พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย: ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 และตามตารางกรมธรรม์ประกันภัย อีกทั้งข้อยกเว้นที่จำเลยที่ 3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย ก็ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงรวมอยู่ด้วย จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยในสัญญาประกันภัย กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อ และการกำหนดค่าเสียหาย
ตามสำเนาตารางกรมธรรม์ระบุว่าสัญญาประกันภัยรายนี้จำเลยที่2เป็นผู้เอาประกันภัยและป. เป็นผู้รับประโยชน์จำเลยที่1จึงไม่ได้เป็นผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์อันจะทำให้จำเลยที่3ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากวินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้างแรงของจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา879และจะแปลความหมายของคำว่าผู้เอาประกันภัยตามมาตรา879วรรคหนึ่งรวมถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยด้วยก็ขัดกับคำนิยามของคำว่า"ผู้เอาประกันภัย"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา862อีกทั้งตามตารางกรมธรรม์ดังกล่าวปรากฎว่ามีข้อยกเว้นที่ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยข้อ2.3คือความรับผิดเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้หลายประการแต่ไม่มีกรณีที่ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงงานอยู่ด้วยจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่1ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่เพราะเมื่อไม่มีข้อยกเว้นที่จำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดทั้งตามบทบัญญัติของกฎหมายและตามสัญญาประกันภัยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามตารางกรมธรรม์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลกระทบต่อสิทธิลูกหนี้ในการดำเนินคดี
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วจำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดีเพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวจำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยล้มละลายไร้สิทธิฟ้องคดีอื่นเกี่ยวกับทรัพย์สิน อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 กำหนดว่าเมื่อจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จำเลยไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้ ไม่ว่าในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เพราะกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอในคดีแพ่งเรื่องอื่นที่จำเลยถูกฟ้องเพื่อมิให้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลย และบัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยได้ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของโจทก์ ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินของจำเลยเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินทับซ้อน ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นข้อพิพาทต่างจากคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจำเลยได้ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของโจทก์ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินของจำเลยเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การโอนเช็คโดยชอบ และความรับผิดตามเช็คของผู้สั่งจ่าย
เช็คพิพาทตามฟ้องเป็นเช็คผู้ถือและตามคำให้การจำเลยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยมิชอบอย่างไรทั้งข้อต่อสู้ว่าหนี้ระงับก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับส. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนโดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คมาโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับส. และแม้จะพิจารณาตามคำให้การจำเลยก็ไม่มีข้อที่จะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามเช็คที่โจทก์ฟ้องได้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6582/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การโอนเช็คโดยชอบธรรมและหน้าที่ตามเช็ค
เช็คพิพาทตามฟ้องเป็นเช็คผู้ถือ และตามคำให้การจำเลยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้เช็คมาโดยมิชอบอย่างไร ทั้งข้อต่อสู้ว่าหนี้ระงับก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับ ส.ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน โดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คมาโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับ ส. และแม้จะพิจารณาตามคำให้การจำเลยก็ไม่มีข้อที่จะทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามเช็คที่โจทก์ฟ้องได้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6495/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินค่าทดแทนเวนคืนและการคิดดอกเบี้ยกรณีเจ้าหน้าที่แจ้งล่าช้า
หลังจากที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ แขวงสวนหลวง แขวงประเวศ เขตพระโขนง และแขวงคลองสองต้นนุ่น แขวงคลองประเวศ แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน-ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ประกาศใช้บังคับแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยมิได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 28 วรรคแรก แต่กลับมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมาตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนการที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะยกขึ้นมาเป็นเหตุอ้างให้โจทก์เสื่อมเสียสิทธิที่ควรจะได้ย่อมไม่ถูกต้อง ทั้งการเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 15 ซึ่งมาตรา 28 วรรคแรก บัญญัติให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนมารับเงินค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นใช้บังคับ จึงต้องถือว่าวันสุดท้ายของกำหนดเวลาดังกล่าวคือวันที่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 นั่นเอง ปรากฏว่า พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมากฯ พ.ศ.2532 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2532เมื่อนับถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2535 ที่โจทก์ขอมา จึงเกินกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันดังกล่าวแล้ว โจทก์ชอบที่จะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2535
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินของกลาง หากทรัพย์สินสูญหายแม้จะไม่มีความประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่โดยตรง
รถยนต์ของกลางหายไปในขณะอยู่ในความรับผิดชอบของพันตำรวจตรีส. ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดของกรมตำรวจจำเลยที่1การปฏิบัติหน้าที่ของพันตำรวจตรีส. จึงกระทำไปในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1ดังนั้นแม้จำเลยที่2ที่3และที่4จะมิได้ประมาทเลินเล่ออันเป็นเหตุให้รถยนต์คันดังกล่าวสูญหายจำเลยที่1ก็จะปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้