พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของและต่อเนื่องครบ 10 ปี การใช้ประโยชน์ลักษณะทิ้งขยะไม่ถือเป็นการครอบครอง
จำเลยอ้างสิทธิการครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องจากการครอบครองของด. เจ้าของที่ดินเดิมที่ขายต่อให้จำเลยแต่จากคำเบิกความของด. ที่ว่าตนได้ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินไปสู่ร้านอาหารด้านหนึ่งโดยคิดว่าเป็นทางสำหรับคนใช้ทั่วไปส่วนการใช้ประโยชน์ในการวางยางรถยนต์ที่ใช้แล้วนั้นก็เป็นการวางไว้ไม่เป็นระเบียบเพื่อใครจะนำไปใช้ต่ออันเป็นการบ่งชี้ชัดว่าด. ไม่ได้คิดครอบครองทางพิพาทในฐานะเจ้าของเพราะแม้แต่ยางรถยนต์ที่เลิกใช้ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของด. โดยแท้ด. ก็มิได้หวงแหนลักษณะการวางยางรถยนต์ดังกล่าวจึงเป็นการทิ้งมากกว่าทั้งก็มิได้ทำการปิดกั้นเป็นส่วนสัดในที่พิพาทเพื่อประโยชน์ในการทิ้งยางรถยนต์ด้วยตรงกันข้ามเป็นถนนสาธารณะมากกว่าการใช้ประโยชน์ในลักษณะที่ปรากฏนี้จึงได้ความชัดว่ามิได้มีเจตนายึดถือโดยมุ่งในสิทธิของที่พิพาทว่าเป็นของตนจึงมิใช่การครอบครองปรปักษ์ที่จำเลยจะอ้างเพื่อเป็นระยะเวลาต่อเนื่องได้การครอบครองที่เป็นส่วนสัดเพิ่งมีขึ้นโดยการกระทำของจำเลยนับระยะเวลาเริ่มแต่จำเลยซื้อที่ดินจากด. ตั้งแต่ปีพ.ศ.2529ถึงพ.ศ.2534ยังไม่ครบ10ปีจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและการทำพินัยกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย โดยการยินยอมให้แบ่งสินสมรสก่อนถึงเวลาไม่สมบูรณ์
โจทก์และช.ซึ่่งสมรสกันก่อนปี2476ต่างตกลงยินยอมให้แต่่ละฝ่ายทำนิติกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่นในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และช. นี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1481แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าวข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้นและยังขัดต่อความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1646ที่กำหนดให้บุคคลใดๆมีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้นเหตุนี้ข้อตกลงยินยอมดังกล่าวจึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ช. จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนส่วนของโจทก์ได้ ที่ดินโฉนดเลขที่4837ในส่วนที่พ.ยกให้ช. ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าวพ. ยกที่ดินส่วนนี้ให้ช. เมื่อวันที่9ตุลาคม2476ก่อนที่่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับซึ่งในกฎหมายดังกล่าวบทที่72ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมียบัญญัติว่า"ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันที่แขก(วันแต่งงาน)ให้เป็นสินเดิมถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส"ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลยพ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ช.ภายหลังการแต่งงานที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่างช.กับโจทก์เมื่อไม่ปรากฎว่าช.และโจทก์มีสินเดิมการแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่68คือชายหาบหญิงคอนช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ2ส่วนและโจทก์มี1ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสขัดต่อกฎหมาย และการแบ่งสินสมรสระหว่างคู่สมรส
โจทก์และ ช.ซึ่งสมรสกันก่อนปี 2476 ต่างตกลงยินยอมให้แต่ละฝ่ายทำพินัยกรรมยกที่ดินสินสมรสส่วนของตนให้บุคคลอื่น ในการทำพินัยกรรมที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์และ ช.นี้ ต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1481 แม้โจทก์ตกลงยินยอมให้ ช.ทำพินัยกรรมดังกล่าว ข้อตกลงยินยอมนั้นย่อมฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายข้างต้น และยังขัดต่อความมุ่งหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 1646 ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ มีสิทธิทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่นได้ก็แต่เฉพาะทรัพย์สินที่เป็นของตนเท่านั้น เหตุนี้ ข้อตกลงยินยอมดังกล่าว จึงไม่ทำให้พินัยกรรมที่ ช.จัดทำมีผลผูกพันไปถึงที่ดินสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ด้วยโจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าพินัยกรรมไม่มีผลผูกพันสินสมรสที่เป็นส่วนของโจทก์ได้
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
ที่ดินโฉนดเลขที่ 4837 ในส่วนที่ พ.ยกให้ ช.ตามสารบาญแก้ทะเบียนท้ายโฉนดดังกล่าว พ.ยกที่ดินส่วนนี้ให้ ช.เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2476ก่อนที่ ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ว่าด้วยเรื่องครอบครัวประกาศใช้ จึงต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับ ซึ่งในกฎหมายดังกล่าว บทที่ 72 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างผัวเมีย บัญญัติว่า "ทรัพย์ที่บิดามารดาหรือญาติฝ่ายหญิงหรือชายให้ในวันมีแขก (วันแต่งงาน) ให้เป็นสินเดิม ถ้าให้เมื่ออยู่กินเป็นผัวเมียกันแล้วให้เป็นสินสมรส" ซึ่งไม่ได้บัญญัติว่าให้เป็นสินส่วนตัวเลย พ.ได้ยกที่ดินส่วนดังกล่าวให้ ช.ภายหลังการแต่งงาน ที่ดินส่วนนี้จึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่า ช.และโจทก์มีสินเดิม การแบ่งสินสมรสจึงเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 คือชายหาบ หญิงคอน ช.จึงมีส่วนเป็นเจ้าของ 2 ส่วน และโจทก์มี 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันการบังคับคดี การขายทอดตลาดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องโต้แย้งทันที
