คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูชาติ ศรีแสง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 796 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การได้มาโดยโฉนด การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของโฉนดที่ดิน ซึ่งมี ส. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออก โฉนดที่ดินให้ ส. เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 และเมื่อ ส. ขอออกโฉนดที่ดิน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินดังกล่าวให้แก่ ส. ที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าว ซึ่งรวมทั้งที่ดินพิพาทด้วยย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ตามกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้ ส. ผู้มีกรรมสิทธิ์ไม่ได้ แม้จำเลยจะมีเจตนาครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่วันที่ออกโฉนดที่ดิน เป็นต้นไป ต่อมามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2533 เนื่องจากโจทก์ประมูลซื้อที่ดินดังกล่าวได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล เมื่อจำเลยมิได้ให้การหรือนำสืบว่าโจทก์มิใช่บุคคลภายนอกและกระทำการไม่สุจริตแล้ว โจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ว่ากระทำการโดยสุจริต สิทธิการครอบครองปรปักษ์ของจำเลยจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตามมาตรา 1299 วรรคสอง การครอบครองปรปักษ์ที่มีอยู่ก่อนนั้นจึงสิ้นไป แม้หลังจากที่โจทก์รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามโฉนดที่ดินดังกล่าวมาเป็นของโจทก์แล้ว จำเลยจะครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาก็ต้องเริ่มนับระยะเวลาการครอบครองที่ดินพิพาทใหม่ตั้งแต่ปี 2533 เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดียังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5397/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานต้องชัดเจนถึงเจตนา
จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีบ้านอยู่ใกล้กัน จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยจำเลยที่ 2 นั่งอยู่ด้วยในขณะที่ อ. เข้ามาพูดคุยกับจำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 ย่อมทราบเรื่องดี เมื่อจำเลยที่ 2 รับสิ่งของแล้ว จำเลยที่ 1ก็ขับรถยนต์ออกไป เช่นนี้แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ทราบรายละเอียดของการที่ตนขับรถยนต์พาจำเลยที่ 2 มายังสถานที่เกิดเหตุเพื่อวัตถุประสงค์อะไร เมื่อ อ. นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งให้จำเลยที่ 2ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการในการรับมอบเมทแอมเฟตามีนนั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วยโดยแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีไว้ในครอบครองซึ่งเมทแอมเฟตามีนนั้น
สำหรับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้นโจทก์มีเพียงคำรับในชั้นจับกุมของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับคำรับของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำการใดที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ทั้งยังไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสองกรณียังถือไม่ได้ว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้มีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ยกเว้น แต่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
การมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขายไปไม่เกิน 0.500 กรัม ที่จะไม่เป็นความผิดตามกฎหมายนั้นผู้กระทำต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 มาตรา 21 มาตรา 30 และมาตรา 62 แห่ง พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 แต่ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งเมทแอมเฟตามีนและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับใบอนุญาตให้ขายเมทแอมเฟตามีนตามมาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่จำเลยมีไว้เพื่อขายและขายเมทแอมเฟตามีนมีน้ำหนัก 0.45 กรัม จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย
เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2538 เวลากลางวัน จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายและขาย เมทแอมเฟตามีนมิใช่มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองซึ่งเป็นความผิดคนละฐาน แม้ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุให้เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ตาม จำเลยจะนำ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง และมาตรา 67 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 มาใช้บังคับไม่ได้ ทั้งโทษฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลย กรณีของจำเลยจึงต้องปรับบทตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอถอนผู้จัดการมรดกต้องกระทำก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น หากพ้นกำหนด สิทธิขาดอายุความ
คดีขอถอนผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่จะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตามมาตรา 1733 วรรคสองซึ่งเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความตามที่ผู้ร้องยกขึ้นคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความการจัดการมรดกตามมาตรา 1733 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อการปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้ว การใช้สิทธิขอถอนผู้จัดการมรดกย่อมพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ทายาทของเจ้ามรดกจึงไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2972/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: อำนาจฟ้องและกรอบเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727
คดีร้องขอถอนผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีเหตุที่จะถอนและต้องร้องขอก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกที่จะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ซึ่งเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง ประเด็นแห่งคดีร้องขอถอนผู้จัดการมรดกจึงมีเพียงว่า มีเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดกและร้องขอถอนผู้จัดการมรดกได้ร้องก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นหรือไม่ โดยไม่มีประเด็นเรื่องสิทธิเรียกร้องคดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือไม่ แม้ผู้ร้องจะกล่าวอ้างมาในคำคัดค้านการร้องขอถอนผู้จัดการมรดกก็เป็นเรื่องเกินเลยไม่เกี่ยวกับประเด็น การที่ศาลล่างหยิบยกเรื่องคดีขาดอายุความการจัดการมรดกตามมาตรา 1733 วรรคสอง ขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อการปันมรดกเสร็จสิ้นลงแล้ว การใช้สิทธิขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านจึงพ้นกำหนดเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้ร้องออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่มีสิทธิขอปล่อยทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ให้แก่โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ตามสัญญาแบ่งมรดก หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกันตามส่วน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดทรัพย์พิพาทเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในทรัพย์พิพาทดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์และจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน กรณีไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ผู้ร้องและจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านการบังคับคดีมรดก: เจ้าของรวมไม่ใช่เจ้าหนี้/ลูกหนี้ตามคำพิพากษา
คดีเดิมโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยให้แบ่งมรดกของ ล. ตามสัญญาแบ่งมรดก ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกบางส่วนให้โจทก์ทั้งสาม หากแบ่งกันไม่ได้ให้เอาออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ทั้งสามได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาท จึงเป็นกรณีที่เจ้าของรวมดำเนินการเพื่อแบ่งทรัพย์สินในฐานะเจ้าของรวมเท่านั้น โจทก์ทั้งสามและจำเลยมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อกัน จึงไม่ใช่การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ผู้ร้องทั้งสองไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดตามมาตรา 288

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยืนยันจำนวนเงินกู้ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 130,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 130,000 บาท จริง แต่จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว คงเหลือต้นเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดจำนวน 96,911.44 บาท และพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์โต้แย้งในส่วนที่ขาดไป ดังนั้น ต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียง 96,911.44 บาท ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ส่วนต้นเงินจำนวนที่ขาดไป 33,088.56 บาท ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยส่วนนี้ให้ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะในส่วนต้นเงินจำนวน 96,911.44 บาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ไปจำนวน 130,000 บาท มิใช่จำนวน 70,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบต่อสู้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงิน 96,911.44 บาท ตามจำนวนต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอถอนผู้จัดการมรดกต้องทำก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้น และไม่ใช่คดีขาดอายุความตามมาตรา 1733
การขอถอนผู้จัดการมรดกจะต้องมีเหตุที่จะถอนและต้องร้องขอก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง เป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ใช่คดีที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่จะต้องฟ้องภายใน 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลงซึ่งเป็นเรื่องสิทธิเรียกร้อง คดีนี้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นแห่งคดีจึงมีเพียงว่ามีเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดกและได้ร้องขอก่อนการปันมรดกเสร็จสิ้นลงหรือไม่ ไม่มีประเด็นเรื่องคดีขาดอายุความหรือไม่ แม้ผู้ร้องจะกล่าวอ้างมาในคำคัดค้านก็เป็นเรื่องเกินเลยไม่เกี่ยวกับประเด็น เมื่อปรากฏว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิร้องขอถอนผู้ร้องออกจากตำแหน่งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1727 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงโดยความยินยอมและการสมรสภายหลัง ทำให้ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษ ต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส เมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสแล้ว ทำให้ชายผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อจำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสสามแล้ว ถือว่าจำเลยและผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย
of 80