พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากเพื่อปิดบังการกู้ยืมเงิน โมฆะและบังคับตามสัญญากู้ยืม
โจทก์จำเลยเจตนาผูกพันในเรื่องการกู้ยืมเงิน สัญญาขายฝากที่ทำไว้จึงเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงินและตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 เดิม วรรคหนึ่ง ต้องบังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 เดิม วรรคสองโดยถือว่าจำเลยได้มอบโฉนดที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมเท่านั้น ทั้งจะต้องฟังว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้โจทก์คืนโฉนดที่ดินพิพาทจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์จนครบถ้วน และเมื่อการขายฝากที่ดินพิพาทตกเป็นโมฆะดังกล่าวแล้วก็ต้องพิพากษาให้เพิกถอนเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ: การตีความขอบเขตการใช้ทุนและการโอนย้ายสังกัด
ตามสัญญาของข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศของจำเลยข้อ 3ระบุว่า เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยจะรับราชการต่อไปในสังกัดกรมอาชีวศึกษาโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรและข้อ 4 ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญาในข้อ 3 หรือไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆจำเลยยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวมิใช่ว่าจำเลยต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการโจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยโอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยโอนไปรับราชการอื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาใช้ทุนการศึกษา-การรับราชการ: การโอนย้ายสังกัดไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
ตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ ข้อ 3 ว่า "เมื่อจำเลยที่ 1 สำเร็จการศึกษาหรือไม่ก็ตาม จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะรับราชการต่อไปในสังกัดโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม ทั้งนี้สุดแต่ระยะเวลาใดจะมากกว่ากัน" และข้อ 4 ว่า "หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาในข้อ 3 หรือจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆ ก็ดี จำเลยที่ 1 ยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามที่กำหนดไว้" ข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยที่ 1 จะต้องกลับมารับราชการสังกัดโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือที่กระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควร แต่จะต้องปฏิบัติราชการให้ครบระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญา มิใช่ต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น เพราะถึงแม้จำเลยที่ 1 รับราชการในสังกัดกระทรวง ทบวง หรือกรมอื่น จำเลยที่ 1 ก็สามารถนำความรู้ที่ศึกษาจากต่างประเทศมาปฏิบัติราชการให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมอันเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ หากโจทก์ประสงค์ให้ผู้ลาไปศึกษาต้องกลับมารับราชการใช้ทุนเฉพาะที่กรมโจทก์ โจทก์สามารถทำได้โดยกำหนดเงื่อนไขของสัญญาให้มีข้อความผูกมัดคู่สัญญาไว้ให้ชัดแจ้งแต่โจทก์หาได้กระทำไม่ ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการ โจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 โอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และยังคงปฏิบัติราชการในหน่วยงานดังกล่าวตลอดมาจนถึงเวลาที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โดยจำเลยไม่เคยลาออกจากราชการเลย จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อไม่มีการผิดสัญญา จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยที่ 1 โอนไปรับราชการที่อื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้ จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และตามหนังสือรับสภาพหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยต้องพิจารณาความประมาทเลินเล่อของผู้ฟ้อง
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังเมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2542 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2543 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543 คดีของโจทก์ไม่มีข้อยุ่งยาก เอกสารที่อ้างมีจำนวนไม่มากนัก โจทก์ย่อมสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ แต่โจทก์กลับไม่กระทำอ้างว่ามีงานอาจารย์อีกหลายอย่างที่จะต้องปฏิบัติ ทั้งโจทก์มีทนายความแม้ทนายความโจทก์จะอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่แต่โจทก์ก็สามารถให้ทนายความยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ได้การที่โจทก์เดินทางกลับจากการสอนเสริมในต่างจังหวัดโดยเครื่องบินเที่ยวเช้าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2543 ไม่ได้จนต้องเดินทางโดยเครื่องบินเที่ยวบ่าย ทำให้ยื่นอุทธรณ์ไม่ทัน เป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ยื่นในวันที่ 29 กุมภาพันธ์2543 อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุผล การปฏิบัติภารกิจอื่นไม่ใช่เหตุขยายเวลา
โจทก์ซึ่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว และสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาที่ศาลขยายให้ดังกล่าว แต่กลับไม่ทำ คงปฏิบัติภารกิจอื่นและเดินทางไปต่างจังหวัดจนถึงวันสุดท้ายที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงมีกำหนดกลับที่พัก แต่เดินทางกลับในเที่ยวบินช่วงเช้าไม่ได้เพราะเที่ยวบินเต็ม จึงเดินทางกลับในเที่ยวบินบ่าย ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทัน ถือเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัด: ศาลต้องใช้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยของโจทก์ คำสั่งเดิมขัดแย้งกับคำพิพากษา
การที่ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2542 แต่ดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น หมายความว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว ปรากฏว่าธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศ กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดโดยให้ธนาคารพาณิชย์ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บแต่ละประเภทของตนเองได้ซึ่งในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 ธนาคารโจทก์ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 14.50ต่อปี ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำแถลงของจำเลยที่ 1ที่ขอทราบจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อจะได้ชำระหนี้ให้ถูกต้องเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ว่าให้คิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ไปก่อน จนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนั้น จึงเป็นคำสั่งที่มิได้คำนึงถึงข้อความในคำพิพากษาที่ให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย อันเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบเพราะขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง ดังนั้น นับแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2542 โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพียงอัตราร้อยละ 14.50 ต่อปี จนถึงวันชำระเงินตามคำพิพากษาครบถ้วนแต่หากในช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์มีการประกาศอัตราดอกเบี้ยใหม่โจทก์ก็ต้องคิดดอกเบี้ยตามอัตราใหม่นั้น แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับดอกเบี้ยตามคำพิพากษา ต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย หากอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่า