การที่จำเลยนำเงินจำนวน 12,000 บาท และ 3,000 บาทไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์นั้น แม้ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามหมายบังคับคดีเพียง 15,000 บาทจริงก็ตาม แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็แถลงในวันเดียวกันว่าข้อตกลงดังกล่าวผู้แทนโจทก์และจำเลยตกลงกันเอง เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้รับรู้ด้วย ทั้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสำนวนการบังคับคดีแล้วก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับข้อตกลงการชำระหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนที่จำเลยนำเงินจำนวน 3,000 บาท ไปชำระไว้ที่ศาลนั้นจำเลยได้ยื่นคำแถลงประกอบมีข้อความเพียงว่า นำเงินที่ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 3,000 บาท มาชำระ และในวันที่ 10 กันยายน 2535 จำเลยได้นำเงินชำระโจทก์แล้ว 12,000 บาท เท่านั้น จำเลยไม่ได้ส่งหรือแสดงหลักฐานการตกลงนั้นต่อศาล เพิ่งมาส่งภายหลังจากที่มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยไปแล้ว จึงไม่มีทางที่ศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะล่วงรู้และรับรองข้อตกลงระหว่างผู้แทนโจทก์กับจำเลยนั้นได้ ข้อตกลงที่ผู้แทนโจทก์ยอมลดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีลงเหลือเพียง 15,000 บาท จึงเป็นข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำต้องถือตาม
การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วน ไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดี และบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน 8,149บาท จำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีก ต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดี เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 และมาตรา 278 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย และดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้
การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้ว ส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฏข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลย แต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลย การแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่า จำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้ จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลัน แต่จำเลยหาได้ทำไม่ จนกระทั่งการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วน ไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดี และบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน 8,149บาท จำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีก ต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดี เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 และมาตรา 278 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย และดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้
การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้ว ส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฏข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลย แต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลย การแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่า จำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้ จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลัน แต่จำเลยหาได้ทำไม่ จนกระทั่งการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกันเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนและการสละสิทธิของเจ้าหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็คตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้วส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของท. จะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ท. ได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่1ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ทง ยังมิได้ชำระแม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความจำเลยที่1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่2ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยผู้ค้ำประกันร่วมและผลกระทบต่อความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นและผู้ค้ำประกันรายอื่น
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมมีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นหน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดีต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดียังคงมีอยู่ตามเดิมเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา685คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้นจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ดังนี้ที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทนท. ผู้ค้ำประกันไปเท่าใดถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยท. และมีผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ท. ยังมิได้ชำระแม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจากท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระจำเลยที่1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ การค้ำประกันของจำเลยที่2เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับท. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา682วรรคสองเมื่อท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่2ระงับด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา340และมาตรา293จำเลยที่2จึงหลุดพ้นไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วม ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้บางส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนข้อที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่อย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาข้อกฎหมายศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ท. เป็นผู้ค้ำประกันที่ยอมผูกพันตนต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อย่างลูกหนี้ร่วม มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้นเหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของ ท. จะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้หลุดพ้นไปด้วยนั้นย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 685 คือ จะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ ท. ได้ชำระหนี้ ส่วนหนี้ที่เหลือนั้นจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ไปเท่าใดจึงถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท. และมีผลให้จำเลยที่ 1หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้นหนี้ส่วนที่ ทง ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ค้ำประกันหนี้รายเดียวกับที่ ท. ค้ำประกันจึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 682 วรรคสอง เมื่อ ท. โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท. มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และมาตรา 293 จำเลยที่ 2จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้น ผู้ค้ำประกัน และผลของการชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงความเป็นไปที่จำเลยทั้งสองเข้าผูกพันในเช็คพิพาทร่วมกับผู้ออกเช็ค ตลอดจนการรับชำระหนี้โดยมีระบุจำนวนและลำดับการชำระหนี้ไว้ชัดแจ้งแล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าในการบังคับชำระหนี้ตามลำดับที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งดังกล่าวนั้นจะถูกต้องหรือกระทำโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายหรือไม่ อย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบและเป็นปัญหาในข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องวินิจฉัยปรับบทชี้ขาดต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
การที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้น มีผลเป็นการสละสิทธิบางประการที่ผู้ค้ำประกันอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยลักษณะค้ำประกันเท่านั้น หน้าที่ความรับผิดของลูกหนี้ชั้นต้นที่มีต่อเจ้าหนี้ก็ดี ต่อผู้ค้ำประกันในฐานะพิเศษดังกล่าวก็ดี ยังคงมีอยู่ตามเดิม เหตุหลุดพ้นจากหนี้ที่ค้ำประกันของผู้ค้ำประกันจะเป็นผลให้จำเลยที่ 1ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นไปด้วยนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 685 คือจะหลุดพ้นเฉพาะในส่วนที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ ในส่วนหนี้ที่ยังเหลือนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
การที่บุคคลภายนอกชำระหนี้แทน ท. ผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมไปเท่าใด ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดย ท.ผู้ค้ำประกันและมีผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นเพียงเท่าจำนวนนั้น ส่วนหนี้ที่ยังมิได้ชำระ แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะไม่ติดใจเรียกร้องจาก ท. ไม่ว่าจะในรูปปลดหนี้หรือประนีประนอมยอมความหนี้ส่วนดังกล่าวยังคงเป็นส่วนที่ยังมิได้มีการชำระ จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นยังคงต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้
แต่สำหรับจำเลยที่ 2 เป็นการค้ำประกันหนี้รายเดียวย่อมมีผลเป็นผู้ค้ำประกันร่วมกับ ท. จึงมีความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันกับ ท. ทั้งนี้ตามมาตรา682 วรรคสอง เมื่อ ท.โดยบุคคลภายนอกได้ชำระหนี้ที่ตนค้ำประกันเต็มจำนวนตามที่โจทก์เรียกร้องแล้ว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สละสิทธิต่อ ท.มีผลให้หนี้ระงับสำหรับท. ย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยที่ 2 ระงับไปด้วยตามมาตรา 340 และมาตรา 293จำเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับจำนำทรัพย์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์: การพิสูจน์เจตนาและความรับผิดฐานรับของโจร
จำเลยที่2เพียงรับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายไว้มิใช่ซื้อรถจักรยานยนต์จากป. ซึ่งจะต้องชำระเงินเต็มตามราคาทรัพย์สินที่ซื้อไว้แต่การรับจำนำเป็นเพียงการที่ผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยโดยปกติทั่วไปราคาทรัพย์ที่จำนำขึ้นอยู่กับผู้จำนำและผู้รับจำนำจะตกลงกันผู้จำนำอาจขอจำนำเพียง10ถึง20เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์ที่จำนำก็ได้เพื่อไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันมากเกินไปแต่บางรายผู้จำนำอาจขอจำนำทรัพย์ในราคาที่สูงผู้รับจำนำอาจกำหนดราคาทรัพย์ที่จำนำให้ไม่สูงมากนักเพราะอาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าผู้จำนำไม่มาไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำภายในระยะเวลาที่กำหนดและผู้รับจำนำต้องนำทรัพย์ที่จำนำออกขายแล้วได้เงินไม่คุ้มกับเงินที่รับจำนำพร้อมดอกเบี้ยก็ได้ดังนั้นการที่จำเลยที่2รับจำนำรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายในราคา2,300บาทจึงมิใช่ข้อพิรุธที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2รู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์รูปคดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1300
แม้การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่2โดยมีค่าตอบแทนและจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริตกรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษสิทธิของจำเลยที่2ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่1ผู้โอน