พบผลลัพธ์ทั้งหมด 499 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10129/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อจำกัดการฎีกาในคดีเยาวชนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288, 371 ประกอบมาตรา 83 เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 รวมจำคุก 3 ปี 9 เดือน และปรับ 25 บาท เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 5 จังหวัดอุบลราชธานี มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 2 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 จำคุก 7 วัน โทษจำคุกให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ 1 ปี ยกฟ้องข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่น และร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ซึ่งเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามไม่ให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพรับฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายและร่วมกันพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควรอันเป็นความผิดตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9647/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทความผิดและโทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกอบรมเยาวชน: กรณีต้องห้ามฎีกา
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี จำเลยให้การปฏิเสธแต่รับว่าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจริง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 และ 357 วรรคหนึ่ง ให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลย ยกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 340 ตรี ประกอบมาตรา 83 จำคุก 8 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 (จังหวัดเชียงใหม่) มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย 25,540 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยฎีกาว่าไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขบทความผิดและแก้โทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกและอบรม มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขมากแต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย เพราะการฝึกและอบรมไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15734/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การรวมกรรม, การรับฟังพยาน, และขอบเขตการฎีกา
ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนของจำเลยที่ 2 นั้น แม้ศาลอุทธรณ์รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 อันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
เมทแอมเฟตามีน และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้จะเป็นยาเสพติดให้โทษคนละชนิดกันแต่ก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เหมือนกันและเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นยาเสพติดให้โทษทั้งสองชนิดในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกันแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนและ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนตามคำฟ้องข้อ ก. กับข้อ ข. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ลงโทษจำเลยที่ 1 เป็น 2 กรรมนั้น จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
เมทแอมเฟตามีน และ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แม้จะเป็นยาเสพติดให้โทษคนละชนิดกันแต่ก็เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เหมือนกันและเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นยาเสพติดให้โทษทั้งสองชนิดในเวลาต่อเนื่องกระชั้นชิดกันแสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนามีเมทแอมเฟตามีนและ 3, 4 - เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนตามคำฟ้องข้อ ก. กับข้อ ข. ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายด้วยกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ลงโทษจำเลยที่ 1 เป็น 2 กรรมนั้น จึงเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21623/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อหาจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน และการยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอในคดีข่มขืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 ให้ส่งตัวจำเลยที่ 5 ไปรับการฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกำหนด 2 ปี แต่ไม่เกินกว่าที่จำเลยที่ 5 จะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (5) ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ให้มอบตัวจำเลยที่ 5 ให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ระวังจำเลยที่ 5 ไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาภายใน 1 ปี หากจำเลยที่ 5 ก่อเหตุร้าย บิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 1,000 บาท กับให้คุมความประพฤติจำเลยที่ 5 ไว้ 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบมาตรา 74 (2) (3) มิใช่การลงโทษ จึงถือมิได้ว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 เกิน 2 ปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า พฤติกรรมของจำเลยที่ 5 เป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83 เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16499/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายกฟ้องฐานจำหน่ายยาเสพติด ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดจริง ฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
นอกจากโจทก์จะฎีกากล่าวอ้างว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแล้ว โจทก์ยังฎีกายกเหตุที่ไม่เห็นด้วยกับการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ด้วย เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้ว จึงเป็นฎีกาที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง, 100/2 จำคุก 2 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67, 100/2 ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท และรอการลงโทษ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง, 100/2 จำคุก 2 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 67, 100/2 ลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว จำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท และรอการลงโทษ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ลงโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตั้งสถานีวิทยุ, ปลอมเอกสาร, ใช้ยศเท็จ ศาลฎีกาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดจริง
คดีนี้ สำหรับความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุกกระทงละ 3 เดือน ฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาตลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาว่า ความผิดทั้งสามฐานเป็นกรรมเดียวและมีระวางโทษเท่ากัน ลงโทษฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตเพียงกระทงเดียวและปรับ 30,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 4 เดือน และปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และคุมความประพฤติจำเลย ดังนี้ แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษในความผิดทั้งสามฐานดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ในข้อนี้มานั้นไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่นั้นมาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกัน ความผิดฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมกับฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
