พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์-ขายทอดตลาด: การรู้เห็นราคา, อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี, และราคาขายที่เหมาะสม
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.
เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้
การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ การประเมินราคา การขายทอดตลาด และอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่ 3 ลงชื่อทราบหมายบังคับคดี กับลงชื่อในบันทึกการยึดทรัพย์ บัญชีทรัพย์ที่ยึด และสัญญารักษาทรัพย์ ซึ่งต่างลงวันที่วันเดียวกับวันที่ยึดทรัพย์ แสดงว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นการยึดทรัพย์และการคำนวณราคาทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยตลอด เมื่อจำเลยที่ 3 อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าความเป็นจริง แม้จะมิใช่เรื่องการคำนวณราคาทรัพย์เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมการยึดแล้วไม่ขายตามหมายเหตุท้ายตาราง 5จำเลยที่ 3 ก็ต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296วรรคสอง เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วย่อมมีอำนาจมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ การขายทอดตลาดได้เลื่อนมาหลายครั้งแล้ว และราคาที่ขายได้ในครั้งหลังสุดก็สูงพอสมควร ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้หาผู้เข้าสู้ราคาให้ราคาสูงกว่านี้ได้ และการเลื่อนการขายทอดตลาดไปก็ไม่มีอะไรเป็นประกันว่าจะขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ในราคาสูงกว่านี้อีก จึงไม่ควรให้เลื่อนการขายทอดตลาดต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การโต้แย้งการประเมินราคาและการมอบหมายให้รองจ่าศาลดำเนินการ
เมื่อจำเลยอ้างว่า การกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ในการดำเนินการบังคับคดี กรณีก็ตก อยู่ ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยจะต้องเสนอเรื่องต่อศาลภายใน 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนคือวันที่ยึดทรัพย์ เมื่อจ่าศาลได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีจากศาลแล้วย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการตามกฎหมายและมีอำนาจที่จะมอบหมายให้รองจ่าศาลไปปฏิบัติหน้าที่แทนได้ในเมื่อตนเองไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้ การมอบหมายดังกล่าวเป็นเรื่องภายในและอยู่ในความรับผิดชอบของจ่าศาลโดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญชาติ: การพิจารณาความเป็นไทยของบุตรจากมารดาที่ถูกถอนสัญชาติ และอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดย ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การพิจารณาบุคคลที่เกิดหลังประกาศ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 และอำนาจหน้าที่นายอำเภอ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) ที่ให้ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว แต่ไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและขณะที่เกิดบิดาหรือมารดานั้นเป็นผู้ที่มาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองนั้น ข้อความที่ว่า"ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย" ย่อมเป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงคนต่างด้าวที่มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะเป็นข้อความที่ใช้ถ้อยคำติดต่อกันตลอดไม่มีลักษณะที่จะให้เข้าใจได้ว่าต้องการจะให้แยกความหมายของคำว่า "เข้ามา" กับคำว่า "อยู่"ออกจากกันเหมือนดังที่บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 มาตรา 54 ที่ใช้คำว่า "เข้ามาหรืออยู่" ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต้องการให้มีผลบังคับถึงคนต่างด้าวทั้งที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร กับที่อยู่ในราชอาณาจักรอยู่แล้วโดยมิได้เดินทางมาจากนอกราชอาณาจักรด้วย โดยที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1(3)เป็นกฎหมายที่มีลักษณะถอนสิทธิของบุคคลจึงต้องแปลความโดยเคร่งครัดดังนั้น กรณีของนาง ท. มารดาโจทก์ทั้งสามเกิดในราชอาณาจักรไทยแม้จะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 1(3) กลายเป็นคนต่างด้าวและอยู่ในราชอาณาจักรไทยต่อมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็มิใช่เป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามความหมายแห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว โจทก์ทั้งสามเป็นบุตรนาง ท. และเกิดในราชอาณาจักรไทยจึงมิใช่บุคคลตามข้อ 1แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้โจทก์ทั้งสามจะเกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับแล้วก็ไม่ต้องด้วยกรณีที่จะไม่ได้สัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ข้อ 2 โจทก์ทั้งสามจึงได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) และไม่ถูกถอนสัญชาติไทยโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1(3) แม้จะปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ระบุชื่อนาย ส. เป็นจำเลยโดยไม่ได้ระบุตำแหน่งของจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬมาด้วยก็ตามแต่การจะพิจารณาว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงข้อความในฟ้องประกอบกันด้วย ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าจำเลยเป็นข้าราชการมีตำแหน่งเป็นนายอำเภอบึงกาฬจังหวัดหนองคาย เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้จดทะเบียนให้โจทก์เป็นคนสัญชาติไทยต่อจำเลย จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยในฐานะเป็นนายอำเภอบึงกาฬแล้ว โจทก์หาได้ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวไม่ ปรากฏว่าเมื่อบิดาของโจทก์ทั้งสามได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยให้จดทะเบียนให้โจทก์ทั้งสามเป็นคนสัญชาติไทย แต่จำเลยเพิกเฉยการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในเรื่องสัญชาติแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะนายอำเภอบึงกาฬให้จดทะเบียนสัญชาติไทยให้แก่โจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และความถูกต้องของฐานะโจทก์ผู้ชำระบัญชี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้ ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4664/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าหลังบอกเลิกสัญญาเช่า และการฟ้องในฐานะเจ้าพนักงานบังคับคดี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นผู้เช่าอาคารของ จ. แล้วให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเช่าช่วงเพื่อทำโรงแรมเมื่อ จ. ถึงแก่กรรม การที่จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของจ. ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่ากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายที่ จ. ผู้ให้เช่าและห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.ผู้เช่ามีนิติสัมพันธ์ต่อกันตามสัญญาเช่าอาคาร และการที่จำเลยที่ 3 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ก็เป็นมูลกรณีจากการที่คู่กรณีในสัญญาจะปฏิบัติการชำระหนี้ต่อกันตามข้อสัญญา ส่วนการที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 3ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ก็ต้องถือว่าเป็นการใช้สิทธิของจำเลยที่ 3ดังนั้น การที่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 4 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. จึงไม่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตหรือจงใจกระทำการฉ้อโกงอันเป็นการกระทำละเมิดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์
คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย
แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะได้บรรยายถ้อยคำเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสี่ไม่สุจริต การกระทำฉ้อโกงโจทก์อันเป็นละเมิด แต่ฟ้องโจทก์ในตอนต้นก็บรรยายถึงนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยและบุคคลที่เกี่ยวข้องตามสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนนั้นไว้โดยละเอียดแล้วและตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ก็ขอให้จำเลยชำระเงินค่าตอบแทนการก่อสร้างให้โจทก์ตามสัญญาด้วย เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ ศาลก็มีหน้าที่ต้องปรับใช้กฎหมายเรื่องผิดสัญญาหรือละเมิดให้ตรงตามข้อเท็จจริงที่นำสืบกันมา การนำสืบข้อเท็จจริงของโจทก์จึงไม่ต่างกับฟ้อง
จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัยให้
ส. ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม และมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เป็นผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการชำระบัญชีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) และแม้คำฟ้องของโจทก์จะมีคำว่า ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ต่อท้ายชื่อของ ส.ก็ไม่ได้หมายความว่า เป็นการฟ้องคดีในนามของผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์
คำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" หมายความว่า เจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีซึ่งสังกัดอยู่ในกรมบังคับคดี มิได้มีความหมายจำกัดเฉพาะอธิบดีกรมบังคับคดี หรือผู้ที่อธิบดีกรมบังคับคดีมอบหมายเท่านั้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่ากองพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นส่วนราชการในกรมบังคับคดีมีหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้อำนวยการกองพิทักษ์ทรัพย์ย่อมเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306-4307/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและตึกแถว จำเลยต้องรับผิดต่อความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพถนนตามสัญญา
จำเลยประกาศโฆษณาขายที่ดินและตึกแถวที่โจทก์ซื้อว่ามีถนนกว้าง 10 เมตร เมื่อครบ 10 ปีแล้วจะยกให้เป็นทางสาธารณะ เป็นสัญญาต่อเนื่องในการขายระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ใช่การให้คำมั่นว่าจะให้จึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ยอมให้บุคคลภายนอกเช่าทรัพย์สินไปและทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อโจทก์ผู้มี สิทธิใช้ทรัพย์สินนั้นตามสัญญา จำเลยต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเดิมย่อมได้รับการคุ้มครอง แม้มีการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง และการออก น.ส.3 โดยชอบ
จำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศสงวนที่ดินเป็นเขตนิคมสร้างตนเอง แม้จะมีการสงวนที่ดิน แต่กรมประชาสงเคราะห์ก็มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าจะไม่รบกวนสิทธิของราษฎรที่ครอบครองทำประโยชน์อยู่ทั้งตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511ก็มิได้มีบทบัญญัติที่จะเป็นการตัดสิทธิของราษฎรที่มีสิทธิในที่ดินอยู่ก่อนแล้ว ที่พิพาทจึงไม่เป็นที่รกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้จำเลยมิได้สมัครเป็นสมาชิกของนิคมก็ไม่ทำให้จำเลยเสียสิทธิครอบครองอันทำให้ที่พิพาทกลับคืนมาเป็นของรัฐ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกำหนดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อไม่ถือเป็นการระงับหนี้ สัญญาค้ำประกันยังคงมีผล
การที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อ ต่อมาผู้เช่าซื้อทำหนังสือยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงยอมผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เป็นงวด ดังนี้เป็นความตกลงในการชำระหนี้โดยการเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาชำระหนี้และจำเลยเงินที่จะชำระแก่กันเป็นงวด ๆ เมื่อหนี้ดังกล่าวยังไม่ได้ชำระโดยสิ้นเชิง หนี้ตามสัญญาเช่าซื้อยังไม่ระงับฉะนั้นสัญญาค้ำประกันเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวก็ยังไม่สิ้นผลผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นความรับผิด