พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานและการเลิกจ้างที่มิได้เป็นไปตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การเตือนการขาดงานไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการจำเลยและเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยพูดกับโจทก์ว่าคุณออกไปวันนี้เลย ย่อมทำให้โจทก์เข้าใจว่าจำเลยไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต่อไป การที่หลังจากนั้นโจทก์ไม่ไปทำงานที่บริษัทจำเลยอีกต้องถือว่าจำเลยสั่งไม่ให้โจทก์ไปทำงาน แต่การที่จำเลยยังจ่ายเงินเดือนงวดวันที่ 16 ธันวาคม 2539 วันที่ 27 ธันวาคม2539 และวันที่ 15 มกราคม 2540 ให้แก่โจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์ ประกอบกับบริษัทจำเลยมีข้อบังคับว่าด้วยการไล่พนักงานออกจะต้องมีมติจากที่ประชุมเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนไล่ออกโดยให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดสำหรับกรณีของโจทก์เมื่อจำเลยยังไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์
การที่จำเลยมีหนังสือเรื่องเตือนการขาดงานไปยังโจทก์โดยระบุในหนังสือทั้งสามฉบับดังกล่าวว่าโจทก์ขาดงาน โดยเฉพาะฉบับสุดท้ายมีข้อความระบุว่าจำเลยคงจำเป็นที่จะต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยต่อไปนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์และโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นเพราะ ว.เป็นผู้สั่งให้โจทก์ไม่ต้องไปทำงานอีก การที่โจทก์ไม่ไปทำงานต้องถือว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย หรือเท่ากับว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยนั้นเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดงาน และการออกหนังสือเตือนการขาดงานดังกล่าวทั้งสามฉบับของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือเตือนการขาดงานเมื่อจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์และยังไม่ได้มีหนังสือเตือนการขาดงาน โจทก์ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่และยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดไปจนกว่าความเป็นลูกจ้างกับนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะหมดไป
การที่จำเลยมีหนังสือเรื่องเตือนการขาดงานไปยังโจทก์โดยระบุในหนังสือทั้งสามฉบับดังกล่าวว่าโจทก์ขาดงาน โดยเฉพาะฉบับสุดท้ายมีข้อความระบุว่าจำเลยคงจำเป็นที่จะต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับของจำเลยต่อไปนั้น เมื่อจำเลยยังมิได้เลิกจ้างโจทก์และโจทก์ไม่ได้ไปทำงานที่บริษัทจำเลยเป็นเพราะ ว.เป็นผู้สั่งให้โจทก์ไม่ต้องไปทำงานอีก การที่โจทก์ไม่ไปทำงานต้องถือว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของ ว.ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย หรือเท่ากับว่าโจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยนั้นเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขาดงาน และการออกหนังสือเตือนการขาดงานดังกล่าวทั้งสามฉบับของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือเตือนการขาดงานเมื่อจำเลยยังไม่ได้เลิกจ้างโจทก์และยังไม่ได้มีหนังสือเตือนการขาดงาน โจทก์ก็ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยอยู่และยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดไปจนกว่าความเป็นลูกจ้างกับนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะหมดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า "ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า"เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย" ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วัน ตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวันมิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องการส่งหมาย และไม่แถลงภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นสั่งคำฟ้องของโจทก์ว่า "นัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์นำส่งหมายให้จำเลยภายใน 7 วัน ส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 5 วันมิฉะนั้นถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง" และสั่งคำร้องขอส่งหมายนัดแก่จำเลยข้ามเขตซึ่งโจทก์ได้ขออนุญาตให้ปิดหมายด้วยว่า "จัดการให้ให้ส่งโดยวิธีธรรมดาก่อนเนื่องจากไม่ปรากฏต้นฉบับหนังสือรับรองของจำเลยที่ 1" ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชัดแจ้งอยู่แล้วเมื่อปรากฏว่าโจทก์ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ของศาลส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีปิดหมายผิดไปจากคำสั่งของศาลอันเป็นการส่งที่ไม่ชอบ ศาลชั้นต้นจึงสั่งในรายงานการส่งหมายเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2539 ว่า"ศาลยังไม่มีคำสั่งให้ปิดหมาย การส่งหมายไม่ชอบ รอโจทก์แถลง" และเจ้าหน้าที่ศาลได้มีหนังสือแจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้ทนายโจทก์ทราบในวันเดียวกันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนและทนายโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว ในหนังสือมีข้อความระบุไว้ด้วยว่า "เป็นการส่งหมายไม่ชอบ เพราะศาลไม่ได้สั่งให้ปิดหมาย"ดังนั้น โจทก์ย่อมทราบและเข้าใจดีตั้งแต่วันรับหนังสือนั้นว่ายังส่งหมายให้จำเลยโดยชอบไม่ได้ จะต้องมีการส่งหมายนัดและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยใหม่ และโจทก์ต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 5 วัน แม้ศาลจะไม่ได้กำหนดให้โจทก์แถลงภายในกี่วันก็มีความหมายชัดเจนอยู่ในตัวว่าให้แถลงภายใน 5 วันตามคำสั่งศาลที่ได้ให้ไว้ และโจทก์ได้ทราบแล้วตั้งแต่แรกตามที่ได้วินิจฉัยมาโดยศาลไม่จำต้องสั่งให้โจทก์แถลงภายในกี่วันซ้ำอีก แต่โจทก์กลับเพิกเฉยจนล่วงเลยกำหนดเวลามาหลายวัน มิได้แถลงให้ศาลทราบ เหตุนี้เมื่อเจ้าหน้าที่รายงานเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2539 เรื่องที่โจทก์มิได้แถลงต่อศาลชั้นต้นภายในเวลา ที่กำหนด และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยหากไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