เจ้าพนักงานตำรวจยึดประกาศนียบัตรลักษณะเดียวกันหลายฉบับ รูปถ่ายจำเลยซึ่งอุปโลกน์ตนเองเป็นครูบาขาวเจ้าศรีสุธรรม รูปถ่ายสมาชิกแต่งเครื่องแบบทหารและไม่ได้แต่งเครื่องแบบ อาร์มหน่วยปฏิบัติการพิเศษทับทิมดำหน่วยเหนือ ทภ.3 แบบพิมพ์ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองพันอาสาสมัครป้องกันชาติปฏิบัติการพิเศษทับทิมดำ ภาพสัญลักษณ์หัวเสือคาบดาบหน่วยจู่โจมล่าสังหารเฉพาะกิจลับพิเศษ จทฐ. พล. ร.10 ป.พัน ทับทิมดำ ปฏิบัติการพิเศษ บัตรประจำตัวไทยอาสาป้องกันชาติออกให้โดยอำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีรอยแกะรูปถ่ายออก มีรอยลบชื่อและพิมพ์ชื่อของจำเลยแทน ตามบัญชีของกลางคดีอาญา ทั้งในประกาศนียบัตรยังมีตราครุฑ ข้อความว่า ก.ห.0043 ซึ่งตัวย่อ ก.ห. น่าจะหมายถึงกระทรวงกลาโหม มีระบุยศพันโทนำหน้าชื่อของจำเลย หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะยกตนเองขึ้นเป็นใหญ่ เริ่มต้นจากการเป็นครูบาเจ้าสำนัก แล้วซ่องสุมสมาชิกเพื่อสร้างเสริมบารมีให้กับตน โดยแอบอ้างหน่วยงานทางทหารหรือกองทัพบก แม้หน่วยงานที่อ้างจะไม่มีอยู่จริงก็ตาม พฤติกรรมของจำเลยเห็นได้ชัดว่ารู้เห็นเป็นใจในการปลอมประกาศนียบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการโฆษณาชวนเชื่อจูงใจคนสมัครเป็นสมาชิก และเพื่อให้แนบเนียนสมจริงจึงอุปโลกน์ยศทหารของตนไว้ด้วย ดังเช่นการอุปโลกน์ตนเป็นครูบาขาวเจ้าศรีสุธรรมดังกล่าวข้างต้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้ยศโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย
การที่จำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่นั้นมาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมขึ้นก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกัน ความผิดฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมกับฐานตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียว
เจ้าพนักงานตำรวจยึดประกาศนียบัตรลักษณะเดียวกันหลายฉบับ รูปถ่ายจำเลยซึ่งอุปโลกน์ตนเองเป็นครูบาขาวเจ้าศรีสุธรรม รูปถ่ายสมาชิกแต่งเครื่องแบบทหารและไม่ได้แต่งเครื่องแบบ อาร์มหน่วยปฏิบัติการพิเศษทับทิมดำหน่วยเหนือ ทภ.3 แบบพิมพ์ใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองพันอาสาสมัครป้องกันชาติปฏิบัติการพิเศษทับทิมดำ ภาพสัญลักษณ์หัวเสือคาบดาบหน่วยจู่โจมล่าสังหารเฉพาะกิจลับพิเศษ จทฐ. พล. ร.10 ป.พัน ทับทิมดำ ปฏิบัติการพิเศษ บัตรประจำตัวไทยอาสาป้องกันชาติออกให้โดยอำเภอจุน จังหวัดพะเยา มีรอยแกะรูปถ่ายออก มีรอยลบชื่อและพิมพ์ชื่อของจำเลยแทน ตามบัญชีของกลางคดีอาญา ทั้งในประกาศนียบัตรยังมีตราครุฑ ข้อความว่า ก.ห.0043 ซึ่งตัวย่อ ก.ห. น่าจะหมายถึงกระทรวงกลาโหม มีระบุยศพันโทนำหน้าชื่อของจำเลย หลักฐานดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะยกตนเองขึ้นเป็นใหญ่ เริ่มต้นจากการเป็นครูบาเจ้าสำนัก แล้วซ่องสุมสมาชิกเพื่อสร้างเสริมบารมีให้กับตน โดยแอบอ้างหน่วยงานทางทหารหรือกองทัพบก แม้หน่วยงานที่อ้างจะไม่มีอยู่จริงก็ตาม พฤติกรรมของจำเลยเห็นได้ชัดว่ารู้เห็นเป็นใจในการปลอมประกาศนียบัตรเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการโฆษณาชวนเชื่อจูงใจคนสมัครเป็นสมาชิก และเพื่อให้แนบเนียนสมจริงจึงอุปโลกน์ยศทหารของตนไว้ด้วย ดังเช่นการอุปโลกน์ตนเป็นครูบาขาวเจ้าศรีสุธรรมดังกล่าวข้างต้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และใช้ยศโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกัญชา: ศาลฎีกาแก้เป็นว่ามีความผิดฐานจำหน่ายกัญชา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาต่างไป
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยและยึดกัญชาแห้ง 5 ห่อ น้ำหนักสุทธิ 23.740 กรัม เป็นของกลาง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และฐานจำหน่ายกัญชาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76/1 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี 4 เดือน รวมจำคุก 2 ปี 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และมิได้จำหน่ายกัญชา พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง, 76 วรรคหนึ่ง แต่เพียงฐานเดียว ลงโทษจำคุก 3 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ มาตรา 78 แล้ว คงลงโทษจำคุก 1 เดือน 15 วัน ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ศาลอุทธรณ์แก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้ไขมากแต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงหลังศาลอุทธรณ์แก้โทษ คดีปลอมเอกสารสิทธิ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265, 264 วรรคแรก, 83 เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกคนละ 9 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก, 83 จำคุกคนละ 6 เดือน ข้อหาอื่นให้ยก จึงเป็นกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ซึ่งห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8390/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนเถื่อนในครอบครอง และการแก้ไขโทษจากศาลอุทธรณ์
ข้อหาพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7 และ ป.อ. มาตรา 371 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ปรับ 50 บาท จึงเป็นกรณีแก้ไขมาก แต่ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีอาวุธปืนเครื่องหมายทะเบียนถูกขูดลบไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ ต้องฟังว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค และการพิพากษาลงโทษหลายกรรมต่างกัน
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุอ้างแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 4 โดยมิได้อ้างคำว่า "มาตรา" ไว้ด้วย น่าจะเป็นการพิมพ์ผิดหลงเมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวเท่านั้น ที่บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษเอาไว้ ส่วนมาตราอื่นๆ ล้วนบัญญัติในเรื่องอื่นไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิด ทั้งในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ โดยชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องโดยระบุชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกจากกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดสองกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ และใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลย โดยพิพากษาแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุกกระทงละ 3 เดือน จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นคำพิพากษาที่แก้ไขมากและไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
โจทก์ฟ้องโดยระบุชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกจากกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดสองกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ และใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลย โดยพิพากษาแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุกกระทงละ 3 เดือน จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นคำพิพากษาที่แก้ไขมากและไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย