พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2274/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังตั๋วแลกเงินปลอมทำให้การได้มาซึ่งตั๋วแลกเงินขาดสาย ผู้รับรองตั๋วไม่ต้องรับผิด
มีผู้ปลอมการสลักหลังตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งจ่ายให้แก่บริษัท อ.ถือว่าการสลักหลังเป็นอันใช้ไม่ได้เลย เสมือนหนึ่งว่าบริษัท อ. ไม่เคยสลักหลังตั๋วแลกเงิน ตั๋วแลกเงินยังคงเป็นตั๋วแลกเงินที่สั่งจ่ายระบุชื่อแก่บริษัท อ. อยู่ โจทก์ได้รับตั๋วแลกเงินมาโดยอาศัยการสลักหลังของจำเลยที่ 1 ซึ่งสลักหลังต่อจากการ สลักหลังปลอม จึงเป็นการได้มาโดยการสลักหลังที่ขาดสาย ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงิน จำเลยที่ 6 ซึ่งรับรองตั๋วแลกเงิน ก่อนมีการสลักหลังปลอมจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามตั๋วแลกเงิน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของผู้ฝากในการดูแลสมุดเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อ และตัดสิทธิในการอ้างลายมือชื่อปลอม
โจทก์มอบสมุดเช็คไว้กับ ค. ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีของโจทก์ และให้ ค.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คก่อนที่จะนำมาให้ส.ผู้จัดการโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย การที่ ค. ปลอมลายมือชื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท กับทั้งเมื่อจำเลยส่งการ์ดบัญชีมาให้โจทก์ โจทก์มิได้ตรวจสอบดูรายการถอนเงินว่าถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นความประมาทของโจทก์ที่ทำให้ ค. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ โจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ในการดูแลเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อและจำเลยมีสิทธิเรียกหนี้ได้
กรรมการของบริษัทโจทก์ได้มอบสมุดเช็คของบริษัทให้ ค. เก็บไว้กับให้ ค. เป็นผู้กรอกข้อความในเช็คมาให้กรรมการลงนามและทุกสิ้นเดือนธนาคารจำเลยจะส่งสำเนาการ์ด บัญชีให้โจทก์ตรวจสอบซึ่งหากโจทก์ใช้ความระมัดระวังตรวจดู บ้าง โจทก์ย่อมจะทราบว่ามีการปลอมลายมือชื่อกรรมการของโจทก์ลงในเช็คของโจทก์ตั้งแต่ฉบับแรกไปถอนเงิน เพราะปกติโจทก์จะไม่สั่งจ่ายเช็คเงินสดจำนวนมากโจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรกตอนท้าย จำเลยจึงมีสิทธินำจำนวนเงินที่จ่ายตามเช็คทั้ง 8 ฉบับมาลงบัญชีของโจทก์ว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญานายหน้า: การฟ้องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา ไม่ใช่ลาภมิควรได้, อายุความ 10 ปี, และข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นนายหน้าเพื่อชี้ช่องให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียว ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ทั้งสองตกลงให้จำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าติดต่อเพื่อให้โจทก์ทั้งสองได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขง และข้อความที่ว่าแต่ผู้เดียว ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเพื่อให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราแม่โขงในเขตจังหวัดอุทัยธานีแต่ผู้เดียวนั่นเอง โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าเพื่อให้โจทก์คนหนึ่งคนใดเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา คำฟ้องของโจทก์เช่นนี้จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสองฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์ที่ 2จะลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างจำเลยทั้งสองเป็นนายหน้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาดังกล่าวแล้ว โจทก์ทั้งสองได้จ่ายเงินค่านายหน้าบางส่วนให้แก่จำเลยทั้งสองล่วงหน้า ย่อมถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ได้ให้สัตยาบันยอมรับเอาสัญญาว่าจ้างนายหน้าดังกล่าวแล้ว สัญญานายหน้าย่อมมีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 1
กรณีที่จะเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 นั้น ต้องเป็นการที่บุคคลใดได้ทรัพย์สิ่งใดมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ คดีนี้ตามฟ้องโจทก์เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสองรับเงินค่านายหน้าล่วงหน้าไว้จากโจทก์ตามสัญญานายหน้า จึงเป็นการรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่เรื่องลาภมิควรได้ เมื่อปรากฏต่อมาว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถดำเนินการให้โจทก์ทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสุราได้ตามข้อตกลง และโจทก์ทั้งสองเรียกเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้าดังกล่าวคืนจึงเป็นเรื่องเรียกเงินคืนฐานผิดสัญญา มิใช่กรณีเรียกคืนฐานลาภมิควรได้ จะนำเอาอายุความ1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ซึ่งเป็นอายุความเกี่ยวกับลาภมิควรได้มาใช้บังคับไม่ได้
การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้จำเลยคืนเงินค่านายหน้าที่จ่ายล่วงหน้า เพราะจำเลยผิดสัญญานายหน้าเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่สัญญารับเป็นนายหน้ากับโจทก์เพราะจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 รับเป็นนายหน้าให้แก่โจทก์โดยเป็นตัวแทนของ อ.หรือไม่จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจยกขึ้นฎีกาว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ อ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเลื่อนคดี - เหตุผลที่ศาลไม่อนุญาต - การแสดงให้เห็นถึงความเสียหายหากไม่เลื่อน