ที่จำเลยฎีกาในเรื่องอำนาจฟ้องว่า ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ศ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์หรือไม่ เพราะหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุวันที่การทำหนังสือมอบอำนาจไว้นั้น ในประเด็นนี้จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า การมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะมิใช่ลายมือที่แท้จริงของ ศ. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากจำเลยได้เบิกเงินจากบัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 5151-5 ที่สาขาขอนแก่นของโจทก์โดยใช้เช็คหรือใบเบิกที่โจทก์มอบให้ และได้นำเงินเข้าบัญชีอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี แต่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ คิดตั้งแต่วันที่20 พฤษภาคม 2531 อันเป็นที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2534 ซึ่งเป็นวันเลิกทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยเป็นหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเงิน 1,302,129.80บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาข้อนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยเพราะสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้วนั้น จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์และยอดหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องตามคำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, สัญญา, การยกข้อต่อสู้ใหม่, ข้อหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ที่จำเลยฎีกาในเรื่องอำนาจฟ้องว่า ในชั้นพิจารณาโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าขณะทำหนังสือมอบอำนาจ ศ.ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์หรือไม่เพราะหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุวันที่การทำหนังสือมอบอำนาจไว้นั้น ในประเด็นนี้จำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า การมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่ลายมือที่แท้จริงของ ศ.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากจำเลยได้เบิกเงินจากบัญชีกระแส-รายวัน เลขที่ 5151-5 ที่สาขาขอนแก่นของโจทก์ โดยใช้เช็คหรือใบเบิกที่โจทก์มอบให้ และได้นำเงินเข้าบัญชีอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี แต่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ คิดตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม2531 อันเป็นที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน2534 ซึ่งเป็นวันเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยเป็นหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเงิน 1,602,129.80 บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาข้อนี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยเพราะสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้วนั้นจำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์และยอดหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องตามคำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า หลังจากจำเลยได้เบิกเงินจากบัญชีกระแส-รายวัน เลขที่ 5151-5 ที่สาขาขอนแก่นของโจทก์ โดยใช้เช็คหรือใบเบิกที่โจทก์มอบให้ และได้นำเงินเข้าบัญชีอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี แต่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ คิดตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม2531 อันเป็นที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ถึงวันที่ 29 มิถุนายน2534 ซึ่งเป็นวันเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยเป็นหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยทบต้นในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นเงิน 1,602,129.80 บาท คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาข้อนี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2533โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยเพราะสัญญาบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้วนั้นจำเลยให้การสู้คดีไว้ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์และยอดหนี้ตามฟ้องไม่ถูกต้องเพราะจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องตามคำให้การดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง & สิทธิทางจำกัดเมื่อทราบข้อจำกัดการใช้ทาง
การที่โจทก์และครอบครัวใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามไม่ให้ใช้ทางเดินแต่อย่างใด แต่กลับได้ความว่าจำเลยมีเจตนาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมมาแล้วตั้งแต่ปี 2516 ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วจึงได้ภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 ประกอบมาตรา 1382
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความและการยอมรับสภาพทางจำเป็น – การใช้ทางเดินและข้อจำกัดการใช้รถยนต์
การที่โจทก์และครอบครัวใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามไม่ให้ใช้ทางเดินแต่อย่างใด แต่กลับได้ความว่าจำเลยมีเจตนาให้ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมมาแล้วตั้งแต่ปี 2516 ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วจึงได้ภารจำยอม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาท ขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่นโจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาทรัพย์สินเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ 7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดิน: ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาพิพาทเกินเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7 ตารางวา เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช.เจ้ามรดกแต่ผู้เดียว โจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมา แต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน 1,200,000 บาท ดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีราคาทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ทั้งหกฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมให้แก่โจทก์ทั้งหกคนละ7ตารางวาเมื่อศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของช. เจ้ามรดกแต่ผู้เดียวโจทก์ทั้งหกไม่มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งหกฎีกาว่าโจทก์ทั้งหกมีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้โจทก์ทั้งหกจะฟ้องและฎีการวมกันมาแต่กรรมสิทธิ์ที่โจทก์ขอแบ่งซึ่งแต่ละคนกล่าวอ้างสามารถแยกต่างหากจากกันได้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาย่อมต้องถือตามราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนอ้างว่ามีกรรมสิทธิ์รวมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งหกตีราคาที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นเงิน1,200,000บาทดังนั้นราคาที่ดินพิพาทที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอแบ่งเมื่อคำนวณแล้วมีราคา200,000บาทจึงต้องห้ามมิให้โจทก์แต่ละคนฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย