คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูชาติ ศรีแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลทำให้จำหน่ายคดี
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี โดยต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในภาค 3 ลักษณะ 1 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) คดีนี้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจแล้วว่าจำเลยและ ศ. เป็นจำเลยอุทธรณ์ที่มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำสำเนาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลและให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ได้
โจทก์มีหน้าที่นำส่งและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโจทก์ทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี โดยต้องดำเนินการตามบทบัญญัติในภาค 3ลักษณะ 1 แห่ง ป.วิ.พ. กล่าวคือ ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ (คือฝ่ายโจทก์หรือจำเลยความเดิมซึ่งเป็นฝ่ายที่มิได้อุทธรณ์ความนั้น) คดีนี้ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจแล้วว่าจำเลยและ ศ.เป็นจำเลยอุทธรณ์ที่มีสิทธิยื่นคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้โจทก์ทำสำเนาอุทธรณ์มายื่นต่อศาลและให้นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ.ได้
โจทก์มีหน้าที่นำส่งและเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยและ ศ. ภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น โจทก์ทราบคำสั่งแล้วเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สำเร็จเมื่อทรัพย์สินถูกเคลื่อนย้ายออกจากที่เก็บ แม้เพียงเล็กน้อย การใช้รถเพื่อเอื้อการกระทำความผิดไม่ถึงฐานตาม ม.336 ทวิ
จำเลยนำรถจักรยานยนต์เคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถหลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิสต์กุญแจปิดเปิดเครื่องยนต์แล้ว โดยนำห่างออกมาจากคอกเก็บประมาณ 3 เมตร เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป"แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ทางอาญา: การ 'เอาทรัพย์ไป' สำเร็จเมื่อเคลื่อนย้ายออกจากที่จอด แม้จะเพียงเล็กน้อย และการใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำความผิด
จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายเคลื่อนออกมาจากคอกเก็บรถในระยะห่างประมาณ 3 เมตร หลังจากตัดต่อสายไฟสายตรงของสวิตช์กุญแจเปิดปิดเครื่องยนต์เข้าองค์ประกอบคำว่า "เอาทรัพย์ไป" แล้ว การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์
คนที่ขับรถของจำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์มาส่งจำเลยกับพวกที่บ้านของผู้เสียหายก่อนเกิดเหตุและหลังจากเกิดเหตุแล้วก็ได้ขับวนเวียนในลักษณะคล้ายกับจะตามหาจำเลยกับพวกเท่านั้น คนที่ขับรถดังกล่าวไม่ได้ร่วมกับจำเลยกับพวกลักทรัพย์ผู้เสียหาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์คันดังกล่าวเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไปหรือเพื่อให้พ้นการจับกุม จำเลยจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ คงมีความผิดตามมาตรา 335 (1) (7) (8) วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุป้องกันตัวไม่อ้างได้เมื่อผู้ถูกกระทำเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายก่อน และเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ชอบ
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของ ป.อ. มาตรา 68 ผู้ยกขึ้นอ้างต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำกระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุ เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย และแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจ ใช้อาวุธปืนยิง ก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงาน ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6884/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุป้องกันตัวต้องเป็นผู้ถูกกระทำก่อน การยิงต่อสู้เจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจอ้างได้
การอ้างเหตุป้องกันตัวตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 นั้น ผู้ยกขึ้นอ้างเป็นผู้ถูกกระทำโดยผู้กระทำได้กระทำโดยละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยยอมรับว่าได้ใช้อาวุธปืนยิงในหมู่บ้านโดยใช่เหตุอันเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย การที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าจับกุมจำเลย จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่จำเลยวิ่งหนี เมื่อผู้เสียหายกับพวกไล่ตามไปเพื่อจับกุม จำเลยก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายแม้จะฟังอย่างที่จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานตำรวจใช้อาวุธปืนยิงก็คงเป็นการยิงขู่เพื่อให้จำเลยยอมให้จับกุมมากกว่ามีเจตนาฆ่าจำเลย เพราะหากเป็นเช่นนั้นจำเลยคงต้องถูกกระสุนปืนบ้างไม่มากก็น้อย ข้อเท็จจริงจึงเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้กระทำผิดกฎหมาย โดยผู้เสียหายเป็นเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุป้องกันตัวขึ้นมาอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษผิดฐานจากที่ฟ้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้โทษเป็นฐานความผิดที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉกฉวยเอาพลอยของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้า อันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเห็นได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ อันเป็นความผิดที่มีลักษณะพิเศษไปจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาและมิใช่องค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 จึงเป็น การไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาชอบที่จะพิพากษาแก้และพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(6)(7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานหลบหนีหลังเกิดอุบัติเหตุ ต้องระบุถึงผลกระทบต่อผู้เสียหายหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็น
กรณีที่ต้องบรรยายฟ้องว่า การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัสหรือตาย เป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสอง แต่คดีนี้ฟ้องโจทก์ข้อ ข. กล่าวว่า "เมื่อจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลและทรัพย์สินของผู้อื่นดังกล่าวในฟ้องข้อ 1(ก) แล้วจำเลยได้หลบหนีไปทันทีไม่ให้ความช่วยเหลือตามสมควรและไม่ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ" และคำขอท้ายฟ้องโจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78,160 เป็นการบรรยายฟ้องและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด เป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)(6) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินของวัด/มูลนิธิ/มัสยิดต้องได้รับอนุญาต และการเพิกถอนการโอนที่ดินโดยไม่ชอบ
การได้มาซึ่งที่ดินของวัดวาอาราม วัดบาดหลวงโรมันคาธอลิค มูลนิธิเกี่ยวกับคริสต์จักร์ หรือมัสยิดอิสลามต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีและให้ได้มาไม่เกิน 50 ไร่ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.ที่ดิน มาตรา 84 วรรคแรก ดังนั้น เมื่อจำเลยเป็นมูลนิธิไม่ใช่มัสยิดอิสลาม จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของบทกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ 3 ว่าโจทก์มีสิทธิเพิกถอนที่ดินพิพาทหรือไม่ เพียงใด ประเด็นข้อพิพาทข้อนี้เกี่ยวเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทข้อ 2 ที่ว่า จำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยชอบหรือไม่ ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องที่ว่าการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยชอบหรือไม่ และเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ อันเป็นเรื่องของการได้มาโดยนิติกรรม แต่การได้มาโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ไม่ใช่เป็นการได้มาโดยนิติกรรม จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องที่ว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382 ไว้ เมื่อไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ก็เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามมาตรา 1382 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์จำนวนเงินกู้ที่แท้จริง และการใช้สิทธิรับฟังพยานหลักฐานการชำระหนี้โดยวิธีการอื่น
จำเลยสามารถนำสืบโต้แย้งจำนวนเงินที่กู้ไปจากโจทก์ได้ว่าไม่ได้รับเงินไปครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย
จำเลยนำสืบว่าในปี 2534 ถึง 2537 โจทก์นำบัตรถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยไปเบิกเงินเดือนของจำเลยเป็นเงินประมาณ 300,000 บาทเป็นการนำสืบการใช้เงินโดยวิธีอื่น ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้
การที่จำเลยอ้างส่งเทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์และจำเลยพร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้นนับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงินแม้โจทก์จะไม่ทราบว่ามีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้นเป็นการบันทึกถ้อยคำซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบอันจะต้องมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 243 วรรคสอง
of 80