พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้ก่อนและลักษณะคล้ายคลึงจนสับสน
อักษรโรมันคำว่า"WILLCOME" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือมีความหมายว่าอย่างไรและโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำว่า"WELLCOME" เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ในอดีตและบริษัทโจทก์ตั้งขึ้นเมื่อปี2423นอกจากโจทก์จะใช้คำว่า"WELLCOME" เป็นเครื่องหมายการค้าแล้วโจทก์ยังใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ด้วยโจทก์เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" มาตั้งแต่ก่อนปี2444ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี2450และที่ประเทศไทยเมื่อปี2490สำหรับสินค้าจำพวกที่3และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ไปจำหน่ายในประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยในขณะที่จำเลยอ้างว่าว. ผู้ก่อตั้งห้างเวลล์คัมซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้คิดชื่อ"WELLCOME"โดยครั้งแรกตั้งชื่อคำว่า"WELLCOME" แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเพราะเป็นคำสามัญทั่วไปแปลว่าต้อนรับจึงต้องเพิ่มอักษรL เข้าไปอีก1ตัวแต่จำเลยเพิ่งเริ่มดำเนินกิจการWELLCOMESUPERMARKET เมื่อปี2488อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"หลายสิบปีด้วยแล้วย่อมไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าว.จะได้คิดค้นคำดังกล่าวขึ้นมาเองและเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยบังเอิญเช่นนั้นแต่น่าเชื่อว่าเป็นการนำเอาคำว่า"WELLCOME" มาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วนำคำว่าSUPERMARKET มาประกอบเพื่อให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้ว่าจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า"SUPERMARKET" ประกอบกับคำว่า"WELLCOME" และจำเลยขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50ได้แก่สินค้าเบ็ดเตล็ดอันเป็นสินค้าต่างจำพวกและไม่มีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กันกับสินค้าจำพวกที่1ที่2ที่3และที่48ซึ่งเป็นสินค้ายารักษาโรคมนุษย์เคมีภัณฑ์และเครื่องสำอางของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"WELLCOME" ก็ตามแต่ก็ปรากฎจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์ได้โฆษณาสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" หลายชนิดและแจกสินค้าตัวอย่างเช่นกระเป๋าถุงพลาสติกสมุดบันทึกและกระเป๋าสตางค์อันเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดในจำพวกที่50ตามวิสัญญีสารและแผ่นปลิวโฆษณาอันถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่50แล้วการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" "SUPERMARKET" ของจำเลยกับสินค้าจำพวกที่50จึงอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเห็นแต่คำว่า"WELLCOME" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET"ของจำเลยมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ของโจทก์เมื่อคำว่า"WELLCOME" เป็นนายสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปีโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" และคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET" ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่206656สำหรับสินค้าจำพวกที่่50ของจำเลยดีกว่าจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้หรือยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเข้าเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องใดๆกับเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME"สำหรับสินค้าทุกจำพวกรวมทั้งเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อฟ้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วทั้งนี้ตามนัยมาตรา27และ29แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองเครื่องหมายที่ใช้ก่อนและสิทธิเหนือกว่าของผู้ใช้ก่อน
คำว่า"WELLCOME" เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปีโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า"WELLCOME" และคำว่า"WELLCOMESUPERMARKET" ตามคำขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50ของจำเลยดีกว่าจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา27และ28ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อที่คล้ายคลึงกันในสินค้าต่างประเภท และขอบเขตการคุ้มครองเครื่องหมายที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
อักษรโรมันคำว่า "WELLCOME" เป็นคำที่ไม่มีคำแปลหรือมีความหมายว่าอย่างไร และโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ในอดีตและบริษัทโจทก์ตั้งขึ้นเมื่อปี 2423นอกจากโจทก์จะใช้คำว่า "WELLCOME" เป็นเครื่องหมายการค้าแล้ว โจทก์ยังใช้คำดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์ด้วย โจทก์เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยใช้เครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" มาตั้งแต่ก่อนปี 2444 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME" ครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2450 และที่ประเทศไทยเมื่อปี 2490 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าคำว่าWELLCOME ไปจำหน่ายในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่จำเลยอ้างว่า ว.ผู้ก่อตั้งห้างเวลล์คัม ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นผู้คิดชื่อ WELLCOME โดยครั้งแรกตั้งชื่อคำว่า "WELCOME" แต่เจ้าหน้าที่ไม่รับจดทะเบียนเพราะเป็นคำสามัญทั่วไป แปลว่า ต้อนรับ จึงต้องเพิ่มอักษร L เข้าไปอีก 1 ตัว แต่จำเลยเพิ่งเริ่มดำเนินกิจการ WELLCOME SUPERMARKET เมื่อปี 2488 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายสิบปีด้วยแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่า ว.จะได้คิดค้นคำดังกล่าวขึ้นมาเองและเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยบังเอิญเช่นนั้น แต่น่าเชื่อว่าเป็นการนำเอาคำว่า "WELLCOME"มาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แล้วนำคำว่า SUPERMARKET มาประกอบเพื่อให้มีลักษณะแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ว่าจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า "SUPERMARKET" ประกอบกับคำว่า"WELLCOME" และจำเลยขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ได้แก่ สินค้าเบ็ดเตล็ด อันเป็นสินค้าต่างจำพวกและไม่มีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องหรือสัมพันธ์กันกับสินค้าจำพวกที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 48 ซึ่งเป็นสินค้ายารักษาโรคมนุษย์ เคมีภัณฑ์และเครื่องสำอางของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "WELLCOME"ก็ตาม แต่ก็ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าโจทก์ได้โฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" หลายชนิดและแจกสินค้าตัวอย่าง เช่นกระเป๋า ถุงพลาสติก สุมดบันทึก และกระเป๋าสตางค์อันเป็นสินค้าเบ็ดเตล็ดในจำพวกที่ 50 ตามวิสัญญีสารและแผ่นปลิวโฆษณาอันถือได้ว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกที่ 50 แล้ว การใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" SUPERMARKET" ของจำเลยกับสินค้าจำพวกที่ 50จึงอาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนเมื่อเห็นแต่คำว่า"WELLCOME" ซึ่งเป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ได้ การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"WELLCOME SUPERMARKET" ของจำเลยมีลักษณะคล้ายคลึงหรือเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" ของโจทก์ เมื่อคำว่า "WELLCOME"เป็นนามสกุลของผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยหลายสิบปี โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายคำว่า "WELLCOME" และคำว่า "WELLCOME SUPERMARKET"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 206656 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 50 ของจำเลยดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ตามมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาห้ามจำเลยใช้หรือยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือเข้าเกี่ยวข้องใด ๆกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "WELLCOME" สำหรับสินค้าทุกจำพวก รวมทั้งเครื่องหมายการค้าอื่นใดที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนนี้นั้นชอบแล้ว เพราะโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 50จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าจำพวกดังกล่าวได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ตามนัยมาตรา 27 และ 29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเพลิงไหม้ทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ศาลต้องวินิจฉัยทั้งเจตนาและประมาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์ของจำเลยกับภริยาและไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 218,220 จำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้จริง แต่เกิดจากความประมาทและข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเพลิงไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วยดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา จำเลยย่อมมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 220 วรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่หากจำเลยกระทำโดยประมาทก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 225 ซึ่งศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้เถียงเรื่องเพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยเพียงแต่อ้างว่าเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทขอจำเลยเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาหรือประมาทตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่กลับวินิจฉัยเพียงว่า ทรัพย์ที่จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิด โดยไม่ได้วินิจฉัยกรณีที่การกระทำของจำเลยทำให้เพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยและพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความผิดฐานวางเพลิง ต้องพิจารณาเจตนาหรือความประมาท และผลกระทบต่อทรัพย์สินผู้อื่น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้ทรัพย์ของจำเลยกับภริยาและไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 218, 220จำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้จริง แต่เกิดจากความประมาทและข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเพลิงไหม้ทรัพย์ของบุคคลอื่นด้วย ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนา จำเลยย่อมมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 220วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 220 วรรคสอง แล้วแต่กรณี แต่หากจำเลยกระทำโดยประมาทก็ย่อมมีความผิดตามมาตรา 225 ซึ่งศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสาม ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้โต้เถียงเรื่องเพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยเพียงแต่อ้างว่าเพลิงไหม้เกิดจากความประมาทของจำเลยเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยกระทำโดยเจตนาหรือประมาทตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่กลับวินิจฉัยเพียงว่า ทรัพย์ที่จำเลยทำให้เกิดเพลิงไหม้จำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย จำเลยจึงไม่มีความผิด โดยไม่ได้วินิจฉัยกรณีที่การกระทำของจำเลยทำให้เพลิงไหม้ทรัพย์ของผู้อื่นด้วยและพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างในงานก่อสร้างปกติ แม้มีสัญญาจ้างระยะเวลาแน่นอน
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ต้องหมายความว่าการรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยโครงการก่อสร้างท่าเรือนำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้างจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจล.1ถึงจล.9จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างข้อ15การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปสัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังระยะที่1ทั้งโครงการและเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีกเช่นนี้จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องในโครงการก่อสร้าง ไม่ถือเป็นการจ้างงานครั้งคราว
จำเลยรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปตามที่จะประมูลได้ ต้องหมายความว่า การรับเหมางานก่อสร้างทุกชนิดเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชังที่จำเลยประมูลได้เป็นงานก่อสร้าง จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลย
ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จล.1 ถึง จล.9 จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1 ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ แต่ตามสัญญาจ้างข้อ 15 การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่า ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงาน ทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นราย ๆ ไป สัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1ทั้งโครงการ และเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีก เช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จล.1 ถึง จล.9 จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1 ซึ่งแม้ตามสัญญาจ้างจะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้ แต่ตามสัญญาจ้างข้อ 15 การต่อสัญญาจ้างมีข้อความว่า ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครงการยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงาน ทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นราย ๆ ไป สัญญาจ้างที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นการว่าจ้างให้ทำงานในโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเกาะสีชัง ระยะที่ 1ทั้งโครงการ และเมื่อครบกำหนดเวลาตามสัญญาจ้างหากโครงการยังไม่เสร็จก็มีการต่อสัญญากันได้อีก เช่นนี้ จึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่ใช่ครั้งคราว แม้มีกำหนดสัญญา และต่อสัญญาได้
จำเลยมีอาชีพรับเหมางานก่อสร้างทั่วไปเป็นปกติโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่จำเลยประมูลได้จึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยจำเลยจ้างโจทก์ทำงานในโครงการดังกล่าวแม้จะกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาจ้างไว้แต่ตามสัญญาจ้างระบุว่าในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดตามกำหนดแต่โครง>การยังไม่แล้วเสร็จจำเลยอาจพิจารณาต่อสัญญากับลูกจ้างตามความจำเป็นของงานทั้งนี้จะได้ทำการตกลงกับลูกจ้างที่ได้รับการต่อสัญญาเป็นรายๆไปจึงไม่ใช่เป็นการจ้างให้ทำงานในลักษณะที่เป็นครั้งคราวตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน, การลดเบี้ยปรับ, และค่าทนายความที่เหมาะสมกับรูปคดี
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม11คดีภายในกำหนด3วันนับแต่วันทำสัญญาและให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด15วันนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000บาทภายในวันที่31กรกฎาคม2535ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497จำนวน6คดีและเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน5คดีทั้ง11คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดินฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสารจ.1ข้อ1(ฎ)เป็นคดีอาญาแผ่นดินซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตามก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11สำนวนตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัยเป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องจึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน5,000,000บาทหากจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มีเจตนาผูกพันตามนั้นจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาดศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383 ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าคดีนี้ไม่ยุ่งยากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม3,000,000บาทสูงเกินไปนั้นเป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้วไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 56/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ, ข้อตกลงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย, การลดเบี้ยปรับ, ค่าทนายความ
ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้โจทก์ถอนฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาที่โจทก์กับพวกฟ้องจำเลยรวม 11 คดี ภายในกำหนด 3 วันนับแต่วันทำสัญญา และให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่ระบุไว้คืนแก่จำเลยภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และจำเลยตกลงจะชำระเงินแก่โจทก์จำนวน18,000,000 บาท ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2535 ปรากฏว่าสำนวนคดีที่ตกลงให้โจทก์ถอนฟ้องเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 จำนวน 6 คดี และเป็นคดีฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้ในทางแพ่งจำนวน 5 คดี ทั้ง 11 คดีดังกล่าวไม่ใช่คดีอาญาแผ่นดิน ฉะนั้นข้อตกลงในส่วนดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 แม้ข้อตกลงในส่วนที่ให้จำเลยถอนฟ้องและไม่ดำเนินคดีในข้อหาฟ้องเท็จตามคดีอาญาที่ระบุในสัญญาประนีประนอมยอมความเอกสาร จ.1 ข้อ 1 (ฏ) เป็นคดีอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่สมบูรณ์ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 ซึ่งไม่เกี่ยวกับส่วนที่จำเลยจะต้องชำระเงินเพื่อตอบแทนแก่โจทก์ในการที่โจทก์ได้ถอนฟ้องคดีทั้ง11 สำนวน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง
ศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องเช็คขึ้นวินิจฉัย เป็นไปตามประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นเรื่องนอกประเด็น
การที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงยินยอมให้เบี้ยปรับแก่โจทก์เป็นเงิน 5,000,000 บาท หากจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาผูกพันตามนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องเสียเบี้ยปรับแก่โจทก์ แต่ก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นไปตามนั้นโดยเด็ดขาด ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า คดีนี้ไม่ยุ่งยาก ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าทนายความทั้งสองศาลแก่โจทก์รวม 3,000,000 บาทสูงเกินไปนั้น เป็นดุลพินิจที่เหมาะกับรูปคดีแล้ว ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะไปเปลี่ยนแปลง