พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองแทน vs. การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา
ในคดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในคดีนี้เป็นจำเลยในข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ในที่นาของโจทก์ซึ่งเป็นที่ดินพิพาทในคดีนี้เพียงบางส่วน จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าโจทก์เป็นเพียงผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนพระภิกษุ ทองพูนบิดาโจทก์จำเลย ตามหนังสือรับรองที่โจทก์ทำไว้กับพระภิกษุ ทองพูนเอกสารหมาย ล.1 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้ทำหนังสือเอกสารหมาย ล.1 ไว้จริง จำเลยทั้งสองเข้าไปทำนาในที่ดินพิพาทโดยเชื่อว่ามีสิทธิเข้าไปทำได้โดยสุจริต จึงไม่มีเจตนาบุกรุกพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ที่ 3ในคดีนี้หาว่าบุกรุกที่ดินพิพาทในคดีอาญาและที่ดินแปลงอื่นจนเต็มพื้นที่ การฟ้องคดีนี้ส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทบริเวณเดียวกันกับในคดีอาญา จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในคดีอาญาศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ทำเอกสารหมาย ล.1 ไว้จริง และคดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญาว่าโจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทแทนพระภิกษุ ทองพูน โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาท ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ที่ 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน การผิดสัญญา และเบี้ยปรับ
ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในสัญญาถือ ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาได้ แต่ ศาลมี อำนาจที่จะพิจารณาว่าเป็นจำนวนพอสมควรหรือไม่เพียงใด และการเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับกับการไม่คืนเงินมัดจำเป็นคนละกรณีกัน การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้นเพราะจำเลยไม่คืนเงินมัดจำให้โจทก์ย่อมไม่เป็นการสมควร เพราะโจทก์ต้อง ได้ รับเงินมัดจำคืนตาม ฟ้องซึ่ง ศาลวินิจฉัยให้คืนอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: เงินงบประมาณของรัฐ เงินไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แม่ฮ่องสอน ขึ้นต่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นราชการบริหารสาธารณสุขส่วนภูมิภาค เงินที่กล่าวหาว่ามีการยักยอกคดีนี้เป็นเงินงบประมาณของ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง จัดสรรไปให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเบิกจ่ายโดย ผ่านคลังจังหวัด แม่ฮ่องสอน เงินที่ถูก ยักยอกจึงไม่ใช่เงินของจังหวัด แม่ฮ่องสอน โจทก์ แต่ เป็นของ กระทรวงสาธารณสุข เจ้าของเงินงบประมาณประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลง วันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 50กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอนั้นและข้อ 55 ระบุถึง อำนาจบังคับบัญชาเท่านั้น ไม่ได้รวมถึง การเป็นเจ้าของเงินงบประมาณที่เสียหายด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในทรัพย์สินโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์ บุตรโจทก์และ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทกับ น. โดย จำเลยอาศัยสิทธิของ น. ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้อื่น
จำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมคนหนึ่ง โจทก์ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมอีกคนหนึ่งจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น
การที่โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินพิพาทอยู่แล้ว โจทก์จะมีสิทธิจดทะเบียนนิติกรรมได้ก่อนหรือไม่ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งอยู่โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในบ้านและที่ดินพิพาทนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดของนายงานต่อการกระทำของคนงาน
เหตุเพลิงใหม้ เกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่ แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่างปฏิบัติงานให้จำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงอยู่ในฐานะนายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
แม้ไม่ได้ความว่าผู้ทำละเมิดเป็นใคร แต่เมื่อฟังได้ว่าผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมาย พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
แม้ไม่ได้ความว่าผู้ทำละเมิดเป็นใคร แต่เมื่อฟังได้ว่าผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมาย พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดของจำเลยอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรง
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมายพนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่างก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงอยู่ในฐานะนายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง: หลักการแทนกันและขอบเขตความรับผิด
ผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ ทำ ละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตาม หน้าที่ที่รับ มอบหมาย พนักงานหรือคนงานดังกล่าวถือ ได้ ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้อง รับผิดใช้ ค่าสินไหมทดแทนตาม ที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 76 แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่าง ก็เป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 และต่างปฏิบัติหน้าที่ให้จำเลยที่ 1 ด้วย กัน จึงอยู่ในฐานะ นายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องร่วม รับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตความรับผิดของนายงานกับคนงาน
เหตุเพลิงใหม้ เกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่แม้พนักงานหรือคนงานผู้ทำละเมิดอยู่ในบังคับบัญชาของจำเลยที่ 2และที่ 3 แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพนักงานหรือคนงานดังกล่าวต่างปฏิบัติงานให้จำเลยที่ 1 ด้วยกัน จึงอยู่ในฐานะนายงานกับคนงานเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนผิดในการออกคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนเกิดความเสียหายขึ้น จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้ไม่ได้ความว่าผู้ทำละเมิดเป็นใคร แต่เมื่อฟังได้ว่าผู้ทำละเมิดเป็นพนักงานหรือคนงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำละเมิดในขณะปฏิบัติการงานของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ที่รับมอบหมาย พนักงานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้แทนอื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เมื่อก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76.