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและศาลอนุญาตให้เลื่อนมาแล้วหลายนัดในนัดสุดท้ายขอเลื่อนโดยอ้างว่าป่วยเป็นไข้ไทฟอยด์ มีอาการท้องร่วงอย่างแรงและอ่อนเพลีย ไม่สามารถมาดำเนินคดีในศาลได้ ปรากฏตามใบรับรองแพทย์ที่แนบมาพร้อมคำร้อง ดังนี้ คำร้อง ขอเลื่อนคดี ของทนายจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรมตามที่บัญญัติไว้ ในป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก ศาลจึงไม่อาจให้เลื่อนคดีได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่งผลให้สิทธิเจ้าหนี้รายอื่นขาดอายุตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ประสงค์จะบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมขอถอนการบังคับคดีได้โดยแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295(2) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหนังสือนั้นแล้ว การถอนการยึดทรัพย์ของโจทก์ย่อมมีผลทันที และถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดมาได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำร้องและขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 290วรรคสี่ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอถอนการยึดของโจทก์ก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีโดยเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าหนี้รายอื่นในการเฉลี่ยทรัพย์
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ประสงค์จะบังคับคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมขอถอนการบังคับคดีได้โดยแจ้งไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นหนังสือว่าตนสละสิทธิในการบังคับคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 295 (2) เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหนังสือนั้นแล้ว การถอนการยึดทรัพย์ของโจทก์ย่อมมีผลทันที และถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงาน-บังคับคดียึดมาได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันดังกล่าว ผู้ร้องยื่นคำร้องและขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 290วรรคสี่ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยังมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอถอนการยึดของโจทก์ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2146/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการไม่เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ ทำให้ไม่เกิดอายุความการฟ้องแย่งการครอบครอง
เมื่อจำเลยให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาจนบัดนี้ โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแสดงว่าจำเลยหาได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ก็ตาม กรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเข้าแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่เมื่อใด และเกินกำหนดเวลาเรียกคืนการครอบครองหรือฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่วินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ต้องเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้ว และการบังคับคดีตามคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายย่อมทำได้
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้โจทก์แล้วจำเลยทั้งสองขอหักกลบลบหนี้โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้เงินฝากไว้กับโจทก์ แต่โจทก์ยื่นคำแก้ฎีกาโต้แย้งว่าหนี้นั้นมีข้อต่อสู้อยู่หลายประการข้อเท็จจริงจึงยังไม่ยุติว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหนี้โจทก์อยู่ตามที่อ้าง จะนำมาหักกลบลบหนี้ไม่ได้ และเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ฟ้องร้องโจทก์ในมูลหนี้ที่อ้างเพื่อจะนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะขอให้งดการบังคับคดีไว้ ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะเห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าว ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาสำหรับจำเลยที่ 1 ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ขอให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงชอบที่จะบังคับคดีแก่จำเลยที่ 2 ได้ และไม่ปรากฏว่ามีการออกหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายจำเลยที่ 2 จะมาโต้เถียงว่าการบังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดโดยชอบแล้วเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายหาได้ไม่จึงไม่มีเหตุที่จะถอนการบังคับคดีให้แก่จำเลยที่ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องไม่เกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มี ลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าคณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯ ไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯ เพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯวินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือนนับแต่วันที่นายทะเบียนฯ สั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้ และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้อง โจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าว อาทิความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจ วรรคท้ายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.