พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของคำฟ้องและคำพิพากษาปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ที่ศาลสั่งปรับตลอดระยะเวลาฝ่าฝืน
ความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม2530 จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งด้วย เช่นนี้ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วย กฎหมาย พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 6570 บัญญัติว่าให้ปรับได้ ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน โจทก์ขอให้ศาลสั่งปรับจำเลยตลอด ระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่ง การที่ศาลปรับจำเลยเป็นรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงจึงไม่ เกินคำขอและชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลพิพากษาลงโทษได้ตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติม มีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้ บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึง วันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอด เวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วยจำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ได้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6570 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอด ระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาคารฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร และการลงโทษปรับตามระยะเวลาที่ฝ่าฝืน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติมมีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530 จนถึงวันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึงวันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วย จำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ได้
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65, 70 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65, 70 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ไม่สามารถพิสูจน์ความผิดจำเลยได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
คำให้การซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกันก็ดี คำเบิกความซัดทอดของผู้ที่มีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดแต่พนักงานสอบสวนได้กันไว้เป็นพยานก็ดีต่างมีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานประกอบที่พิสูจน์ให้ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์ก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์อ่อนแอ ไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง
คำให้การซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกันก็ดี คำเบิกความซัดทอดของผู้ที่มีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดแต่ พนักงานสอบสวนได้ กันไว้เป็นพยานก็ดีต่าง มีน้ำหนักน้อย เมื่อโจทก์ไม่มีพยานประกอบที่พิสูจน์ให้ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้อง พยานหลักฐานโจทก์ก็ยังไม่เพียงพอให้รับฟังลงโทษจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอฟังว่าจำเลยทั้งห้ากระทำความผิดฐานพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนเถื่อน ศาลฎีกายืนยกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าได้ ร่วมวางแผนกับนาย บ และสั่งให้จำเลยที่ 5 ไปยิงโจทก์ร่วมคำ ของ จำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 จึงเป็นคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วย กันมีน้ำหนักน้อยยังรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ ส่วนคำเบิกความของนาย บที่ว่ารู้เห็นเกี่ยวกับจำเลยทั้งห้าวางแผนที่ศาลา วัดศิริมงคล และร้านอาหารตวงเพชรในการที่จะเอาอาวุธจรวด ไปยิงโจทก์ร่วม ก็ปรากฏจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ถึง ที่ 4 ว่านาย บได้ ร่วมวางแผนเป็นผู้ควบคุมดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และพนักงานสอบสวนได้ จับกุมนาย บ มาดำเนินคดีเช่นกัน แต่ ต่อมาได้ กันไว้เป็นพยาน นับว่ามีพฤติการณ์เป็นผู้ร่วมกระทำผิดด้วยถือ ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้กระทำผิดด้วย กัน มีน้ำหนักน้อย ยังรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทางภารจำยอมมีผลผูกพัน แม้จำเลยจะถอนข้อตกลงในภายหลัง โจทก์ไม่ต้องถอนตาม
โจทก์ จำเลย และ ช. ได้ แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เป็นส่วนสัดของแต่ ละคน และได้ ทำบันทึกตกลง กันต่อ เจ้าพนักงานที่ดินว่าไปจดทะเบียนทางภารจำยอมหลังจากได้ รับโฉนด ที่ดินแล้ว บันทึกข้อตกลงดังกล่าวใช้ บังคับได้ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยได้ ถอน ข้อตกลงนั้น แต่ โจทก์ไม่ได้ถอน ด้วย ดังนี้ โจทก์ จำเลยต้อง ผูกพันตาม บันทึกข้อตกลงดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1958/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์มีชื่อในโฉนดย่อมมีสิทธิครอบครอง จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครองปรปักษ์
โจทก์มีชื่อ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนด ที่ดิน พิพาท ซึ่งป.พ.พ. มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทด้วย เจตนาเป็นเจ้าของติดต่อ กันเป็นเวลา 10 ปี แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่าจำเลยได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดย การครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่ เมื่อโจทก์ซึ่ง เป็นบุคคลภายนอกคดีสามารถพิสูจน์ได้ ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นย่อมไม่ผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคสอง(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกง vs. จัดหางาน: การพิจารณาความผิดฐานจัดหางานเมื่อปรากฏเจตนาฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกโดย ทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายว่ามีงานกรรมกรก่อสร้างที่ประเทศ สิงคโปร์ ได้ รับค่าจ้างเดือน ละ 6,500 บาท อันเป็นเท็จ ซึ่ง ความจริงแล้วไม่มีงานให้ทำจำเลยกับพวกไม่มีเจตนาและไม่สามารถจะส่งผู้เสียหายไปทำงานที่ประเทศ สิงคโปร์ ได้ ตาม ฟ้อง โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จึงไม่เป็นความผิดฐาน จัดหางานโดย ไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน ดังนี้ จำเลยมีเจตนาฉ้อโกงทรัพย์ของผู้เสียหายเท่านั้น ปัญหาดังกล่าว เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใด ยกขึ้นอ้างศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายโดยตรงจากการฉ้อโกง: การฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งแยกต่างหากมิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีอาญา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระและยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ เพราะคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ความเสียหายที่จะได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง.