พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีสิทธิยึดทรัพย์สินได้ทั้งที่จำนองและไม่ได้จำนอง แม้มีการจำนองเป็นประกันหนี้
การจำนองไม่ห้ามเจ้าหนี้ผู้รับจำนองต้องผู้พันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองแต่ทางเดียว การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินของผู้ร้องซึ่งจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมไว้แก่โจทก์นั้นเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้โดยไม่ต้องอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด แม้ประกาศ คปต. ไม่ได้บัญญัติชัดเจน
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 จะมิได้บัญญัติถึงการริบรถยนต์ของกลางที่ใช้ในการกระทำผิดไว้โดยเฉพาะ แต่ถ้าได้ความว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1) อันเป็นบทบัญญัติในภาค 1 ซึ่งสามารถนำมาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นได้ตามมาตรา 17 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกทรายมีน้ำหนักเกินกำหนด อันเป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 56, 83 และขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ต้องถือว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราเป็นจำนวนมาก มีส่วนทำให้ถนนหลวงชำรุดเสียหาย รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมเป็นจำนวนมากนั้น ก็โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ได้ความจากคำฟ้อง คำรับสารภาพของจำเลยและข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป มาประกอบดุลพินิจในการสั่งริบของกลางนั่นเอง หาใช่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถยนต์บรรทุกทรายมีน้ำหนักเกินกำหนด อันเป็นความผิดตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 56, 83 และขอให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิดด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ต้องถือว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด และศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราเป็นจำนวนมาก มีส่วนทำให้ถนนหลวงชำรุดเสียหาย รัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมเป็นจำนวนมากนั้น ก็โดยอาศัยพฤติการณ์แห่งคดีตามที่ได้ความจากคำฟ้อง คำรับสารภาพของจำเลยและข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่ว ๆ ไป มาประกอบดุลพินิจในการสั่งริบของกลางนั่นเอง หาใช่เป็นการพิจารณาข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจ่ายสินบนกรณีความผิดศุลกากรตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ มาตรา 9
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 ให้ใช้บังคับแก่ความผิดซึ่ง เกิดตาม กฎหมายว่าด้วยการศุลกากรด้วย และมาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อ ศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัล ดังนี้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร และมีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ศาลจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งจ่ายสินบนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งจ่ายสินบนในคดีศุลกากรตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ และการใช้บังคับกับความผิดตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 ให้ใช้บังคับแก่ความผิดซึ่งเกิดตามกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรด้วย และมาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อ ศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัล ดังนี้ เมื่อพนักงานอัยการโจทก์ได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร และมีคำขอท้ายฟ้อง ขอให้ศาลจ่ายสินบนแก่ผู้นำจับ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งจ่ายสินบนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บังคับคดี ยึดทรัพย์สินจำนองได้ แม้มีการจำนองเป็นประกันหนี้
ในชั้นบังคับคดี ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 4401 จดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมการจำนองดังกล่าวไม่ห้ามเจ้าหนี้ผู้รับจำนองต้องผูกพันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแต่เฉพาะทรัพย์สินที่จำนองแต่ทางเดียว การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดำเนินการบังคับคดียึดที่ดินโฉนด เลขที่ 4401 ของผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้สามัญ โจทก์ย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่น ๆ ของจำเลยรวมทั้งทรัพย์ที่จำนองได้ จึงหาต้องดำเนินการตามกฎหมายในเรื่องการบังคับจำนองไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตนเอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำฟ้องไม่เคลือบคลุม และมารดามีอำนาจฟ้องได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3237/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและมารดา อำนาจบิดามารดาฟ้องแทนบุตร ฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลย แม้ในคำบรรยายฟ้องกล่าวว่าโจทก์ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรจากจำเลย แต่ในเอกสารท้ายฟ้องกับคำขอท้ายฟ้องก็ได้ขอให้จำเลยจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่โจทก์และบุตร ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่พอเข้าใจได้ว่าขอให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรและตัวโจทก์เองด้วย แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์กระทำแทนบุตรก็ไม่ทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1565 ให้บิดาหรือมารดานำคดีที่เกี่ยวกับการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขึ้นว่ากล่าวก็ได้ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจบิดามารดาเป็นพิเศษที่จะยกคดีขึ้นว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่ต้องระบุในคำฟ้องว่าโจทก์ในฐานะมารดาผู้กระทำการแทนบุตร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิข้างเคียงและการได้ภารจำยอมจากการใช้ที่ดินร่วมกัน ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยการพิพากษาให้ได้ภารจำยอม
โจทก์และจำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่บนที่ดินซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวจากด้านทิศเหนือมาทิศใต้ ระหว่างแนวกำแพงบ้านโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นช่องว่างซึ่ง มีทางน้ำเก่าดั้งเดิมใช้มานาน 45 ปี เป็นทางน้ำคู่กันมาเริ่มจากหน้าบ้านถึงจุดที่อยู่ห่างจากหลักโฉนดหน้าบ้าน 21 เมตร จากนั้นจึงเป็นรางน้ำร่วมกันไปจนจรดหลังบ้าน ทางน้ำรวมกันนี้กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 40 เซนติเมตร ยาว 11 เมตร สำหรับทางน้ำคู่กันมาตั้งแต่ หน้าบ้านถึงตรง จุด 21 เมตรนั้น เชื่อว่าอยู่ในเขตที่ดินของแต่ละฝ่าย แต่รางน้ำร่วมกันตั้งแต่จุด 21 เมตร ลงมาทางทิศใต้จนจดหลังบ้านปรากฏว่า ชายคาบ้านโจทก์ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินจำเลยบางส่วน และมีแนวทางน้ำบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลย บางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ดังนี้ ย่อมเห็นลักษณะการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละฝ่ายได้ว่าเป็นการใช้สิทธิในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นการใช้โดยวิสาสะ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม ที่ดินจำเลยในส่วนที่แนวรางน้ำล้ำเข้ามาจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
ฟ้องแย้งจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม แม้ในศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมและไม่รับวินิจฉัยฟ้องแย้งจำเลยได้
ฟ้องแย้งจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม แม้ในศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งจำเลยไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมและไม่รับวินิจฉัยฟ้องแย้งจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางน้ำร่วมกันระหว่างเพื่อนบ้าน ไม่ถือเป็นการได้ภารจำยอมหากใช้โดยวิสาสะ
โจทก์และจำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่บนที่ดินซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวจากด้านทิศเหนือมาทิศใต้ ระหว่างแนวกำแพงบ้านโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นช่องว่างซึ่งมีทางน้ำเก่าดั้งเดิม ใช้มานาน 45 ปี เป็นทางน้ำคู่กันมาเริ่มจากหน้าบ้านถึงจุดที่อยู่ห่างจากหลักโฉนด หน้าบ้าน 21 เมตร จากนั้นจึงเป็นรางน้ำร่วมกันไปจดหลังบ้าน ทางน้ำร่วมกันนี้กว้าง 50 เซนติเมตรลึก 50 เซนติเมตร ยาว 11 เมตร สำหรับทางน้ำคู่กันมาตั้งแต่หน้าบ้านถึงตรงจุด 21 เมตรนั้น เชื่อว่าอยู่ในเขตที่ดินของแต่ละฝ่าย แต่รางน้ำร่วมกันตั้งแต่จุด 21 เมตร ลงมาทางทิศใต้จนจดหลังบ้านปรากฏว่า ชายคา บ้านโจทก์ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินจำเลยบางส่วน และมีแนวทางน้ำบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ โดยมีทางน้ำของแต่ละฝ่ายคู่ขนานกันมาแต่ดั้งเดิม ดังนี้ ย่อมเห็นลักษณะการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละฝ่ายได้ว่าเป็นการใช้สิทธิในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นการใช้โดยวิสาสะไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยสงบเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม ที่ดินจำเลยในส่วนที่แนวรางน้ำล้ำเข้ามาจึงไม่ตกเป็นภารจำยอม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3164/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมจากการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยวิสาสะและลักษณะการครอบครองที่ไม่ถึงขั้นภารจำยอม
โจทก์และจำเลยทั้งสองปลูกบ้านอยู่บนที่ดินซึ่งอยู่ติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวจากด้านทิศเหนือมาทิศใต้ ระหว่างแนวกำแพงบ้านโจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นช่องว่างซึ่งมีรางน้ำเก่าดั้งเดิมใช้มานาน 45 ปี เป็นรางน้ำคู่กันมาเริ่มจากหน้าบ้านถึงจุดที่อยู่ห่างจากหลักโฉนดหน้าบ้าน 21 เมตร จากนั้นจึงเป็นรางน้ำร่วมกันไปจดหลังบ้าน รางน้ำร่วมกันนี้กว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตรยาว 11 เมตร สำหรับรางน้ำคู่กันมาตั้งแต่หน้าบ้านถึงตรงจุด21 เมตรนั้นอยู่ในเขตที่ดินของแต่ละฝ่ายแต่รางน้ำร่วมกันตั้งแต่จุด 21 เมตรลงมาทางทิศใต้จนจดหลังบ้าน ปรากฏว่าชายคาบ้านโจทก์ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินจำเลยบางส่วน และมีแนวรางน้ำบางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลย บางส่วนล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ดังนี้ย่อมเห็นลักษณะการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดินแต่ละฝ่ายได้ว่าเป็นการใช้สิทธิในฐานะที่เป็นเพื่อนบ้านกัน เป็นการใช้โดยวิสาสะไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมที่ดินจำเลยในส่วนที่แนวรางน้ำล้ำเข้ามาจึงไม่ตกเป็นภารจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401