พบผลลัพธ์ทั้งหมด 499 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4292/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษไม่เกินกรอบที่กฎหมายกำหนด โจทก์ฎีกาขอเพิ่มโทษจึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุกกระทงละ 2 เดือน รวม 4 กระทง จำคุก 8 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำคุกกระทงละ 1 เดือน และปรับกระทงละ 2,000 บาท รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 เดือน ปรับ 8,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 2 เดือน ปรับ 4,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดดังกล่าว คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเท่ากับว่าเป็นการฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยและไม่รอการลงโทษ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และการโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองและหมู่บ้านโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำคุก 6 เดือน ฐานบุกรุก จำคุก 6 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลดโทษกึ่งหนึ่งแล้ว ปรับ 10,000 บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจำคุกให้รอการลงโทษ 2 ปี ดังนี้ แม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 จะได้รอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี คดีนี้จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาแก้เรื่องการลงโทษคดีฉ้อโกงโดยใช้หนังสือเดินทางปลอม ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว
จำเลยปลอมหนังสือเดินทางของประเทศอังกฤษและใช้หนังสือเดินทางปลอมอ้างแสดงเป็นหลักฐานต่อธนาคาร ก. ในการเปิดบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์ชื่อเจ้าของบัญชี นายแนท เวสต์แบงค์ (NAT WESTBANK) เพื่อหลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าหากโอนเงินเข้าฝากในบัญชีที่เปิดไว้นี้ จะได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีที่จำเลยเปิดไว้ดังกล่าว การกระทำของจำเลยก็เพื่อเจตนาเพียงประการเดียวก็คือเพื่อฉ้อโกงเงินจากผู้เสียหาย จึงเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ยังลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเบาลง โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 83 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมแทนมีกำหนดคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดต่อ ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เนื่องจากการที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมคนละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน มิใช่การลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7508/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษจำคุกเป็นปรับและรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 20,000 บาทอีกสถานหนึ่ง แล้วรอการลงโทษจำคุกและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินคนละ 2 ปีและปรับไม่เกินคนละ 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยเป็นการโต้เถียงดุลพินิจการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 1 อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษและมีเหตุต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ระหว่างพิจารณาผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาลอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานบุกรุกจำคุก 6 เดือน ในความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง ฯลฯจำคุก 3 เดือน ฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกไว้โจทก์ร่วมฎีกา ดังนี้ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีได้ น่าจะหมายถึงการอนุญาตเฉพาะในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 364,365 เท่านั้น ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และความผิดต่อพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายจึงเป็นโจทก์ร่วมในข้อหาดังกล่าวไม่ได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยในข้อหาดังกล่าว
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
ความผิดในข้อหาบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364,365 แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้ไขรอการลงโทษจำคุกจำเลยอันเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่และข้อโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์ รวมถึงประเด็นโทษจำคุกที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 76 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครองครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ส่วนเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนที่เหลือเป็นของ ส. โดยจำเลยทั้งสองมิได้ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนดังกล่าว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนจำนวน 16 หลอด และเมทแอมเฟตามีนจำนวน 66 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่จึงยุติไป โจทก์จะโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีน ดังกล่าวไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตหาได้ไม่ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ แล้วคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นจำคุก 1 ปี และปรับ 10,000 บาท ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 7,500 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยที่ 2 ไม่เกินกำหนดดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่โจทก์ฎีกาว่า ตามพฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ ส. มีเฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตและขอให้ลงโทษสถานหนักโดยไม่รอการลงโทษให้จำเลยที่ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการกำหนดโทษของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 เพียงใด อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
เมื่อขณะค้นพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ของกลาง จำเลยที่ 1 นอนหลับอยู่บนเตียง แม้จะได้ความว่าจำเลยทั้งสองเช่าห้องพักที่เกิดเหตุอยู่ด้วยกัน เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองจึงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 10 เม็ด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสี่ คงจำคุก 6 เดือน ที่ถูกต้องจำคุก 9 เดือน แต่โจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้อง และที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 โดยไม่รอการลงโทษ ก็เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 คดีของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัย ของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 2 ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากครอบครองเพื่อขายเป็นครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และอำนาจการริบของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 วรรคหนึ่ง, 90 ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง, 106 วรรคสอง ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 8 เดือน แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่มิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจำคุกจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบ เนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม แก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 และ 90 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 ศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 32
แม้เรื่องอำนาจฟ้องจะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยฎีกาอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบ เนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม แก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวน ฎีกาข้อนี้ของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ ลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 16 และ 90 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง และ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องนั้นรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายได้
วัตถุออกฤทธิ์ที่จะริบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 116 ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 99 มาตรา 100 หรือมาตรา 101 ศาลมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าว จึงไม่อาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดซึ่งตาม ป.อ. มาตรา 32 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจริบเฟนโพรพอเรกซ์ของกลางได้ตาม ป.อ. มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 219 และการลงโทษฐานครอบครองวัตถุออกฤทธิ์โดยไม่มีคำขอท้ายฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 16 วรรคหนึ่ง,90 ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 62 วรรคหนึ่ง,106 วรรคสอง ลดโทษให้หนึ่งในสามแล้วคงจำคุก8 เดือน แม้จะเป็นการแก้ไขมาก แต่มิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจำคุกจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจที่จะสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 16และ 90 ซึ่งความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลย ในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายได้
กรณีที่จะริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 116นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89,90,99,100 หรือ 101 หากมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวก็ไม่อาจริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวหากผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเป็นความผิดจึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่การที่จำเลยอ้างว่าการสอบสวนไม่ชอบเนื่องจากพนักงานอัยการได้มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีแล้ว พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจที่จะสอบสวนโดยการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่จำเลยอีก ซึ่งจะเป็นจริงตามที่จำเลยอ้างหรือไม่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อขาย ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 16และ 90 ซึ่งความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 62 วรรคหนึ่งและ 106 วรรคสอง อยู่ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามที่ฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลย ในความผิดฐานมีเฟนโพรพอเรกซ์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีบทเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้ายได้
กรณีที่จะริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ มาตรา 116นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการลงโทษตามมาตรา 89,90,99,100 หรือ 101 หากมิได้ลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวก็ไม่อาจริบวัตถุออกฤทธิ์ให้แก่กระทรวงสาธารณสุขได้ แต่วัตถุออกฤทธิ์ดังกล่าวหากผู้ใดมีไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตเป็นความผิดจึงต้องริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์แก้โทษลดลง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง, 37 จำคุก 2 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับ 2,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย คดีนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติข้างต้น ทั้งข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นอีกด้วย ฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15