พบผลลัพธ์ทั้งหมด 499 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการพิจารณาคดีแพ่งและอาญา และการโต้แย้งข้อเท็จจริงในฎีกา
ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเป็นไม่รอการลงโทษจำคุกให้นั้นเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219 การที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญาไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา42และ46มุ่งหมายที่จะให้ศาลมีพิจารณาคดีส่วนแพ่งรอฟังผลคดีส่วนอาญาก่อนแล้วจึงพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎในคดีส่วนอาญาฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาส่วนอาญาก่อนโดยไม่ฟังผลในคดีส่วนแพ่งจึงชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีใหม่ไม่ปรากฎว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการพิจารณาคดีแพ่งอาญาและการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเป็นไม่รอการลงโทษจำคุกให้นั้น เป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219
การที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 42 และ 46 มุ่งหมายที่จะให้ศาลที่พิจารณาคดีส่วนแพ่งรอฟังผลคดีส่วนอาญาก่อนแล้วจึงพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีส่วนอาญา ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก่อนโดยไม่ฟังผลในคดีส่วนแพ่งจึงชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีส่วนอาญา ไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ แต่ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 42 และ 46 มุ่งหมายที่จะให้ศาลที่พิจารณาคดีส่วนแพ่งรอฟังผลคดีส่วนอาญาก่อนแล้วจึงพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคดีส่วนอาญา ฉะนั้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก่อนโดยไม่ฟังผลในคดีส่วนแพ่งจึงชอบแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิจารณาคดีใหม่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5106/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน ศาลฎีกาชี้ว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดีแพ่งก่อน และการไม่รอการลงโทษจำคุกอาจไม่เหมาะสม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน2ปีและให้รอการลงโทษจำคุกไว้ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษาแก้เป็นว่าไม่รอการลงโทษจำคุกเป็นการแก้ไขมากและเพิ่มเติมโทษจำเลยจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219 ไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาคดีอาญาการที่ศาลมีคำพิพากษาคดีอาญาก่อนโดยไม่ฟังผลในคดีแพ่งจึงเป็นการชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทและโทษในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นบทหนักกว่าเดิมได้หรือไม่ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายของศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา290วรรคแรกจำคุก4ปีศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288อีกบทหนึ่งให้ลงโทษตามมาตรา288ซึ่งเป็นบทหนักจำคุก20ปีโดยแก้ไขทั้งบทและโทษเป็นการแก้ไขมากจึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2ฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้ตายโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288,83ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่2กับพวกทำร้ายผู้ตายโดยไม่มีเจตนาฆ่าจึงลงโทษตามมาตรา290วรรคแรกหากศาลอุทธรณ์ภาค3ฟังว่าจำเลยที่2ทำร้ายผู้ตายโดยมีเจตนาฆ่าก็ต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา288,83ตามฟ้องเพียงบทเดียวจะพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดตามมาตรา288,83อีกบทหนึ่งและลงโทษตามบทนี้ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดไม่ได้และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษเป็นรอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการโต้เถียงดุลยพินิจ จึงต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา326จำคุกกระทงละ1เดือนรวม3กระทงจำคุก3เดือนศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ1,000บาทอีกสถานหนึ่งรวม3กระทงปรับ3,000บาทโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีแม้ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลยเป็นการแก้ไขมากแต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค1ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีจึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯมาตรา4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาขอไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์แก้โทษเป็นรอการลงโทษ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาทอีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ 3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6863/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ จำเลยต้องโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 326จำคุกกระทงละ 1 เดือน รวม 3 กระทง จำคุก 3 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยกระทงละ 1,000 บาท อีกสถานหนึ่ง รวม 3 กระทง ปรับ3,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นให้รอการลงโทษแก่จำเลย เป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปี จึงเป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลว่าสมควรลงโทษจำเลยเพียงใด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดแย้งกันและการรับฟังคำให้การชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นและอาวุธปืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยข้อหาความผิดฐานมีอาวุธปืนศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้บทที่ลงโทษจากพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 72 วรรคหนึ่ง เป็นมาตรา 72 วรรคสาม และแก้โทษจากจำคุก2 ปี เป็นจำคุก 1 ปี เป็นการแก้ไขมาก แต่ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินสองปี จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ส่วนข้อหาพาอาวุธปืนศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ตามศาลชั้นต้นและลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริง ตามมาตรา 218 วรรคหนึ่ง คำให้การในชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์สอดคล้องตามกันและได้ให้การภายหลังเกิดเหตุทันที่โดยไม่มีเวลาคิดไตร่ตรองเพื่อช่วยเหลือหรือปรักปรำผู้หนึ่งผู้ใด เชื่อว่าได้ให้การไปตามความจริงตามที่ได้รู้เห็นโดยไม่มีเหตุจูงใจหรือถูกบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด พนักงานสอบสวนจึงได้บันทึกและให้ลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน การที่ประจักษ์พยานโจทก์มาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลว่า ไม่ทราบว่าใครเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตายก็คงเพื่อช่วยเหลือจำเลยให้พ้นผิด เชื่อว่าคำให้การชั้นสอบสวนของประจักษ์พยานโจทก์เป็นความจริงยิ่งกว่าคำเบิกความในชั้นพิจารณาทั้งคำให้การชั้นสอบสวนไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไม่ให้รับฟังประกอบเป็นข้อพิจารณาของศาลประการใด เมื่อรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดี เช่น จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม ย่อมมีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษแต่ไม่เพิ่มเติม
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองจำคุก 1 ปี 4 เดือน และฐานพาอาวุธปืนโดยไม่รับอนุญาตจำคุก 8 เดือน แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ปรับจำเลยที่ 1ในข้อหาฐานมีอาวุธปืน 7,000 บาท และข้อหาฐานพาอาวุธปืน 2,000 บาทอีกสถานหนึ่ง ซึ่งเป็นการแก้ไขมาก แต่ก็ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 กรณีจึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 219 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่จำเลยที่ 1ฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ยังเป็นที่น่าสงสัยว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอาวุธปืนและพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควรหรือไม่เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมา จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากยิงด้วยอาวุธปืนร้ายแรง แม้ไม่ถึงแก่ชีวิต ถือเป็นความผิดฐานพยายามฆ่า
ความผิดฐานมีอาวุธปืน ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคแรก จำคุก1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคสาม จำคุก 6 เดือน ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคแรก,72 ทวิ วรรคสอง และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 จำคุก 6 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะบทลงโทษเป็น มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยทั้งสองฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดทั้งสองฐานเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์มีจำเลยที่ 1 ซ้อนท้ายโดยจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนลูกซองสั้นติดตัวไป เมื่อพบผู้เสียหายทั้งสามกับพวกกำลังคุยกันอยู่ จำเลยที่ 1 ก็ยิงปืนไปที่ผู้เสียหายทั้งสาม อาวุธปืนเป็นอาวุธที่ร้ายแรงถ้าหากยิงถูกอวัยวะสำคัญอาจถึงตายได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งสาม จำเลยทั้งสองลงมือกระทำไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล เนื่องจากกระสุนปืนถูกอวัยวะไม่สำคัญจำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย