้ตามสัญญาจะกำหนดไว้ว่า โจทก์อาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเมื่อใดก็ได้ว่า วงเงินเต็มจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาได้หักลดด้วยจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้จ่ายชดใช้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ ไปแล้ว และในช่วงเวลาที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจ้างโจทก์มิได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังจำเลยที่ 2 ว่าวงเงิน 500,000 บาท ได้หักด้วยจำนวนเงินตามผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำไว้ตกได้แก่โจทก์แล้วก็ตาม แต่การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับล่วงหน้าไปแล้วและผลงานที่จำเลยที่ 1 ทำได้ไว้ในฟ้องก็ถือว่าเป็นการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7745/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าที่ดินเพื่อปลูกไม้ยืนต้นไม่เข้าข่ายการเช่าเพื่อเกษตรกรรมตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินฯ
สภาพของที่ดินพิพาทมีไม้ยืนต้นปลูกอยู่เต็มพื้นที่ ลักษณะของการปลูกต้นไม้ในที่ดินพิพาทเป็นการปลูกไม้ยืนต้นเป็นหลักที่ว่างระหว่างไม้ยืนต้นซึ่งใช้ปลูกพืชสวนครัวเป็นส่วนประกอบไปด้วยตามสภาพของที่ว่าง เช่นนี้ย่อมมิใช่การมุ่งหมายใช้ที่ดินพิพาทปลูกพืชไร่เป็นพืชหลัก เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลูกไม้ยืนต้นในที่ดินพิพาทอยู่ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาท ดังนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในการปลูกไม้ยืนต้น มิได้เช่าทำนาหรือปลูกพืชไร่การเช่าที่ดินพิพาทจึงไม่อยู่ในพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถอ้างการเช่าที่ดินพิพาทซึ่งไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือเพื่อต่อสู้คดีว่าการเช่าที่ดินพิพาทมีกำหนดเวลา 6 ปีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7172/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โฉนดที่ดินเป็นเอกสารมหาชน สันนิษฐานถูกต้อง ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง
สำเนาโฉนดที่ดินที่มีเจ้าหน้าที่ที่ดินรับรองความถูกต้องมีชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์คนเดียว จำเลยย่อมได้รับการสันนิษฐานจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทคนเดียว การที่โจทก์อ้างว่า ย. มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องอย่างไรการที่โจทก์มีเพียงโจทก์ที่ 6 เบิกความว่าทราบเรื่อง ย. ร่วมซื้อที่ดินกับจำเลยเมื่อปี 2524 แต่ก็ได้ความจากที่ทนายโจทก์ทั้งหกถามติงและทนายจำเลยถามค้านว่าตั้งแต่ปี 2524 ย. ไปอยู่บ้านจำเลย โจทก์ที่ 6 ไม่เคยไปบ้านจำเลยดังนั้น โจทก์ที่ 6 อาจไม่ได้พบ ย. เลย ที่โจทก์ที่ 6 เบิกความว่ารู้เรื่อง ย. ร่วมกับจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจึงไม่น่าเชื่อ คำเบิกความนอกจากนั้นเป็นการเบิกความลอย ๆ คำเบิกความของโจทก์ที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าโฉนดที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องจึงต้องฟังตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโฉนดที่ดินเป็นเอกสารที่ถูกต้อง