แม้ศาลชั้นต้นมิได้สั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่โจทก์ได้รับสำเนาคำร้องแล้วไม่คัดค้านและศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลฎีกา พออนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20.25 ต่อปี แต่ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่า หากมีการเปลี่ยนแแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของจำเลยว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคืออัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ และให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา 20.25 ต่อปีไปก่อน ถ้าจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปจนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขย่อมเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นระบุไว้ในคำพิพากษาว่าให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ20.25 ต่อปี แต่ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยต้องไม่เกินประกาศกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ย่อมมีความหมายว่า หากมีการเปลี่ยนแแปลงอัตราดอกเบี้ยใหม่ต่ำกว่าอัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี โดยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของจำเลยว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคืออัตราร้อยละ 20.25 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ และให้คิดดอกเบี้ยในอัตรา 20.25 ต่อปีไปก่อน ถ้าจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องชอบที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไปจนกว่าคำพิพากษาจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขย่อมเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 371/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยต้องแสดงความประมาทเลล่าของตนเอง มิใช่ความล่าช้าของศาล
จำเลยปล่อยเวลาล่วงเลยไปถึง 25 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาแล้วจึงไปขอถ่ายสำเนาคำพิพากษา แสดงให้เห็นว่าจำเลยมิได้เอาใจใส่ในเรื่องนี้อย่างจริงจัง จึงไม่ใช่กรณีมีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยตามกฎหมายที่จะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เวลา 15.35 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปตามระบบงานที่เป็นอยู่ แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในแต่ละวันมีคู่ความหรือประชาชนไปติดต่อกับเจ้าพนักงานศาลเป็นจำนวนมากไม่ได้มีเฉพาะจำเลยเพียงคนเดียว ซึ่งทนายจำเลยก็น่าจะรู้ดี ฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลนำคำร้องดังกล่าวเสนอต่อศาลและศาลมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดระบุว่าศาลต้องมีคำสั่งคำร้องในวันที่คู่ความยื่นคำร้องแต่อย่างใดด้วยสาเหตุที่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์มาจากจำเลยและทนายจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ได้เอาใจใส่รีบยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารเสียแต่เนิ่น และเมื่อยื่นแล้วก็ไม่ได้เอาใจใส่ประการใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันถัดจากวันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์เวลา 15.35 นาฬิกา เจ้าพนักงานศาลก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ไปตามระบบงานที่เป็นอยู่ แต่ก็เป็นที่รู้กันอยู่ว่าในแต่ละวันมีคู่ความหรือประชาชนไปติดต่อกับเจ้าพนักงานศาลเป็นจำนวนมากไม่ได้มีเฉพาะจำเลยเพียงคนเดียว ซึ่งทนายจำเลยก็น่าจะรู้ดี ฉะนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลนำคำร้องดังกล่าวเสนอต่อศาลและศาลมีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นจึงเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดระบุว่าศาลต้องมีคำสั่งคำร้องในวันที่คู่ความยื่นคำร้องแต่อย่างใดด้วยสาเหตุที่ทำให้จำเลยเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์มาจากจำเลยและทนายจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ได้เอาใจใส่รีบยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารเสียแต่เนิ่น และเมื่อยื่นแล้วก็ไม่ได้เอาใจใส่ประการใด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันถัดจากวันครบกำหนดอุทธรณ์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่โดยศาล การไม่เปิดโอกาสสืบพยาน และผลกระทบต่อการวินิจฉัย
ตามคำฟ้องและคำให้การคดีมีประเด็นข้อพิพาทอีกข้อหนึ่งว่า จำเลยแกล้งบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดิน ฟ้องขับไล่โจทก์และเบิกความเท็จในคดีหมายเลขดำที่ 20091/2531 ต่อศาลแพ่งหรือไม่ แต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ โดยโจทก์และจำเลยต่างไม่คัดค้าน ถือว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้แล้ว และโจทก์ไม่จำเป็นต้องนำสืบพยานในประเด็นข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นมากำหนดประเด็นข้อพิพาทนี้ขึ้นมาใหม่ในวันนัดฟังคำพิพากษาและได้เลื่อนไปอ่านคำพิพากษาไปโดยไม่ได้ให้โจทก์นำสืบพยานในประเด็นดังกล่าว แล้วนำประเด็นนี้มา วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานมานำสืบย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9408/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายออกจากบ้านด้วยความโกรธ แต่การพาไปยังที่อื่นที่ไม่ใช่จุดหมายปลายทาง ย่อมถือเป็นการพรากผู้เยาว์
แม้ตอนแรกผู้เสียหายที่ 1 จะออกจากบ้านเองเพราะโกรธที่ถูกโจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาด่าก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าจะไปหาพี่สาวซึ่งจำเลยรับอาสาจะไปส่งแต่กลับพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่กระท่อมนาซึ่งไม่ใช่สถานที่ที่ผู้เสียหายที่ 1 ต้องการจะไป และจำเลยได้อยู่กับผู้เสียหายที่ 1 ที่กระท่อมนาเป็นเวลา 3 คืน 2 วัน รวมทั้งได้ร่วมประเวณีกับผู้เสียหายที่ 1 ด้วย ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้พรากผู้เสียหายที่ 1 ไปจากโจทก์ร่วมโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม แล้ว