พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1300
แม้การที่จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกอยู่ในฐานะครอบครองทรัพย์มรดกคือที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดแทนทายาทได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเปลี่ยนแปลงฐานะผู้จัดการมรดกเป็นฐานะส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียวจำเลยที่1ยังคงไม่ได้สิทธิในส่วนมรดกของโจทก์ทั้งสองก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกพิพาทนี้ให้แก่จำเลยที่2โดยมีค่าตอบแทนและจำเลยที่2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับโอนสิทธิมาโดยสุจริตกรณีย่อมต้องด้วยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ซึ่งคุ้มครองเป็นพิเศษสิทธิของจำเลยที่2ผู้รับโอนจึงดีกว่าจำเลยที่1ผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญชาติเนื่องจากการโอนอาณาเขตและอนุสัญญาฯ การกลับสู่สัญชาติเดิมเมื่ออาณาเขตเปลี่ยน
คำแปลหนังสือยืนยันความตกลงด้วยวาจาระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยกับหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศษณกรุงวอชิงตันประเทศสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1946(พ.ศ.2489) ระบุไว้ว่า "พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอาศัยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1941 จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันที่ที่การโอนอาณาเขตดังกล่าวข้างต้นเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายคงรักษาสัญชาตินี้ไว้"ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับลงวันที่9 พฤษภาคม ค.ศ.1941(พ.ศ.2484) คงมีสัญชาติไทยอยู่ต่อไปหากเดินทางออกจากแขวงจำปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวร โจทก์เป็นบุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1941(พ.ศ.2484) ไม่ใช่บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย จึงกลับคืนสู่สัญชาติเดิมของโจทก์ในทันทีที่การโอนอาณาเขตจังหวัดนครจำปาศักดิ์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลง ดังนั้นโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียสัญชาติไทยหลังโอนอาณาเขต: กรณีผู้ได้สัญชาติโดยอนุสัญญาและการกลับสู่สัญชาติเดิม
คำแปลหนังสือยืนยันความตกลงด้วยวาจาระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยกับหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศสณกรุงวอชิงตันประเทศสหรัฐอเมริกา ลงวันที่17พฤศจิกายนค.ศ.1946(พ.ศ.2489)ระบุไว้ในข้อ1ว่า"พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอาศัยอนุสัญญาฉบับลงวันที่9พฤษภาคมค.ศ.1941จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันที่ที่การโอนอาณาเขตดังกล่าวข้างต้นเสร็จสิ้นลงพลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายคงรักษาสัญชาตินี้ไว้"ความตกลงนี้ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาดังกล่าวคงมีสัญชาติไทยอยู่ต่อไปหากเดินทางออกจากแขวงจำปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวรดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาดังกล่าวจึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายจึงกลับคืนสู่สัญชาติเดิมของโจทก์ในทันทีที่การโอนอาณาเขตจังหวัดนครจำปาศักดิ์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลงโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับสู่สัญชาติเดิมหลังโอนอาณาเขต: การพิจารณาบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญา
หนังสือยืนยันความตกลงด้วยวาจาระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยกับหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 17 พฤศจิกายนค.ศ. 1946 ระบุว่า พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอาศัยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9พฤษภาคม ค.ศ. 1941 จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันทีที่การโอนอาณาเขตเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายคงรักษาสัญชาตินี้ไว้ ความตกลงดังกล่าวไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 คงมีสัญชาติไทยอยู่ต่อไปหากเดินทางออกจากแขวงจำปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวรโจทก์เป็นผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ไม่ใช่บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย จึงกลับคืนสู่สัญชาติเดิมของโจทก์ในทันทีที่การโอนอาณาเขตจังหวัดนครจำปาศักดิ์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลง โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับคืนสู่สัญชาติเดิมหลังโอนอาณาเขต: กรณีสัญชาติโดยอนุสัญญา
คำแปลหนังสือยืนยันความตกลงด้วยวาจาระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทยกับหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 (พ.ศ.2489) ระบุไว้ว่า"พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอาศัยอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1941จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันทีที่การโอนอาณาเขตดังกล่าวข้างต้นเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดหรือซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายคงรักษาสัญชาตินี้ไว้" ไม่มีข้อกำหนดให้บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับลงวันที่9 พฤษภาคม ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) คงมีสัญชาติไทยอยู่ต่อไปหากเดินทางออกจากแขวงจำปาศักดิ์เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการถาวร โจทก์เป็นบุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1941 (พ.ศ.2484)ไม่ใช่บุคคลผู้ได้สัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย จึงกลับคืนสู่สัญชาติเดิมของโจทก์ในทันทีที่การโอนอาณาเขตจังหวัดนครจำปาศักดิ์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศสเสร็จสิ้นลง ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่บุคคลสัญชาติไทยอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกด้วยความสมัครใจมีผลผูกพัน หากเงินชดเชยครอบคลุมสิทธิเรียกร้องทั้งหมด
