พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการครอบครองและการบังคับคดี
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาสัญญาเช่าและขอบเขตความรับผิดชอบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบแทนเจ้าของที่ดิน
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า หรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดชอบค่าภาษีตามสัญญาเช่า: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ไม่ระบุในสัญญา
จำเลยได้ลงทุนก่อสร้างโรงแรมแล้วยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยมีสิทธิเช่าโรงแรมที่ก่อสร้างเพื่อดำเนินกิจการโรงแรมเป็นเวลา 16 ปี 6 เดือน และตลอดเวลาการเช่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีโรงเรือน ภาษีการค้าหรือภาษีอื่นใด และภาษีส่วนที่ทางราชการประเมินสูงกว่าที่ปรากฏในสัญญาเช่า การที่จำเลยยกกรรมสิทธิ์ในที่ก่อสร้างให้แก่เจ้าของที่ดินนี้ กรมสรรพากรถือว่าเป็นรายได้พึงประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงที่จะต้องเสียภาษี เมื่อพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญาแล้ว ถ้าเจ้าของที่ดินมีเจตนาให้จำเลยชำระภาษีส่วนนี้แทนด้วยก็ควรจะต้องระบุไว้ให้ชัดแจ้งเพราะภาษีโรงเรือน ภาษีการค้า ยังระบุไว้ได้ หรือมิฉะนั้นระบุว่าภาษีใด ๆ ก็เพียงพอแล้วไม่ต้องระบุรายละเอียดว่าเป็นภาษีในกรณีใดบ้างอย่างเช่นที่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่า ทำให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาว่ามิได้หมายความรวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วยจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนนี้แทนเจ้าของที่ดิน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของเจ้าของที่ดินย่อมไม่มีสิทธิยกเอาเหตุนี้มาบอกเลิกสัญญาเช่าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการคุ้มครองสิทธิผู้รับจำนองสุจริต ผู้ครอบครองปรปักษ์ยังไม่จดทะเบียนสิทธิ ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้รับจำนอง
ผู้ร้องได้ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์นำยึดมาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5570/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและจดทะเบียน การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนทำไม่ได้
ผู้ร้องได้ที่ดินและตึกแถวที่โจทก์นำยึดมาโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการได้มาซึ่งสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม เมื่อผู้ร้องไม่ได้จดทะเบียนสิทธิของตนไว้ จึงไม่อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนได้ ทั้งต้องห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองที่ดินและตึกแถวดังกล่าวโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5478/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ ชดใช้ค่าเสียหายและรอการลงโทษ
แม้จำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นบิดาของผู้ตาย ภายหลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว ก็ยังถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรปรานี ทั้งผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่จำเลย และจำเลยรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตร จึงควรให้โอกาสจำเลยโดยลงโทษในสถานเบาและรอการลงโทษให้จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5334/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้มีผลบังคับใช้ได้ หากเกิดจากความเข้าใจผิดเรื่องที่ดิน และการข่มขู่เป็นเพียงการใช้สิทธิตามปกติ
การซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยตกลงซื้อขายโดยยึดถือจำนวนเนื้อที่เป็นสำคัญปรากฏภายหลังว่าที่ดินที่โจทก์ซื้อจากจำเลยได้รวมเอาที่ดินสาธารณะไว้ด้วยบางส่วน ทำให้เนื้อที่ดินขาดหายไป เมื่อโจทก์ไปขอเงินค่าที่ดินคืนจากจำเลย จำเลยไม่ยอมคืนเงินให้ เช่นนี้ย่อมมีเหตุที่จะทำให้โจทก์เข้าใจได้ว่าจำเลยหลอกลวงโจทก์โดยเอาที่สาธารณะมาขายให้ แม้พฤติการณ์จะยังไม่ปรากฏชัดแจ้งก็ตาม การที่โจทก์พูดขู่จำเลยว่าหากไม่คืนเงินจะฟ้องให้จำเลยติดคุกติดตะราง จำเลยจึงยอมลงลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือรับสภาพหนี้ยอมรับจะใช้เงินที่ขาดคืนแก่โจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ทำไปโดยเชื่อว่าตนมีสิทธิทำได้ตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิตามปกตินิยม หาใช่การข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะไม่ หนังสือรับสภาพหนี้จึงมีผลใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5169/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น & ค่าฤชาธรรมเนียมกรณีผู้ฟ้องได้รับอนุญาตฟ้องคดีอย่างคนอนาถา
การที่จำเลยครอบครองทรัพย์สินที่เป็นมรดกของเจ้ามรดกในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดก ถือได้ว่า เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754มาใช้บังคับมิได้ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินพิพาทจากจำเลยได้ ความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดี ย่อมตก อยู่แก่ฝ่ายที่แพ้คดี เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลชั้นต้นให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์แต่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถา การที่ศาลชั้นต้นให้ฝ่ายจำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ได้รับยกเว้นให้ฟ้องคดีอย่างคนอนาถากับให้ชำระต่อศาลในนามโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ผลของการวินิจฉัยศาลชั้นต้นเรื่องฟ้องซ้ำทำให้โจทก์ฟ้องไม่ได้อีก แม้คำสั่งศาลจะใช้คำไม่ถูกต้อง
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำของศาลชั้นต้นจะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267ก็ตาม แต่ผลจากคำวินิจฉัยในเรื่องฟ้องซ้ำนั้นย่อมทำให้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาดังกล่าวอีกไม่ได้ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่าจำหน่ายคดีเฉพาะข้อหาดังกล่าวซึ่งไม่ถูกต้องก็ตาม ก็มีผลเท่ากับเป็นการยกฟ้องโจทก์ ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13