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยผู้เป็นนายจ้างซึ่งมีข้อความว่าข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวงความรับผิดข้อเรียกร้องและมูลคดีที่ข้าพเจ้าหรือบุคคลอื่นโดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้าซึ่งเคยมีกำลังมีหรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัทฯลฯทั้งยังมีข้อความตามบันทึกอีกว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่าการที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ตามโครงการการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกโดยสมัครใจ: มีผลผูกพันและตัดสิทธิเรียกร้องเพิ่มเติม
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างสมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยผู้เป็นนายจ้าง ซึ่งมีข้อความว่า ข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวง ความรับผิด ข้อเรียกร้อง และมูลคดีที่ข้าพเจ้าหรือบุคคลอื่นโดยการเรียกร้องผ่านข้าพเจ้า ซึ่งเคยมี กำลังมี หรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัท ฯลฯ ทั้งยังมีข้อความตามบันทึกอีกว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่า การที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจนั้นได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใด ๆ จากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสละสิทธิในโครงการลาออกด้วยความสมัครใจมีผลผูกพัน หากครอบคลุมค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว
การที่โจทก์สมัครใจเข้าร่วมโครงการลาออกด้วยความสมัครใจของจำเลยโดยในเอกสารมีข้อความว่าข้าพเจ้าขอสละสิทธิและขอปลดเปลื้องบริษัทจากข้อเรียกร้องทั้งปวงความรับผิดข้อเรียกร้องและมูลคดีที่ข้าพเจ้าซึ่งเคยมีกำลังมีหรืออาจเรียกร้องให้มีได้ในอนาคตต่อบริษัทฯลฯทั้งยังมีข้อความว่าเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ตามโครงการดังกล่าวเป็นเงินทุกประเภทที่จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ย่อมหมายความว่าการที่จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวน590,894.91บาทตามโครงการลาออกด้วยความสมัครใจได้รวมเงินทุกประเภทที่โจทก์อาจเรียกร้องจากจำเลยได้อยู่แล้วดังนั้นข้อตกลงที่ว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีกเพราะจำเลยได้จ่ายเงินที่โจทก์พึงจะได้รับตามกฎหมายให้แก่โจทก์หมดแล้วซึ่งไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลบังคับระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องเรียกผลประโยชน์ใดๆจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางสัญญาและผลกระทบต่อผู้รับโอนที่ดิน
ป.กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดิน ซึ่งมีข้อความว่า บิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 4587 โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม แต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 5621 มาโดยทางมรดก จำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินเอกสารหมาย จ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรม มิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามป.พ.พ.มาตรา 1599, 1600 ก็ตาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621 โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่ จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าว ย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาท และต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป แต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของ ป.เจ้าของที่ดินเดิม จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน-เจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ.บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอมเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาภารจำยอมทางมรดก: จำเลยต้องรื้อสิ่งกีดขวาง แม้ยังไม่ได้จดทะเบียน
ป. กับบิดามารดาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินซึ่งมีข้อความว่าบิดามารดาจำเลยยินยอมให้ทำทางพิพาทในที่ดินโฉนดเลขที่5621เพื่อให้เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่4587โดยได้รับค่าตอบแทนและตกลงจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้ข้อความที่ระบุไว้ดังกล่าวแม้จะยังมิได้ไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมแต่เมื่อจำเลยได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่5621มาโดยทางมรดกจำเลยก็ต้องรับภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1600แม้โจทก์มิใช่คู่สัญญาตามหนังสือสัญญาให้ป่านที่ดินเอกสารหมายจ.4 และกรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากป. เพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าเป็นผู้รับโอนที่ดินมาโดยทางนิติกรรมมิใช่รับโอนมาโดยผลของกฎหมายในฐานะทายาทหรือทางมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599,1600ก็ตามแต่การที่จำเลยเป็นผู้รับมรดกที่ดินโฉนดเลขที่5621โดยมีโจทก์ใช้ทางพิพาทอยู่จำเลยย่อมจะทราบดีว่าบิดามารดาจำเลยมีข้อตกลงหรือสัญญายอมให้บุคคลอื่นผ่านทางพิพาทได้ตามหนังสือสัญญาให้ผ่านที่ดินดังกล่าวย่อมถือเป็นปริยายว่าจำเลยยอมรับที่จะปฎิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวด้วยจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไปแต่โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของป. เจ้าของที่ดินเดิมจึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่บริบูรณ์เป็นทรัพย์สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4จึงไม่เป็นภารจำยอมเช่นกัน